นโยบายและความมุ่งมั่น

กฟผ. มีการจัดทำและทบทวนนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 5 เรื่องการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UNSDGs) จำนวน 12 เป้าหมาย และประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของ กฟผ. ดังนี้
นโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ กฟผ. | เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (UNSDGs) ที่เกี่ยวข้อง |
---|---|
1. ส่งเสริมการเข้าถึงพลังงานในราคาที่เหมาะสม และเชื่อถือได้ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพ และเสถียรภาพการผลิตไฟฟ้าโดยพลังงานทดแทนและพลังงานรูปแบบใหม่ เพื่อมุ่งพัฒนาสู่สังคมคาร์บอนต่ำ รวมถึงการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าให้พร้อมรองรับพลังงานทดแทน และพลังงานรูปแบบใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ | |
2. ลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการจัดการคุณภาพอากาศและ มลพิษทางอากาศ โดยการปรับปรุงกระบวนการผลิตไฟฟ้า การกำหนดมาตรการ สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปลูกป่าที่ยั่งยืน | |
3. ส่งเสริมการเพิ่มโอกาสและประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยการใช้นวัตกรรมและ เทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีส่วนในการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้า และการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ | |
4. เสริมสร้างองค์กรให้มีความยืดหยุ่นต่อการจัดการความเสี่ยงและการป้องกันภัยคุกคาม เพื่อรักษาความต่อเนื่องทางธุรกิจ และเตรียมความพร้อมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือวิกฤตการณ์ต่าง ๆ | |
5. ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสนับสนุนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยการจัดการของเสียอันตรายที่เกิดจากกระบวนผลิตไฟฟ้า พัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (Demand Side Management) และสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) | |
6. เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้มีความเชื่อถือไว้วางใจ สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรโดยการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วางแผนงานให้สอดคล้องความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและจัดการข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเหมาะสม | |
7. ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืน โดยสนับสนุนการจ้างงานในท้องถิ่น พัฒนาให้ชุมชนโดยรอบสำนักงานเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ และสนับสนุนการจัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัยที่ดีในการทำงาน | |
8. อนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบต่อชุมชน การหยุดยั้งความเสื่อมโทรมของดิน ส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืนโดยกสิกรรมธรรมชาติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ และความมั่นคงทางอาหาร |