ข้อมูลพื้นฐานโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาดกระบี่และท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว
สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ตั้งอยู่ภายในบริเวณพื้นที่โรงไฟฟ้ากระบี่เดิม ที่อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
ลักษณะโครงการ
โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดกำลังผลิตสุทธิไม่ต่ำกว่า 780 เมกะวัตต์ (กำลังผลิตติดตั้งประมาณ 870 เมกะวัตต์) ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินคุณภาพดี มีค่ากำมะถันไม่เกิน 1% ประเภทถ่านหินประเภทซับบิทูมินัสหรือบิทูมินัส จำนวน 7,260 ตันต่อวัน นำเข้าจากประเทศอินโดนเซียหรือออสเตรเลีย โดยมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD) เข้าสู่ระบบประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562
อุปกรณ์หลัก
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ตั้งอยู่ภายในบริเวณพื้นที่โรงไฟฟ้ากระบี่เดิม ที่อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
- เครื่องผลิตไอน้ำ (Boiler) - ระบบเผาไหม้เทคโนโลยี Ultra Supercritical
- เครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันไอน้ำ (Steam Turbine Generator) - ชนิด Multistage 3 แรงดัน เชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ในการผลิตไฟฟ้า
- ปริมาณการใช้น้ำ - ใช้น้ำจากคลองปกาสัยสำหรับกระบวนการหล่อเย็นประมาณ 100,500 ลบ.ม./วัน ซึ่งคิดเป็น 3.3 % ของปริมาณน้ำท่าในคลองปกาสัย ส่วนการระบายน้ำคืนกลับสู่คลองปกาสัยจะมีระบบหล่อเย็นและบ่อพักน้ำ เพื่อควบคุมอุณหภูมิ ของน้ำที่ปล่อยคืนให้แตกต่างจากสภาพธรรมชาติไม่เกิน 3 องศาเซลเซียส จึงไม่เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศในน้ำและอาชีพประมง
การจัดการมลสาร
โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดได้ติดตั้งอุปกรณ์กำจัดมลสาร ได้แก่ SCR ESP FGD และ ACI ทำให้ค่าอัตรา การระบายมลสารจากปล่องของโรงไฟฟ้าดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
หมายเหตุ:
- Selective Catalytic Reduction (SCR) เครื่องควบคุมก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน
- Electrostatic Precipitator (ESP) อุปกรณ์ดักจับฝุ่นละอองแบบไฟฟ้าสถิต
- Flue Gas Desulfurization (FGD) เครื่องควบคุมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
- Activated Carbon Injection (ACI) อุปกรณ์ดักจับไอปรอท
ระบบกำจัดสารปรอท
การลดผลกระทบเรื่องปรอทด้วยการติดตั้งเครื่องดักจับไอปรอท Activated Carbon Injection (ACI) เพิ่มเติมมาตรการควบคุมการระบายปรอทจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงถ่านหินและมาตรการตรวจติดตามเพื่อเฝ้าระวังผลกระทบจากปรอท โดยติดตั้งระบบควบคุมการระบายปรอทโดยใช้เทคโนโลยีการฉีดวัสดุดูดซับที่ใช้ผงถ่านกัมมันต์ เพื่อใช้เป็นตัวดูดซับไอปรอทที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหิน พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง (CEMs) เพื่อตรวจวัดปริมาณปรอท นอกจากนี้ ยังกำหนดมาตรการติดตามตรวจสอบปริมาณปรอทจากแหล่งกำเนิดและปริมาณปรอทในธรรมชาติ โดยกำหนดให้มีการตรวจวัดปริมาณสารปรอทในคุณภาพอากาศในบรรยากาศ คุณภาพน้ำ คุณภาพดิน เพื่อเป็นการติดตามเฝ้าระวังผลกระทบจากปรอทในธรรมชาติในระยะยาว
การกำหนดค่าควบคุมมลสารจากปล่องของโรงไฟฟ้า
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เกิดจากการเผาไหม้นั้น ได้เลือกใช้เทคโนโลยีการเผาไหม้ถ่านหินบด(Pulverized Coal Combustion) ระดับ Ultra Supercritical ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินน้อยลง รวมทั้งลดการระบายมลสารและปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2
ประเภท | การปลดปล่อย CO2 (g/kWh) | ปริมาณเชื้อเพลิง (g/kWh) |
---|---|---|
1. Subcritical | 880 | ≥ 380 |
2. Supercritical | 856 | 340 - 380 |
3. Ultra Supercritical | 740 - 800 | 320 - 340 |
4. Advanced Ultra Supercritical | ในปจจุบันยังไมถึงขั้น นํามาใชในเชิงพาณิชย |
|
5. Integrated Gasification Combined Cycle (IGCC) |
การจัดการโลหะหนัก
โลหะหนักจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจำพวก สารหนู(As) แคดเมียม (Cd) ตะกั่ว (Pb) และปรอท (Hg) จะ ถูกดักจับโดยอุปกรณ์ESP, FGD และ ACI ซึ่งประสิทธิภาพในการดักจับไม่น้อยกว่า 90% จึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ สุขภาพของชุมชน
ความจริง : ปริมาณการระบายมลสารจากปล่องของโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เปรียบเทียบระหว่างข้อมูลกลุ่มคัดค้านกับปริมาณจริงที่คำนวณหลังจากผ่านระบบดักจับ
การจัดการปริมาณเถ้า
เถ้าหนัก (Bottom Ash)จะถูกลำเลียงด้วยระบบสายพานลำเลียงไปเก็บยังบ่อฝังกลบขี้เถ้าที่มีการปูรองก้นบ่อ ด้วยแผ่นพลาสติกเพื่อป้องกันการรั่วซึม ขนาดความจุบ่อเพียงพอตลอดอายุการใช้งานโรงไฟฟ้า
เถ้าลอย (Fly Ash) สามารถนำไปใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ได้
[/pb_tab_item][pb_tab_item heading="ท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว" icon="" ]
1. เส้นทางเดินเรือบรรทุกถ่านหิน
เรือบรรทุกถ่านหินระบบปิดขนาด 10,000 เดทเวทตัน บรรทุกถ่านหินลำละประมาณ 8,000 ตัน จากต่างประเทศ วันละไม่เกิน 2 ลำ โดยใช้เส้นทางเดินเรือเดียวกับเรือขนส่งน้ำมันเตาของโรงไฟฟ้ากระบี่ปัจจุบัน ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือ ที่ห่างจากแหล่งท่องเที่ยว จุดดำน้ำ แหล่งหญ้าทะเล และแนวปะการัง จึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและ นิเวศวิทยาทางทะเล สำหรับข้อกังวลเรื่องเรือขนส่งถ่านหินที่จะส่งผลกระทบต่ออาชีพประมงและสัตว์น้ำในทะเลนั้น ได้กำหนด มาตรการป้องกันผลกระทบ โดยออกแบบเรือขนส่งถ่านหินเป็นระบบปิด และจำกัดความเร็วของเรือขณะเข้าสู่ร่องน้ำ เดินเรือปากคลองสีบอยาไม่เกิน 5 ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง หรือ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อลดผลกระทบจากคลื่นและ การกวนตะกอนในทะเลบริเวณนั้น รวมทั้งป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางเรือด้วย หากเกิดกรณีสุดวิสัย เรือขนส่งถ่านหินล่มลงกลางทะเล ถ่านหินก็จะถูกเก็บอยู่ในระวางเรือแบบปิดไม่กระจาย ตัวออกมาอีกทั้งธรรมชาติถ่านหินเป็นของแข็งไม่ละลายน้ำจึงไม่ส่งผลกระทบ ส่วนการกู้เรือต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ดำเนินการตามหลักมาตรฐานสากล ในการขนส่งถ่านหินทางเรือจากต่างประเทศมายังท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้วจะต้องใช้ระยะเวลาเดินทางหลาย วัน เพื่อป้องกันการลุกติดไฟด้วยตนเองจากการสัมผัสกับอากาศเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นธรรมชาติของถ่านหินจึงมีการ กำหนดให้ผู้ขายถ่านหินทำการเคลือบสารป้องกันก่อนขนส่งลงเรือ รวมทั้งช่วยป้องกันการฟุ้งกระจายของผงถ่านขณะ ขนถ่ายลงเรือและขึ้นจากเรือ
2. ท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว
ตั้งอยู่บริเวณคลังน้ำมันบ้านคลองรั้วของโรงไฟฟ้ากระบี่ปัจจุบัน ประกอบด้วย
- ท่าเทียบเรือ ขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 280 เมตร
- สะพานเชื่อมท่าเทียบเรือยาว 380 เมตร บริเวณดังกล่าวสามารถจอดเรือบรรทุกถ่านหินขนาด 10,000 ตัน ที่มีขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 120 เมตร ได้พร้อมกันสูงสุด 2 ลำ
- อุปกรณ์ขนถ่ายถ่านหินแบบสกรู (Screw Unloader) ซึ่งเป็นระบบปิด ป้องกันผลกระทบจากการ ร่วงหล่นของถ่านหินที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและอาชีพประมง เนื่องจากพื้นที่ตั้งของท่าเทียบเรือบ้าน คลองรั้วอยู่ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม พื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar Site) และเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ ของชาวประมง
3. แนวสายพานลำเลียงระบบปิด
มีระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร โดยจุดเริ่มต้นตั้งแต่ท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว จนถึงอาคารเก็บถ่านหินหลักบริเวณ โรงไฟฟ้า สำหรับสายพานลำเลียงบางช่วงมีการก่อสร้างอุโมงค์ลำเลียงถ่านหินลอดใต้พื้นที่ดังกล่าวเป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร เพื่อ ลดผลกระทบต่อพื้นที่ป่าชายเลนซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar Site) นอกจากนี้ สายพานลำเลียงบนพื้นดินได้ก่อสร้างถนนคู่ ขนานเพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์รวมทั้งก่อสร้างกำแพงกันเสียงบริเวณที่ผ่านชุมชน และปลูกต้นไม้ตลอดแนวโดยการใช้เส้นทาง ดังกล่าวจะมีการชี้แจงและสร้างความเข้าใจถึงการจ่ายค่าทดแทนและการเยียวยาให้แก่ราษฎรที่อยู่ในแนวสายพานลำเลียงดังกล่าว
[/pb_tab_item][/pb_tab][/pb_column][/pb_row]