สกอตแลนด์ หนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพพลังงานลมสูงสุดในทวีปยุโรป เริ่มจ่ายไฟฟ้าที่ผลิตจากฟาร์มกังหันลมลอยน้ำแห่งแรกของโลก ในเมืองแอเบอร์ดีน เข้าสู่ระบบแล้ว นับเป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ด้านผู้นำพลังงานหมุนเวียนของโลก ขณะเดียวกัน ยังมีกระแสต่อต้านโครงการกังหันลมนอกชายฝั่ง เนื่องจากความกลัวอันตรายต่อชีวิตของนกทะเล
โครงการฟาร์มกังหันลมลอยน้ำแห่งแรกของโลก เมืองแอเบอร์ดีน ประเทศสกอตแลนด์
ประกอบด้วยกังหันลมจำนวน 5 ต้น กำลังผลิตรวม 30 เมกะวัตต์
https://www.engadget.com/2017/10/18/first-floating-wind-farm-scotland/
http://www.bbc.com/news/uk-scotland-41652707http://www.bbc.com/news/uk-scotland-41652707
โครงการฟาร์มกังหันลมลอยน้ำแห่งแรกของโลก หรือชื่อโครงการว่า Hywind ประกอบด้วยกังหันลมจำนวน 5 ต้น กำลังผลิตต้นละ 6 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลเป็นระยะทาง 15 ไมล์ ในเขต Peterhead เมืองแอเบอร์ดีน ประเทศสกอตแลนด์ เริ่มผลิตไฟฟ้าจ่ายเข้าระบบส่งของประเทศ เพื่อสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของบ้านเรือนได้กว่า 20,000 หลังคาเรือน
นางนิโคลา สเตอร์เจียน นายกรัฐมตรีสกอตแลนด์ แสดงภาพถ่ายกังหันลมลอยน้ำ Hywind ในโทรศัพท์มือถือ
ขณะขึ้นเครื่องบินชมวิวมุมสูงของฟาร์มกังหันลมลอยน้ำ
https://twitter.com/nicolasturgeon
นางนิโคลา สเตอร์เจียน นายกรัฐมตรีสกอตแลนด์ เป็นประธานในพิธีเปิดฟาร์มกังหันลม Hywind อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2560 โดยได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า ความสำเร็จของโครงการดังกล่าวตอกย้ำชื่อเสียงระดับโลกของสกอตแลนด์ในฐานะของผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน
สำหรับโครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้าลอยน้ำ Hywind ดำเนินการพัฒนาโดยบริษัท Statoil ประเทศนอร์เวย์ เป็นระยะเวลามากกว่า 15 ปี กังหันลมแต่ละต้นมีความสูงเกือบเท่าสะพาน Queensferry คือสูงถึง 253 เมตร โดยติดตั้งให้ส่วนที่โผล่พ้นจากผิวน้ำมีความสูง 175 เมตร และอยู่ใต้ผิวน้ำ 78 เมตร ปลายเสาที่ลอยอยู่ใต้ผิวน้ำถูกล่ามด้วยโซ่น้ำหนักถึง 1,200 ตันยึดไว้กับพื้นทะเล ในอนาคตจะมีการติดตั้งแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง เพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากฟาร์มกังหันลม เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพอีกทางหนึ่ง
กังหันลมลอยน้ำ Hywind มีความสูงเกือบเท่าสะพาน Queensferry
ที่สร้างเพื่ออำนวยความสะดวกของผู้ใช้รถยนต์ ข้ามทะเลจากฝั่งเมืองเอดินบะระไปเมืองไฟฟ์
http://www.alphr.com/environment/1006801/queensferry-crossing-uk-bridge-open
เทคโนโลยีกังหันลมลอยน้ำทำให้สามารถติดตั้งกังหันลมได้ที่ระดับน้ำลึกกว่าการติดตั้งฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่งทั่วไป โดยฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่งทั่วไปประมาณร้อยละ 80 ติดตั้งในน้ำทะเลลึกกว่า 60 เมตร ขณะที่เทคโนโลยีกังหันลมลอยน้ำทำให้สามารถติดตั้งกังหันในระดับน้ำลึกได้ถึง 800 เมตร
ด้วยศักยภาพพลังงานลมในประเทศ แหล่งน้ำทะเล และสภาพภูมิประเทศที่เหมาะแก่การติดตั้งฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่ง สกอตแลนด์จึงเหมาะแก่การเป็นแหล่งลงทุนเทคโนโลยีกังหันลมลอยน้ำ และยังคงเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีรุ่นต่อไป
สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงประเภทต่างๆ ผลิตไฟฟ้าของประเทศสกอตแลนด์
มีสัดส่วนการใช้ฟอสซิลและนิวเคลียร์รวมกัน ร้อยละ 58.3
และในสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน มีการใช้พลังงานลมผลิตไฟฟ้าสูงสุดถึงร้อยละ 26.7
อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มที่ต่อต้านการพัฒนาของโครงการ Hywind โดยเฉพาะ Bird Charity RSPB ด้วยเหตุผลว่าสก็อตแลนด์มีการอนุมัติโครงการพัฒนากังหันลมนอกชายฝั่งในพื้นที่ไปหลายโครงการแล้ว ยิ่งมีฟาร์มกังหันลมในทะเลจำนวนมาก จะยิ่งเป็นอันตรายต่อนกทะเลจำนวนพัน ๆ ชีวิต
แปลและเรียบเรียง สุภร เหลืองกำจร
- World’s first floating wind farm powers up in Scotland: https://www.engadget.com/2017/10/18/first-floating-wind-farm-scotland/
- World's first floating wind farm starts generating electricity: http://www.bbc.com/news/uk-scotland-41652707