เมื่อโลกเปลี่ยน พลังงานต้องปรับ ประเทศไทยจะรับมืออย่างไร

เมื่อโลกเปลี่ยน พลังงานต้องปรับ ประเทศไทยจะรับมืออย่างไร           ไฟฟ้าพลังงานสะอาด.. ราคาเหมาะสม.. มีความมั่นคง.. คือ 3 ปัจจัยหลักที่เป็นโจทย์สำคัญของไฟฟ้าไทย และไม่ง่ายที่จะทำให้เกิดความสมดุลได้ในเวลาเดียวกัน แต่เพื่อให้ประเทศก้าวสู่เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2567-2580 หรือ ร่าง PDP 2024 จึงกำหนดให้ในปี 2080 มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดมากถึง 51% นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ในฐานะผู้ดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ เพราะเราต่างรู้กันดีว่าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy: RE) แม้เป็นพลังงานสะอาดไม่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า มีต้นทุนไม่สูง แต่ก็มีความผันผวนไม่แน่นอน และไม่สามารถใช้เป็นพลังงานหลักเพียงอย่างเดียวได้ หากโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล จากที่เคยเป็นตัวยืนเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเป็นหลักต้องลดสัดส่วนลง ก็ยากที่จะการันตีว่าระบบไฟฟ้าของประเทศจะมีความมั่นคงได้ตลอดทุกช่วงเวลา Grid Modernization ระบบไฟฟ้ารูปแบบใหม่ รับมือความผันผวน สร้างความมั่นคงทางพลังงาน            เมื่อพลังงานหมุนเวียนเข้ามามีบทบาทในระบบผลิตไฟฟ้ามากกว่าครึ่ง นิยามของระบบไฟฟ้าที่มั่นคงจึงไม่ได้มีเพียงเชื้อเพลิงที่เพียงพอ โรงไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้าที่พร้อมส่งจ่ายพลังงานอีกต่อไป แต่จะต้องมีเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้ามาเป็นผู้เล่นเพิ่มเติมอีกมากมาย เพื่อช่วยสนับสนุนให้ระบบไฟฟ้าสามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้อย่างเพียงพอทุกวินาที รูปแบบของระบบไฟฟ้าในอนาคตจะปรับเปลี่ยนไปเป็น Grid Modernization โดยมีระบบบริหารจัดการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาบริหารจัดการ […]

Rapheephat Toumsaeng

25 September 2024

Unseen EGAT by ENGY ตอน ESS แหล่งพลังงานเสริมทัพ สร้างเสถียรภาพพลังงานหมุนเวียน

Unseen EGAT by ENGY ตอน ESS แหล่งพลังงานเสริมทัพ สร้างเสถียรภาพพลังงานหมุนเวียน           เมื่อประชาคมโลกวางเป้าหมายร่วมกันที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกไม่ให้เลวร้ายมากไปกว่านี้ พลังงานหมุนเวียนจึงเป็นตัวเลือกแรกๆที่หลายประเทศให้ความสนใจ ไม่เพียงเป็นพลังงานสะอาดช่วยลดโลกร้อน แต่ยังเป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำเพราะเป็นพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ ซ้ำยังมีหมุนเวียนให้ใช้อย่างไม่มีวันหมด แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องไม่ลืมก็คือ พลังงานหมุนเวียนไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงได้พัฒนา“ระบบกักเก็บพลังงาน”(Energy Storage System: ESS) เพื่อเป็นตัวช่วยในยามที่แดดไม่มี ลมไม่พัด วันนี้ Unseen EGAT by ENGY จะขอพาทุกท่านไปเจาะลึก ESS แหล่งพลังงานที่มาช่วยเสริมทัพสร้างเสถียรภาพให้กับพลังงานหมุนเวียน กันครับ ‘BESS’ แบตเตอรี่จ่ายไฟเร็ว ยืดหยุ่นสูง รักษาความมั่นคงระบบไฟฟ้า           ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System : BESS)  ทำหน้าที่เก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจากระบบส่ง เพื่อนำมาจ่ายในช่วงเวลาที่ต้องการ มีจุดเด่นที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้อย่างรวดเร็ว จึงช่วยสร้างเสถียรภาพพลังงานได้เป็นอย่างดี กฟผ. ได้นำ BESS ไปติดตั้งเชื่อมต่อกับระบบส่งไฟฟ้า (Grid Scale) รองรับความผันผวนของพลังงานหมุนเวียนที่มีปริมาณมากในพื้นที่ […]

Rapheephat Toumsaeng

30 August 2024

โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ = ระบบกักเก็บพลังงานพลังงานสะอาดเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ = ระบบกักเก็บพลังงานพลังงานสะอาดเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า           ในช่วงการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานหมุนเวียน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ.2050 ของประเทศและของโลก ถือเป็นความท้าทายของหน่วยงานด้านพลังงาน เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่มีภารกิจในการดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ ต้องแสวงหาเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน เนื่องด้วยข้อจำกัดของพลังงานหมุนเวียนที่มีความไม่เสถียร ทั้งพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับหรือระบบกักเก็บพลังงานด้วยพลังน้ำขนาดใหญ่ (Energy Storage System: ESS) จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน เพื่อลดความไม่แน่นอน ไม่เสถียร ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้            โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ เป็นระบบกักเก็บพลังงานประเภทหนึ่งที่มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยต่ำ ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตไฟฟ้าได้ การผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าชนิดนี้ใช้หลักการเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั่วไป คือเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำ แล้วปล่อยน้ำผลิตไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามาก โดยใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าทดแทนไฟฟ้าจากพลังลมหรือแสงอาทิตย์ที่ขาดหายไปได้อย่างทันท่วงที แตกต่างจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ที่ต้องใช้เวลาในการเตรียมการนาน 2-4 ชั่วโมง           เดิมทีจุดประสงค์หลักของการสร้างอ่างเก็บน้ำ คือเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภค-บริโภค การผลิตไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้จากการปล่อยน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แต่ปัจจุบัน เมื่อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีปริมาณมากขึ้น ช่วงเวลาที่แดดไม่มี ลมไม่พัด จึงส่งผลกระทบต่อความมั่นคงระบบไฟฟ้ามากขึ้นโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ จึงตอบโจทย์ในด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ โดยการสร้างอ่างเก็บน้ำตอนล่างเพิ่มขึ้น เพื่อกักเก็บน้ำที่ผ่านการผลิตไฟฟ้าแล้วจากอ่างเก็บน้ำตอนบน […]

Rapheephat Toumsaeng

15 March 2023
Skip to content