การจัดการทรัพยากรบุคคล

การมีระบบการจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ การดูแลสวัสดิภาพ การพัฒนาทักษะและความรู้ความสามารถอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมการมีส่วนร่วม และการสนับสนุนพนักงานให้ได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียม ทำให้พนักงานทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ มีขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการส่งมอบสินค้าและบริการแก่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ

เป้าหมายปี 2567 ผลการดำเนินงาน
● คะแนนสำรวจความผูกพันของพนักงานต่อ กฟผ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80● คะแนนความผูกพันของพนักงาน เท่ากับร้อยละ 85
● จำนวนชั่วโมงเฉลี่ยการฝึกอบรมของพนักงาน ไม่น้อยกว่า 32 ชั่วโมงต่อคน● จำนวนชั่วโมงเฉลี่ยการฝึกอบรมของพนักงาน เท่ากับ 36.72 ชั่วโมงต่อคน

การบริหารทรัพยากรบุคคล

คณะกรรมการ กฟผ. จัดตั้งคณะกรรมการทรัพยากรบุคคล เพื่อกำหนดนโยบายด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนให้ กฟผ. มีการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบาย กลยุทธ์ และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงจากภายในและภายนอกองค์การ โดยมีฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์การ และฝ่ายพัฒนาศักยภาพบุคลากรและคุณภาพ ทำหน้าที่บริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ตามลำดับ

ในปี 2567 กฟผ. ทบทวนและเสนอปรับปรุงนโยบายทรัพยากรบุคคล โดยเพิ่มเติม 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ส่งเสริมความหลากหลายและความเท่าเทียมในองค์การ ปฏิบัติต่อบุคลากรทุกคนอย่างเสมอภาค
ไม่แบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ ศาสนา อายุ สถานะทางสังคม และพื้นฐานการศึกษา และ 2) ส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดี โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม การสร้างความสัมพันธ์อันดี และการสื่อสารผ่านช่องทาง
ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างฝ่ายบริหารกับผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งเคารพในสิทธิเสรีภาพและบทบาทซึ่งกันและกัน โดยยึดมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติตามหลักกฎหมาย
แรงงาน

กฟผ. กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ระยะสั้นและระยะยาว ตามแผนแม่บททรัพยากรบุคคล กฟผ. ปี 2567-2571 และมีการติดตามและกำกับดูแลการดำเนินงานตามแผนงานรองรับแผนแม่บทฯ โดยให้รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหาร กฟผ. เพื่อทราบ และขอรับความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะทุกไตรมาส นอกจากนี้ ยังมีการประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการตามเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Assessment Model: SE-AM) ในหัวข้อ การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจทุกปี รวมถึงมีการสำรวจการยอมรับระบบงาน HRM กับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารทั้งองค์การ เพื่อนำผลมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุงกระบวนการจัดการทรัพยากรบุคคลต่อไป โดยในปี 2567 กฟผ. สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการรองรับแผนแม่บทฯ ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย ครบถ้วนร้อยละ 100 และมีผลคะแนน SE-AM ประจำปี 2566 อยู่ที่ 4.1553 เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 0.7981 ซึ่งนับว่าผลคะแนนอยู่ในระดับสูง อีกทั้งระดับการยอมรับระบบงาน HRM ยังอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.288 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2566 แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลของ กฟผ. มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม กฟผ. ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวทางปรับปรุงการดำเนินงาน อาทิ

  • เพิ่มการเปรียบเทียบการดำเนินงานที่สำคัญด้านทรัพยากรมนุษย์กับคู่เทียบในอุตสาหกรรมเดียวกันทั้งในและต่างประเทศ เพื่อหาประเด็นที่ควรมุ่งเน้นพัฒนา
  • จัดหลักสูตรส่งเสริมความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของพนักงานลูกจ้างภายนอก เรื่องการดำเนินงานขององค์การ เช่น เวลาทำงาน ระเบียบข้อปฏิบัติพื้นฐาน การแต่งกาย สิทธิต่าง ๆ ในที่ทำงาน
    ความปลอดภัยในการทำงาน และ Mindset ในการทำงานที่ดี
  • ทบทวนและปรับค่านิยมองค์การ ให้สะท้อนถึงความหลากหลาย ความเสมอภาค การหลอมรวมความสัมพันธ์ต่อกัน (Diversity, Equity, Inclusion and Belonging: DEI&B) ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
    และมีกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่อง DEI&B อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

กฟผ. มีการสื่อสารแผนแม่บททรัพยากรบุคคลประจำปีแก่ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน และมีการประชาสัมพันธ์หลักเกณฑ์และนโยบายการดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปและส่งผล
กระทบกับบุคลากรภายใน เช่น หลักเกณฑ์การเลื่อนระดับและหลักเกณฑ์การเบิกสิทธิประโยชน์สวัสดิการต่าง ๆ รวมไปถึงการสื่อสารเรื่องการสรรหาบุคลากรภายนอกแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกอย่าง
เป็นระบบ ชัดเจน โปร่งใส ในหลากหลายช่องทาง และกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครงานอย่างเปิดกว้างบนหลักของความเท่าเทียม ทั้งนี้ สำหรับกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่อาจส่งผลต่อพนักงาน กฟผ.
ไม่มีการกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำในการแจ้งพนักงานล่วงหน้า ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว กฟผ. จะไม่ปรับปรุงสภาพการจ้างที่เป็นโทษแก่พนักงาน แต่หากเป็นการปรับปรุงสภาพการจ้างที่เป็นคุณกับพนักงานมากขึ้น จะมีการประชาสัมพันธ์ภายหลังจากดำเนินการแล้วเสร็จ เนื่องจากไม่มีผลกระทบในเชิงลบที่พนักงานจะต้องเตรียมการก่อน สำหรับการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดจากอำนาจในทางบริหารโดยแท้ของนายจ้าง
(Managerial prerogative) จะมีการสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ตามความเหมาะสมแก่กรณี

กฟผ. สนับสนุนเสรีภาพของผู้ปฏิบัติงานในการจัดตั้ง เข้าร่วมสมาคม และร่วมเจรจาต่อรอง ภายใต้กรอบของกฎหมายและหลักเกณฑ์ภายในขององค์การ เช่น การเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กฟผ. (สร.กฟผ.) คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ กฟผ. คณะทำงานประสานความเข้าใจภายในองค์การ และคณะผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดย กฟผ. เชื่อว่าสมาคมหรือเวทีในการเจรจาข้างต้นเป็นช่องทางสำคัญสำหรับใช้สื่อสารระหว่างฝ่ายบริหารกับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความเข้าใจในกรณีที่เกิดปัญหาหรือข้อขัดแย้ง นอกจากนั้นยังมีประโยชน์ในการเสริมสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นภายในองค์การ รวมทั้งใช้เป็นช่องทางในการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของ กฟผ. ได้อีกทางหนึ่งด้วย

สำหรับการเจรจาต่อรองด้านแรงงาน ตามกฎหมายผู้ปฏิบัติงานซึ่งได้รับสิทธิตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่าง กฟผ. และ สร.กฟผ. จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติงานที่เป็นสมาชิก สร.กฟผ. ซึ่งในปี 2567 กฟผ. มีผู้ปฏิบัติงานที่เป็นสมาชิก สร.กฟผ. ทั้งสิ้น 8,797 คน คิดเป็นร้อยละ 59.13 ของจำนวนผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด อย่างไรก็ตาม กฟผ. ได้ให้สิทธิตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแก่ผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 กรณีที่มีการปรับปรุงสภาพการจ้างเนื่องมาจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง กฟผ. จะปรับปรุงสภาพการจ้างให้แก่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งมิได้เป็นสมาชิก สร.กฟผ. ในอัตราเดียวกัน เพื่อให้การบริหารจัดการระบบค่าตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เป็นไปโดยเรียบร้อย  

การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

1. การพัฒนาผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานกลุ่มทั่วไป ประกอบด้วย
● การพัฒนาบุคลากรตาม Competency Gap กำหนดเป็นพื้นฐานหลัก ในการพัฒนาสำหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ตามค่าความคาดหวังในแต่ละระดับ
● การพัฒนาบุคลากรตามระดับ 1-14 รวมทั้งพนักงานสัญญาจ้างพิเศษ เป็นหลักสูตรที่ออกแบบให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. เพิ่มเติมจากหลักสูตร Competency โดยออกแบบการพัฒนาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ พร้อมทั้งคาดการณ์สมรรถนะที่จำเป็นในอนาคต เพื่อให้บุคลากรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และคำนึงถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ของบุคลากรแต่ละระดับผ่านการพัฒนาในรูปแบบที่หลากหลาย
2. การพัฒนาผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานกลุ่ม Successor & Talent
มีการจัดทำ Development Roadmap 2 ปี เพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้กับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติิงานมีความพร้อมสำหรับการสืบทอดช่วงการบริหาร และแต่งตั้งเข้าดำรงตำแหน่งสำคัญใน กฟผ.
ผ่านรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลายรวมทั้งการจัดทำแผนพัฒนาตนเอง
3. การพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคนิค ตามตำแหน่งงานและสายอาชีพ
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้และทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพ
4. การพัฒนาทักษะใหม่รองรับภารกิจในอนาคต กฟผ.
มีการวิเคราะห์ วางแผน การพัฒนาทักษะใหม่ เพื่อรองรับภารกิจในอนาคตที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ กฟผ. โดยมีรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลายตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนาฯ
5. การพัฒนาโครงการปฐมนิเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงานใหม่
เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ปฏิบัติงานด้านความรู้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานในองค์การ รวมทั้งเสริมสร้างเครือข่ายให้เกิดขึ้นในหมู่ผู้ปฏิบัติงาน

สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ [401-2] 
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ผู้บริหารระดับสูงระดับผู้บริหารระดับปฏิบัติการ/พนักงานสัญญาจ้างพิเศษ
อัตราเบี้ยเลี้ยง/ค่าเช่าที่พัก ในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ
อัตราเบี้ยเลี้ยง/ค่าเช่าที่พัก ในการเดินทางไปปฏิบัติงานต่างประเทศ
เงินกู้ยืม เช่น เงินกู้ยืมกรณีจำเป็น เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาของบุตร
ค่าเช่าบ้าน
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เงินช่วยเหลือในการรักษาพยาบาลและบริการรักษาในสถานพยาบาล กฟผ. (*)
ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดxx
เครื่องแต่งกายxx
เงินสงเคราะห์หรือบำเหน็จความชอบกรณีปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อชีวิต (**)
เงินเพิ่มเติมพิเศษตามลักษณะงาน เช่น เงินเพิ่มพิเศษค่าปฏิบัติงานใต้น้ำ และค่าฝีมือช่างเชื่อม (**)x
เบี้ยเสี่ยงภัยและประกันอุบัติเหตุผู้ปฏิบัติงานในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ (***)
เงินตอบแทนพิเศษหรือการลาพักผ่อนของผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (***)
รูปแบบการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working) (**)
สิทธิการลา เช่น ลาป่วย ลาคลอดบุตร และลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร

หมายเหตุ (*) ครอบคลุมถึงครอบครัวพนักงาน (**) เฉพาะลักษณะงาน (***) เฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัย

การลาคลอดบุตรและลาเลี้ยงดูบุตร [401-3]
กรณีการลาปี 2567ปี 2566ปี 2565
ชายหญิงรวมชายหญิงรวมชายหญิงรวม
จำนวนพนักงานที่มีสิทธิ์ลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ (คน)11,0773,79314,87011,4093,90815,31711,6123,97815,590
จำนวนพนักงานที่ใช้สิทธิ์ลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร (คน) 2741274012726633822788315
จำนวนพนักงานที่กลับมาหลังจากสิ้นสุดระยะการลา
เพื่อเลี้ยงดูบุตร (คน)
2741274012726633822788315
จำนวนพนักงานที่พ้นสภาพหลังกลับมาทำงานภายใน 12 เดือน000202123
จำนวนพนักงานที่กลับมาหลังจากสิ้นสุดระยะการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรและยังทำงานต่อหลังจากนั้นไป 12 เดือน (คน)270663362268631219874272
อัตราการกลับมาทำงาน1 (ร้อยละ)100100100100100100100100100
อัตราการคงอยู่ของพนักงาน2 (ร้อยละ)99.26100.0099.4199.5697.7399.05100.00100.00100.00

หมายเหตุ  
1. อัตรากลับมาทำงาน (Return to Work Rate) = (จำนวนพนักงานที่กลับมาทำงานหลังจากสิ้นสุดระยะการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร/จำนวนพนักงานที่ได้ใช้สิทธิ์ลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร) x100
2. การคงอยู่ของพนักงาน (Retention Rate) = (จำนวนพนักงานที่กลับมาทำงานหลังจากสิ้นสุดระยะการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรและยังทำงานต่อหลังจากนั้นไป 12 เดือน/จำนวนพนักงานที่กลับมาทำงานหลังจากสิ้นสุดระยะการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรในรอบรายงานก่อนหน้า) x 100

การฝึกอบรมพนักงาน [404-1]
รายการปี 2567ปี 2566ปี 2565
ชายหญิงชายหญิงชายหญิง
จํานวนชั่วโมงฝึกอบรมทั้งหมดของพนักงาน (ชั่วโมง)
ผู้บริหารระดับสูง (ระดับ 12 ขึ้นไป)14,0106,0607,1883,60614,3614,980
ผู้บริหาร (ระดับ 8-11)98,40053,661189,618108,162137,81474,505
ปฏิบัติการ (ต่ำกว่าระดับ 8)260,85683,229402,540164,820286,929103,452
จํานวนชั่วโมงฝึกอบรมโดยเฉลี่ย (ชั่วโมง/คน)
ผู้บริหารระดับสูง (ระดับ 12 ขึ้นไป)145.94183.6422.7554.64142.19191.54
ผู้บริหาร (ระดับ 8-11)32.7339.0523.5435.9343.3853.26
ปฏิบัติการ (ต่ำกว่าระดับ 8)32.5534.6935.6352.4734.4140.51
การประเมินผลการปฏิบัติงาน [404-3]
พนักงานหน่วยปี 2567ปี 2566ปี 2565
ชายหญิงชายหญิงชายหญิง
พนักงานได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงาน
จำนวนพนักงานได้รับการประเมินคน14,666  14,77615,301
10,926  3,740  10,9943,78211,3803,921
อัตราพนักงานได้รับการประเมินร้อยละของพนักงานทั้งหมด98.7796.4598.15
98.8198.6874.4025.6073.0025.15
พนักงานได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงาน จำแนกตามประเภท
ด้านเทคนิคคน10,58110,24110,580
ร้อยละของพนักงานทั้งหมด98.7169.3167.86
ด้านอื่น ๆคน4,0854,5354,793
ร้อยละของพนักงานทั้งหมด98.9330.6930.74
อัตราส่วนของแรงงานที่ได้รับค่าจ้างมาตรฐาน จำแนกตามเพศ [202-1]
รายการปี 2567ปี 2566ปี 2565
ชายหญิงชายหญิงชายหญิง
ร้อยละของพนักงานและพนักงานสัญญาจ้างพิเศษที่ได้รับผลตอบแทนแรกเข้าตามหรือมากกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำ100100100100100100
ร้อยละของคนงานที่ไม่ใช่พนักงานที่ได้รับผลตอบแทนแรกเข้า
ตามหรือมากกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำ
100100100100100100
จำนวนและอัตราส่วนของพนักงานและคณะกรรมการ จำแนกตามความหลากหลาย [405-1]
องค์ประกอบคณะกรรมการ (คน)พนักงาน (คน)
ผู้บริหารระดับสูงร้อยละผู้บริหารร้อยละปฏิบัติการ ร้อยละรวม
จำนวนทั้งหมด111281004,34510010,39710014,870
เพศชาย1095742,982698,0007711,077
หญิง133261,363312,397233,793
ช่วงอายุอายุ < 30 ปี000001,051101,051
อายุ 30 – 50 ปี3119932,773642,217215,109
อายุ > 50 ปี8971,572367,129698,710
ผู้พิการ0001024025
อัตราส่วนค่าตอบแทน [2-21] [405-2]
อัตราส่วนค่าตอบแทนปี 2567ปี 2566ปี 2565
อัตราส่วนค่าตอบแทนรวมประจำปีสำหรับบุคคลที่ได้รับค่าตอบแทนสูงสุดขององค์กร
อัตราส่วนค่าตอบแทนของบุคคลที่ได้รับค่าตอบแทนสูงสุดต่อค่ากลางของค่าตอบแทนรายปีของพนักงานทั้งหมด11.97 : 118.25 : 116.15 : 1
อัตราส่วนของร้อยละค่าตอบแทนรายปีที่เพิ่มขึ้นของบุคคลที่ได้รับค่าตอบแทนสูงสุดเทียบกับร้อยละของค่ากลางของค่าตอบแทนรายปีที่เพิ่มขึ้นของพนักงานทั้งหมด0 : 11.21 : 11.20 : 1
อัตราส่วนค่าตอบแทนพนักงานหญิงต่อพนักงานชาย จำแนกตามประเภทพนักงาน
ผู้บริหารระดับสูง (ระดับ 12 ขึ้นไป)0.97 : 10.95 : 10.96 : 1
ผู้บริหาร (ระดับ 8 -11)0.94 : 10.95 : 10.97 : 1
ปฏิบัติการ (ต่ำกว่าระดับ 8)1.03 : 11.01 : 10.99 : 1

หมายเหตุ: พนักงานได้แก่พนักงานและพนักงานสัญญาจ้างพิเศษ