การจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า

การจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าเป็นภารกิจที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ กฟผ. ดำเนินการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2534 และเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2536 ภายใต้ชื่อ “โครงการประชาร่วมใจ ประหยัดไฟฟ้า” (Together Conservation) รณรงค์ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกภาคส่วนเกิดการใช้ไฟฟ้าและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์และระบบไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง เพื่อรองรับการขยายตัวของสังคมและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย ที่ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ที่ผ่านมา กฟผ. มุ่งมั่นทุ่มเทในการลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อช่วยลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม 

เป้าหมายปี 2567 ผลการดำเนินงาน
● ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า 1,159 กิกะวัตต์-ชั่วโมง● ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า 2,355 กิกะวัตต์-ชั่วโมง
● ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 627 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์● ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1,228 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์
● ปรับรูปแบบฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ใหม่ ให้สอดรับกับแนวทางการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทันสมัย และสร้างคุณค่าเพิ่ม ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าและผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น● ดำเนินการติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ใหม่ โดยเริ่มใช้งานอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567
● เพิ่มผลิตภัณฑ์เบอร์ 5 ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย แผงเซลล์แสงอาทิตย์ โคมไฟถนน
แอลอีดี และอินเวอเตอร์ที่ใช้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่เชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า
● ดำเนินการติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ใน 4 ผลิตภัณฑ์ ตามเป้าหมาย

การบริหารจัดการ

กฟผ. ดำเนินงานด้านการจัดการการใช้ไฟฟ้าภายใต้กลยุทธ์ 3 อ. ได้แก่

1. อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า

ขับเคลื่อนตลาดอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต นำเข้า ดำเนินการผลิต นำเข้า และจัดจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง พัฒนาเกณฑ์ประสิทธิภาพพลังงานและติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ควบคู่กับการใช้กลยุทธ์การตลาดในการผลักดัน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง โดยในปัจจุบัน ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 มีรูปแบบระดับ 1-5 ดาว เป็นการเพิ่มทางเลือกการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและประหยัดไฟฟ้าได้มากกว่าเดิม มีการแสดงปริมาณการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดช่วงการใช้งาน เพื่อให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการลดโลกร้อนจากการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 มีสัญลักษณ์กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Circular Economy) เพื่อขยายบทบาทของฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 จากช่วงการเลือกซื้อสู่การดูแลตลอดวงจรชีวิต (Life Cycle) ของอุปกรณ์ และมี QR Code เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น อาทิ การใช้งาน การติดตั้ง การดูแลบำรุงรักษา ตลอดจนข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้ไฟฟ้าให้ใช้พลังงานอย่างประหยัดคุ้มค่า ลดการสิ้นเปลืองพลังงานที่ไม่จำเป็น ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ต้นทางของกระบวนการผลิตไฟฟ้าจนถึงปลายทางผู้ใช้ไฟฟ้า และการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกในภาคประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ของประเทศ

2. อาคาร

ให้คำปรึกษาด้านการส่งเสริมมาตรการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงภายในบ้านและอาคาร ครอบคลุมทั้งภาคที่อยู่อาศัย สำนักงาน ภาครัฐ สถานศึกษา ห้างสรรพสินค้า โรงแรม และโรงพยาบาล

3. อุปนิสัย

เสริมสร้างองค์ความรู้ทัศนคติและอุปนิสัยประหยัดไฟฟ้าให้กับสถานศึกษา ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา รวมทั้งประชาชนในภาคธุรกิจภาคอุตสาหกรรม และภาคที่อยู่อาศัย โดยมีกลยุทธ์สนับสนุนการดำเนินงานทั้งในด้านการบริการทางวิชาการ ด้านการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนด้านวัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์และพัฒนาการเรียนรู้สู่การบริหารจัดการพลังงานอย่างเป็นระบบ

กฟผ. ออกแบบแนวทางการเก็บข้อมูลในการตรวจติดตามและพิสูจน์ผลการดำเนินงานด้านการบริหารด้านการใช้ไฟฟ้าให้สอดคล้องกับมาตรการอนุรักษ์พลังงานในภาคที่อยู่อาศัย ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม พร้อมติดตามและประสานข้อมูลการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อใช้ประกอบการประเมินผลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาบูรณาการเพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการภายหลังการดำเนินโครงการ (Post-Evaluation) พร้อมจัดทำรายงานสรุปผลการประเมินและข้อเสนอแนะ อีกทั้งยังได้มีการสร้างและบูรณาการการจัดการฐานข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลด้วย Dashboard เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจภาพรวมข้อมูลและความก้าวหน้าของโครงการ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที 

ในปี 2567 การจัดการด้านการใช้ไฟฟ้ามีผลประหยัดไฟฟ้าจำนวน 2,355 กิกะวัตต์-ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สะสมตลอดอายุการใช้งาน (Life Time) โดยมีปีฐานคือปี 2564 รวม 3.49 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์

ผลการดำเนินงานโครงการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า [Former EU7]
โครงการผลการดำเนินงานหน่วยปี
2567256625652564
โครงการส่งเสริมฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 Total Annual Saving GWh/Year2,3451,5451,0531,724
Total Lifetime Saving GWh/Year6,6594,3212,7771,724
Total CO2 Reduction Annual ktCO2/Year1,223805549899
Total Lifetime CO2 ReductionktCO2/Year3,4722,2531448899
โครงการที่ปรึกษาพลังงาน Total Annual Saving GWh/Year5.996.525.084.4
Total Lifetime Saving GWh/Year22.0116.019.494.4
Total CO2 Reduction Annual ktCO2/Year3.133.42.652.3
Total Lifetime CO2 ReductionktCO2/Year11.488.354.952.3
โครงการบ้านและอาคารเบอร์ 5Total Annual Saving GWh/Year3.988.04
Total Lifetime Saving GWh/Year12.048.04
Total CO2 Reduction Annual ktCO2/Year2.084.19
Total Lifetime CO2 ReductionktCO2/Year6.274.19
โครงการห้องเรียนสีเขียวTotal Annual Saving GWh/Year0.329.01
Total Lifetime Saving GWh/Year
Total CO2 Reduction Annual ktCO2/Year0.164.69
Total Lifetime CO2 ReductionktCO2/Year4.69
รวม Total Annual Saving GWh/Year2,3551,5691,0581,728
Total Lifetime Saving GWh/Year6,6934,3452,7861,728
Total CO2 Reduction Annual ktCO2/Year1,228817552901
Total Lifetime CO2 ReductionktCO2/Year3,4902,2701,453901

หมายเหตุ  
– โครงการส่งเสริมฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ประเมินผลจากผลิตภัณฑ์ 12 รายการ ได้แก่ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ พัดลมไฟฟ้า หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น หลอดแอลอีดีชนิด E27 หลอดแอลอีดีชนิด T8 โทรทัศน์ ตู้แช่เย็นแสดงสินค้า เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ และเครื่องซักผ้า
– ผลการดำเนินโครงการสะสมตามอายุโครงการ (Lifetime) เริ่มนับสะสมตั้งแต่ปี ค.ศ.2021 (พ.ศ. 2564) ตามกรอบการดำเนินงานช่วง Nationally Determined Contributions (NDCs) 2021-2030        
– ใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของระบบสายส่ง สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) เนื่องจากเป็นปีฐานสำหรับการประเมินผลช่วง Nationally Determined Contributions (NDCs) 

การจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า จำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย
โครงการการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนภาคธุรกิจภาคสถาบันภาคอุตสาหกรรม
โครงการส่งเสริมฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5
โครงการให้คำปรึกษาพลังงานx
โครงการส่งเสริมฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับบ้านและอาคารxx
โครงการห้องเรียนสีเขียวxx

กฟผ. มีแผนการดำเนินงานในอนาคตภายใต้กลยุทธ์ S – Support Measures Mechanism เพื่อยกระดับการบริหารจัดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยการเตรียมความพร้อมในการติดฉลากเบอร์ 5 ผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ เครื่องอบผ้า ตู้แช่แข็งฝาทึบ และโคมไฟถนนแอลอีดีเซลล์แสงอาทิตย์ รวมถึงพิจารณาขยายขอบข่ายมาตรฐานทดสอบและเกณฑ์ประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนหลายชุดแฟนคอยล์ ระบบปรับสารทำความเย็นแปรผัน (VRF) ขนาดไม่เกิน 300,000 บีทียูต่อชั่วโมง พร้อมผลักดันให้เกิดระบบการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

โครงการฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
โครงการบ้านและอาคารเบอร์ 5
โครงการห้องเรียนสีเขียว