
กฟผ. โต้กลุ่มเอ็นจีโอใต้ ระบุคนในพื้นที่หนุนโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และเทพา
13 ก.พ. 2560
ชาวบ้านทั้ง 4 ตำบลในอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ได้แก่ ตำบลคลองปกาสัย ตำบลคลองขนาน ตำบลตลิ่งชัน และตำบลเกาะศรีบอยา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะมีการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ. กระบี่ ได้มีการแสดงเจตนารมณ์และแสดงพลังในการสนับสนุนโครงการฯ ด้วยวิธีการยื่นหนังสือหลายครั้ง ดังนี้
1) ชาวกระบี่ 4,000 คน ยื่นหนังสือต่อนายอำเภอเหนือคลอง สนับสนุนโรงไฟฟ้า เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 เครือข่ายภาคประชาชนและผู้นำชุมชนในอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ จำนวนกว่า 4,000 คน เข้ายื่นหนังสือสนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ ให้กับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเร่งรัดให้พิจารณาการก่อสร้างโครงการขึ้นในพื้นที่โดยเร็ว โดยมี นายวิสูตร อินทรกำเนิด นายอำเภอเหนือคลอง เป็นผู้รับมอบ ณ ที่ว่าการอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ก่อนจะนำส่งให้นายกรัฐมนตรีต่อไป
เครือข่ายภาคประชาชนและผู้นำชุมชนดังกล่าว นำโดย นายดำรัส ประทีป ณ ถลาง อดีตประธานชมรมกำกันผู้ใหญ่บ้านอำเภอเหนือคลอง นายอนันต์ สันหาด อดีตประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอเหนือคลอง นายฐานิส เอ่งฉ้วน ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอเหนือคลอง นายบุญเที่ยง บัวเลิศ ประธานชมรมชาวลิกไนต์กระบี่ นายอุดม กิตติธรกุล อดีตผู้ใหญ่บ้านห้วยโสก ต.คลองขนาน โดยยืนยันว่าชาวบ้านเห็นพ้องกันว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ จะช่วยเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในจังหวัดกระบี่และภาคใต้ ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่
แหล่งอ้างอิง:
2) ชาวอำเภอคลองท่อม สนับสนุนโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 นายวรพงศ์ มุกดามนตรี ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อ.คลองท่อม จ.กระบี่ อีกหนึ่งอำเภอที่มีพื้นที่ติดกับอำเภอเหนืองคลองที่เป็นพื้นที่โครงการโรงไฟฟ้า เป็นตัวแทนของประชาชนใน อ.คลองท่อม ได้เข้ายื่นหนังสือแสดงการสนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ ต่อนายเศวตฉัตร สุวรรณรัตน์ ตำแหน่งปลัดอาวุธโสอำเภอคลองท่อม ซึ่งเป็นประธานในการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยแพทย์ สารวัตกำนัน ประจำเดือนของอำเภอคลองท่อม เพื่อส่งหนังสือดังกล่าวให้นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาต่อไป
ทั้งนี้ นายวรพงศ์ กล่าวว่า ในภาพรวมของ อ.คลองท่อม ประชากรเกือบทั้งหมดสนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ เนื่องจากจะทำให้ภาคใต้มีความมั่นคงด้านพลังงาน และเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันจะทำให้โรงไฟฟ้าดังกล่าวไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
แหล่งอ้างอิง:
3) ชาวเขาพนม จ.กระบี่ ยื่นหนังสือสนุบสนุนโรงไฟฟ้า เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 ตัวแทนกำนันผู้ใหญ่บ้าน และเครือข่ายประชาชน อ.เขาพนม จ.กระบี่ ซึ่งเป็นอำเภอที่ติดอำเภอเหนือคลอง ได้ยื่นหนังสือแสดงจุดยืนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่เห็นด้วยกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด จังหวัดกระบี่ ผ่านนายอำเภอเขาพนม จ.กระบี่ เพื่อนำเรียนนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อไป
ตัวแทนของเครือข่ายประชาชนกล่าวว่า โรงไฟฟ้ากระบี่ดังกล่าว จะช่วยสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้าภาคใต้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ รวมถึงส่วนรวมของประเทศ
แหล่งอ้างอิง:
4) ผู้นำชุมชนยื่นรายชื่อสนับสนุนต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2560 นายฐานิศร์ เอ่งฉ้วน กำนันตำบลเหนือคลองและประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อ.เหนือคลอง นายทัศน์พล คลองยวน กำนันตำบลตลิ่งชัน นายสมศักดิ์ ภูมิสุทธาผล กำนันตำบลคลองขนาน นายธัญญา ไชยบุตร กำนันตำบลปกาสัย นายสำราญ ระเด่น กำนันตำบลเกาะศรีบอยา อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ นายไพโรจน์ บุตรเผียน ประธานเครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและป่าชายเลน ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง นายกิจจา ทองทิพย์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 ต.ปกาสัย อ. เหนือคลอง และนายเที่ยง บุญเลิศ ประชมรมชมรมผู้อาวุโสฯ จ.กระบี่ ผู้นำชุมชน และประชาชนในจังหวัดกระบี่กว่า 50 คน ได้รวมตัวกันยื่นหนังสือเพื่อสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ
แหล่งอ้างอิง:
5) การยื่นรายชื่อสนับสนุน 15,000 รายชื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 นายอนันต์ สันหาด อดีตกำนันตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง ยื่นหนังสือและรายชื่อประชาชนที่สนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ และท่าเทียบเรือคลองรั้ว จำนวน 15,000 รายชื่อต่อผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เพื่อนำเสนอพลเองประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต่อไป
แหล่งอ้างอิง:
6) การยื่นหนังสือผ่านผู้แทนกระทรวงพลังงาน วันที่ 27 กันยายน 2559 ชาวบ้าน พร้อมด้วยกำนัน ผู้ใหญ่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จากตำบลคลองปกาสัย ตำบลคลองขนาน ตำบลตลิ่งชัน และตำบลเกาะศรีบอยา จังหวัดกระบี่ เข้ายื่นหนังสือต่อ ดร. ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ในโอกาสมาถ่ายทำรายการเดินหน้าประเทศไทย ณ บ้านควนต่อ อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
แหล่งอ้างอิง:
7) การยื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมการไตรภาคี วันที่ 13 กันยายน 2559 ตัวแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดกระบี่ และชาวบ้านรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ เดินทางมายื่นหนังสือต่อพลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมการศึกษาการดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ณ ศาลากลางจังหวัดกระบี่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2559 ตัวแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดกระบี่ และชาวบ้านรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ ได้แก่ ตำบลคลองปกาสัย ตำบลคลองขนาน ตำบลตลิ่งชัน และตำบลเกาะศรีบอยา เดินทางมายื่นหนังสือต่อพลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมการศึกษาการดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่ เพื่อแสดงเจตจำนงค์ในการสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ให้เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ณ ศาลากลางจังหวัดกระบี่
“พวกเราทุกคนที่มาในวันนี้ เชื่อว่าเป็นความจริงที่ถ่านหินไม่สะอาด แต่เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดที่ทันสมัยในปัจจุบัน และสามารถกำจัดและป้องกันมลสารที่ออกจากโรงไฟฟ้าได้ดีกว่าที่กฎหมายกำหนด และเชื่อมั่นว่าในอนาคตหากมีผลกระทบเกิดขึ้นจริงกับประชาชนในพื้นที่ กฟผ. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ก็จะต้องดูแลและรับผิดชอบ รวมถึงการชดเชยให้กับประชาชน และดูแลประชาชนให้ดีที่สุดในทุกด้าน และเชื่อมั่นว่า กฟผ. จะทำได้ดีกว่าโรงไฟฟ้าที่สร้างโดยเอกชน สำหรับการมายื่นหนังสื่อเพื่อสนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ เพราะพวกเราทุกคนมั่นว่าทั้ง 4 ตำบลในอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ สนับสนุนและเห็นด้วยกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่”
นายกิจจา ทองทิพย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลปกาสัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
8) การยื่นหนังสือสนับสนุนโรงไฟฟ้ากระบี่ 6,380 รายชื่อ และให้กำลังใจผู้ว่าการ กฟผ. เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2558 กลุ่มเครือข่ายประชาชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่ กลุ่มผู้นำท้องถิ่น 4 ตำบลจากอำเภอเหนือคลอง พร้อมด้วยประธานชมรมอนุรักษ์ป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อมตำบลปกาสัย และกลุ่มตัวแทนประชาชนในพื้นที่อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ จำนวน 50 คน เดินทางมายังศาลากลางจังหวัดกระบี่ เพื่อยื่นหนังสือสนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว อำเภอเหนือคลอง พร้อมให้กำลังใจผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และผู้ปฏิบัติงาน โดยได้แนบรายชื่อชาวบ้านผู้สนับสนุนมาด้วยประมาณ 6,380 รายชื่อ
ในรายละเอียดของหนังสือสนับสนุนดังกล่าว มีใจความ ดังนี้
1. ขอให้กระบวนการพิจารณารายงาน EHIA และ EIA ดำเนินการต่อไป เพราะดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายดีแล้วต้องไม่มีการชะลอหรือยุติ ขอยืนยันว่าพี่น้องประชาชนมีส่วนร่วมในการรายงานฯ ทั้ง 2 ฉบับ และต้องการรับทราบผลการพิจารณาโดยเร็ว เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ต่อไป
2. ขอสนับสนุนและให้กำลังใจหน่วยงานเดินหน้าดำเนินงานโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ เพื่อให้ประชาชนในภาคใต้ และทั้งประเทศมีไฟฟ้าใช้อย่างมั่นคงเพียงพอ
แหล่งอ้างอิง:
สำหรับการแสดงออกของประชาชนในพื้นที่รอบโครงการ นอกจากจะมีการแสดงออกโดยการยื่นหนังสือต่อรัฐบาลเพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนโครงการ การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์แล้ว ยังมีกิจกรรมสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่เพิ่มเติมในรูปแบบต่างๆ อาทิ การเข้าร่วมงานเสวนาเพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนโครงการ ที่หน่วยงานต่างๆ จัดขึ้น และการให้สัมภาษณ์และแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลและในนามตัวแทนกลุ่มต่างๆ ดังนี้
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมการศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่ (คณะกรรมการไตรภาคี) พร้อมคณะกรรมการฯ ร่วมแถลงข่าวความคืบหน้าผลการศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่ พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายร่วมแสดงความคิดเห็น ข้อห่วงกังวล ยืนยันการทำงานของคณะกรรมการทุกคนมีความโปร่งใส มีเหตุมีผล เพื่อประเทศชาติ พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย โดยมีประชาชนทั้งผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านและสื่อมวลชนมาร่วมรับฟัง ประมาณ 500 คน
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 กลุ่มผู้สนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ ประมาณ 120 คน นําโดย นายอนันต์ สันหาด กํานันตําบลคลองขนาน นายไพโรจน์ บุตรเผียน ประธานอนุรักษ์ป่าชายเลน และสิ่งแวดล้อม ตําบลปกาสัย นายสาโรจน์ คลองรั้ว สมาชิกสภาจังหวัดกระบี่ เขตเลือกตั้ง 3 อําเภอ เหนือคลอง นายกิจจา ทองทิพย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 บ้านหนองผักฉีด นายวัฒนา ชนะกุล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 6 บ้านคลองเสียด พร้อมด้วยผู้แทนชุมชนจาก 4 ตําบลรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ ประกอบด้วย ตําบลคลองขนาน ตําบลตลิ่งชัน ตําบลปกาสัย และตําบลเกาะศรีบอยา เข้าพบและยื่นหนังสือ ถึงนายพินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ณ ห้องรับรอง ศาลากลางจังหวัดกระบี่ เพื่อสอบถาม ความคืบหน้าเรื่องการยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อประชาชนผู้สนับสนุนให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัด กระบี่ ที่ได้ยื่นถึงนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2558 ทั้งนี้ นายพินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการ จังหวัดกระบี่ ได้รับหนังสือและพูดคุยกับกลุ่มผู้สนับสนุนโรงไฟฟ้ากระบี่ และจะดําเนินการส่งหนังสือ ไปตามขั้นตอนต่อไป
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 กฟผ. ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต (ม.อ.ภูเก็ต) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) จัดงานเสวนา “10 ปี โรงไฟฟ้ากระบี่ ท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้วมีผลกระทบต่อปะการัง หญ้าทะเล ป่าชายเลน และวิถีชีวิตชุมชนจริงหรือ” ณ ห้องประชุมอาคารประชาสัมพันธ์ โรงไฟฟ้ากระบี่ โดยมีผู้นําชุมชนโดยรอบพื้นที่ท่าเทียบเรือและคลังน้ำมันบ้านคลองรั้ว และสื่อมวลชน ร่วมรับฟังการเสวนา มีผู้เข้าร่วมประมาณ 100 คน
ชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงโรงไฟฟ้ากระบี่ แสดงออกเชิงสัญลักษณ์สนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด โดยติดป้ายผ้าและเขียนข้อความแสดงจุดยืนและความต้องการ
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ตั้งอยู่ภายในบริเวณพื้นที่โรงไฟฟ้ากระบี่เดิม ที่อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดกำลังผลิตสุทธิไม่ต่ำกว่า 780 เมกะวัตต์ (กำลังผลิตติดตั้งประมาณ 870 เมกะวัตต์) ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินคุณภาพดี มีค่ากำมะถันไม่เกิน 1% ประเภทถ่านหินประเภทซับบิทูมินัสหรือบิทูมินัส จำนวน 7,260 ตันต่อวัน นำเข้าจากประเทศอินโดนเซียหรือออสเตรเลีย โดยมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD) เข้าสู่ระบบประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ตั้งอยู่ภายในบริเวณพื้นที่โรงไฟฟ้ากระบี่เดิม ที่อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดได้ติดตั้งอุปกรณ์กำจัดมลสาร ได้แก่ SCR ESP FGD และ ACI ทำให้ค่าอัตรา การระบายมลสารจากปล่องของโรงไฟฟ้าดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
หมายเหตุ:
การลดผลกระทบเรื่องปรอทด้วยการติดตั้งเครื่องดักจับไอปรอท Activated Carbon Injection (ACI) เพิ่มเติมมาตรการควบคุมการระบายปรอทจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงถ่านหินและมาตรการตรวจติดตามเพื่อเฝ้าระวังผลกระทบจากปรอท โดยติดตั้งระบบควบคุมการระบายปรอทโดยใช้เทคโนโลยีการฉีดวัสดุดูดซับที่ใช้ผงถ่านกัมมันต์ เพื่อใช้เป็นตัวดูดซับไอปรอทที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหิน พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง (CEMs) เพื่อตรวจวัดปริมาณปรอท นอกจากนี้ ยังกำหนดมาตรการติดตามตรวจสอบปริมาณปรอทจากแหล่งกำเนิดและปริมาณปรอทในธรรมชาติ โดยกำหนดให้มีการตรวจวัดปริมาณสารปรอทในคุณภาพอากาศในบรรยากาศ คุณภาพน้ำ คุณภาพดิน เพื่อเป็นการติดตามเฝ้าระวังผลกระทบจากปรอทในธรรมชาติในระยะยาว
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เกิดจากการเผาไหม้นั้น ได้เลือกใช้เทคโนโลยีการเผาไหม้ถ่านหินบด(Pulverized Coal Combustion) ระดับ Ultra Supercritical ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินน้อยลง รวมทั้งลดการระบายมลสารและปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2
ประเภท | การปลดปล่อย CO2 (g/kWh) |
ปริมาณเชื้อเพลิง (g/kWh) |
---|---|---|
1. Subcritical | 880 | ≥ 380 |
2. Supercritical | 856 | 340 - 380 |
3. Ultra Supercritical | 740 - 800 | 320 - 340 |
4. Advanced Ultra Supercritical | ในปจจุบันยังไมถึงขั้น นํามาใชในเชิงพาณิชย |
|
5. Integrated Gasification Combined Cycle (IGCC) |
โลหะหนักจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจำพวก สารหนู(As) แคดเมียม
(Cd)
ตะกั่ว (Pb) และปรอท (Hg) จะ ถูกดักจับโดยอุปกรณ์ESP, FGD และ ACI
ซึ่งประสิทธิภาพในการดักจับไม่น้อยกว่า 90% จึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ สุขภาพของชุมชน
ความจริง :
ปริมาณการระบายมลสารจากปล่องของโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่
เปรียบเทียบระหว่างข้อมูลกลุ่มคัดค้านกับปริมาณจริงที่คำนวณหลังจากผ่านระบบดักจับ
เถ้าหนัก (Bottom
Ash)จะถูกลำเลียงด้วยระบบสายพานลำเลียงไปเก็บยังบ่อฝังกลบขี้เถ้าที่มีการปูรองก้นบ่อ
ด้วยแผ่นพลาสติกเพื่อป้องกันการรั่วซึม ขนาดความจุบ่อเพียงพอตลอดอายุการใช้งานโรงไฟฟ้า
เถ้าลอย (Fly Ash) สามารถนำไปใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ได้
เรือบรรทุกถ่านหินระบบปิดขนาด 10,000 เดทเวทตัน บรรทุกถ่านหินลำละประมาณ 8,000 ตัน จากต่างประเทศ วันละไม่เกิน 2 ลำ โดยใช้เส้นทางเดินเรือเดียวกับเรือขนส่งน้ำมันเตาของโรงไฟฟ้ากระบี่ปัจจุบัน ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือ ที่ห่างจากแหล่งท่องเที่ยว จุดดำน้ำ แหล่งหญ้าทะเล และแนวปะการัง จึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและ นิเวศวิทยาทางทะเล สำหรับข้อกังวลเรื่องเรือขนส่งถ่านหินที่จะส่งผลกระทบต่ออาชีพประมงและสัตว์น้ำในทะเลนั้น ได้กำหนด มาตรการป้องกันผลกระทบ โดยออกแบบเรือขนส่งถ่านหินเป็นระบบปิด และจำกัดความเร็วของเรือขณะเข้าสู่ร่องน้ำ เดินเรือปากคลองสีบอยาไม่เกิน 5 ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง หรือ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อลดผลกระทบจากคลื่นและ การกวนตะกอนในทะเลบริเวณนั้น รวมทั้งป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางเรือด้วย หากเกิดกรณีสุดวิสัย เรือขนส่งถ่านหินล่มลงกลางทะเล ถ่านหินก็จะถูกเก็บอยู่ในระวางเรือแบบปิดไม่กระจาย ตัวออกมาอีกทั้งธรรมชาติถ่านหินเป็นของแข็งไม่ละลายน้ำจึงไม่ส่งผลกระทบ ส่วนการกู้เรือต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ดำเนินการตามหลักมาตรฐานสากล ในการขนส่งถ่านหินทางเรือจากต่างประเทศมายังท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้วจะต้องใช้ระยะเวลาเดินทางหลาย วัน เพื่อป้องกันการลุกติดไฟด้วยตนเองจากการสัมผัสกับอากาศเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นธรรมชาติของถ่านหินจึงมีการ กำหนดให้ผู้ขายถ่านหินทำการเคลือบสารป้องกันก่อนขนส่งลงเรือ รวมทั้งช่วยป้องกันการฟุ้งกระจายของผงถ่านขณะ ขนถ่ายลงเรือและขึ้นจากเรือ
ตั้งอยู่บริเวณคลังน้ำมันบ้านคลองรั้วของโรงไฟฟ้ากระบี่ปัจจุบัน ประกอบด้วย
มีระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร โดยจุดเริ่มต้นตั้งแต่ท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว จนถึงอาคารเก็บถ่านหินหลักบริเวณ โรงไฟฟ้า สำหรับสายพานลำเลียงบางช่วงมีการก่อสร้างอุโมงค์ลำเลียงถ่านหินลอดใต้พื้นที่ดังกล่าวเป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร เพื่อ ลดผลกระทบต่อพื้นที่ป่าชายเลนซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar Site) นอกจากนี้ สายพานลำเลียงบนพื้นดินได้ก่อสร้างถนนคู่ ขนานเพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์รวมทั้งก่อสร้างกำแพงกันเสียงบริเวณที่ผ่านชุมชน และปลูกต้นไม้ตลอดแนวโดยการใช้เส้นทาง ดังกล่าวจะมีการชี้แจงและสร้างความเข้าใจถึงการจ่ายค่าทดแทนและการเยียวยาให้แก่ราษฎรที่อยู่ในแนวสายพานลำเลียงดังกล่าว