เขื่อนกิ่วคอหมา
ที่ตั้งโครงการ
บ้านห้วยสะเหน้า ต.ปงดอน อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
ลักษณะโครงการ
เป็นโครงการประเภทอ่างเก็บน้ำ ตัวเขื่อนเป็นเขื่อนดินสูง 43.5 ม. ยาว 500 ม. สันเขื่อนกว้าง 8 ม. สามารถกักเก็บน้ำได้ 170 ล้าน ลบ.ม.
ลักษณะทางอุทกวิทยา
ลุ่มน้ำหลัก | ลุ่มน้ำวัง |
---|---|
ลุ่มน้ำสาขา | ลุ่มน้ำวัง |
พื้นที่รับนั้ำฝน (Watershed Area) | 1,275.00 ตร.กม. |
ปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั้งปี | 1,039.00 มม./ปี |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างโดยเฉลี่ยรายปี (Annual Runoff) | 265.00 ล้าน ลบ.ม. |
ความยาวของลำน้ำจากต้นน้ำถึงหัวงาน | 150 กิโลเมตร |
ความลาดท้องน้ำบริเวณหัวงาน | 1 : 1,000 |
ลักษณะทางวิศวกรรมของโครงการ
ปริมาณการใช้น้ำ 163.80 ล้าน ลบ.ม.
ความสูงของระดับน้ำเก็บกัก | ความจุอ่าง (ล้าน ลบ.ม.) | พื้นที่ผิวอ่างเก็บน้ำ (ไร่) |
---|---|---|
ต่ำสุด +325.000 ม.รทก. | 6.20 | 1,063 |
ปกติ +350.20 ม.รทก. | 170.00 | 7,925 |
สูงสุด +352.90 ม.รทก. | 208.60 | 9,600 |
ลักษณะของเขื่อนหัวงานและอาคารประกอบ
เขื่อนหลัก (Main Dam) และทำนบดินปิดช่องเขาต่ำ (Saddle Dam)
เขื่อนหลัก (Main Dam) | ทำนบดินปิดช่องเขาต่ำ (Saddle Dam) | |
---|---|---|
ประเภท | ดินถมบดอัดแน่นแบ่งส่วน (Zone Type) | ดินถมบดอัดแน่นเนื้อเดียว (Homogeneous Type) |
ระดับสันเขื่อน | +355.50 ม.รทก. | +355.50 ม.รทก. |
ความกว้างที่สันเขื่อน | 8.00 ม. | 6.00 ม. |
ความยาวที่สันเขื่อน | 500.00 ม. | 300.00 ม. |
ความกว้างฐานที่จุดลึกสุด | 275.00 ม. | 102 ม. |
ความลาดด้านเหนือน้ำ | 1 : 2.5 และ 1 : 3.0 | 1 : 3.0 |
ความลาดด้านท้ายน้ำ | 1 : 2.0 และ 1 : 2.5 | 1 : 2.5 |
อาคารประกอบ
อาคารระบายน้ำล้น (Service Spillway)
จุดที่ตั้ง | ฝั่งขวาของเขื่อนหลัก |
---|---|
ชนิด | อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กมีสันฝาย |
แบบติดตั้งประตูโค้งบนสันฝาย | Radial Gate Spillway |
ขนาดบานระบาย | 12.50 x 7.00 ม. |
จำนวน | 3 บาน |
ความกว้างของทางระบายน้ำ | 42.50 ม. |
ความยาวของอาคาร (ยาวรวม) | 800 ม. |
ระดับพื้นธรณี (สันฝาย) บานระบาย | +346.50 ม.รทก. |
ระดับน้ำนองสูงสุด | +352.90 ม.รทก. |
Flood Surcharge | 6.40 ม. |
ระบายน้ำได้สูงสุด | 1,209.00 ลบ.ม./วินาที |
อัตราการระบายน้ำรอบการเกิดซ้ำ | 1,000 ปี |
อาคารส่งน้ำและระบายน้ำลงลำน้ำเดิม (River Outlet)
จุดที่ตั้ง | ฝั่งขวาของเขื่อนหลัก |
---|---|
ชนิดท่อ | ท่อเหล็กเหนียวหุ้มด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก |
ความยาวของท่อเหล็กเหนียว(ท่อหลัก) | 205.00 ม. |
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในท่อเหล็กเหนียว | 2.50 ม. |
ความหนาท่อเหล็กเหนียว | 18 มม. |
อาคารรับน้ำ | คอนกรีตเสริมเหล็กชนิดรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม |
ธรณีอาคารรับน้ำ | ระดับที่ 1: +325.000 ม.รทก. ระดับที่ 2: +333.676 ม.รทก. ระดับที่ 3: +341.176 ม.รทก. |
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
กำลังผลิตไฟฟ้ารวม | 5.5 เมกะวัตต์ |
---|---|
จำนวน | 3 เครื่อง (2x2.5 เมกะวัตต์ และ 1x0.5 เมกะวัตต์) |
ระบบส่งไฟฟ้า | 22 กิโลโวลต์ |
พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยรายปี | 69.37 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง |
ประโยชน์ที่ได้รับ
- สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเข้าระบบได้ประมาณปีละ 50.657 ล้านหน่วย
- เป็นโครงการที่ใช้ทรัพยากรประเทศสูงถึง 58%
- ช่วยลดการนำเข้าเชื่อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าประมาณ 12.66 ล้านลิตร/ปี
- ลดการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 28,398.75 ตัน/ปี ซึ่ง กฟผ. สามารถพัฒนาเป็นโครงการกลไกพัฒนาพลังงานสะอาด (CDM) ได้
- ช่วยลดปัญหาโลกร้อน สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ กฟผ.
รายละเอียดตามหนังสือกระทรวงพลังงาน ที่ พน 0100/448 ลว. 22 กันยายน 2554 เรียน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนคลองตรอน เขื่อนกิ่วคอหมา และท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์
View the embedded image gallery online at:
http://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2605&Itemid=117#sigFreeId6acacc4c0e
http://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2605&Itemid=117#sigFreeId6acacc4c0e
มิถุนายน 2561