นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล

กฟผ. นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถขององค์การ ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงสร้างผลกระทบเชิงบวกและลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

เป้าหมายปี 2567 ผลการดำเนินงาน
● จำนวนนวัตกรรมกระบวนการ เท่ากับ 15 ผลงาน● จำนวนนวัตกรรมกระบวนการ เท่ากับ 20 ผลงาน
● มูลค่าที่เกิดขึ้นจากการใช้งานหรือขยายผลนวัตกรรมกระบวนการ เท่ากับ 560 ล้านบาท● มูลค่าที่เกิดขึ้นจากการใช้งานหรือขยายผลนวัตกรรมกระบวนการ เท่ากับ 646.3 ล้านบาท

นโยบายและความมุ่งมั่น

เพื่อให้การส่งเสริมและบริหารจัดการนวัตกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล กฟผ. จึงมีการกำหนด ทบทวน และสื่อสารนโยบายด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในปี 2567 กฟผ.
ยังมีการประกาศใช้นโยบายด้านดิจิทัล ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมถึงการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูลสารสนเทศขององค์การ ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและไซเบอร์ และการพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานและระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการและการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ รวมถึงการเสริมสร้างทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลแก่พนักงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและตอบสนองต่อการเติบโตของ กฟผ. อีกด้วย

โครงสร้างการดำเนินงาน

กฟผ. มีคณะกรรมการเทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการความรู้ เเละนวัตกรรม ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ กฟผ. ทำหน้าที่กำกับดูแล กำหนดนโยบาย พิจารณาแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการประจำปี รวมทั้งติดตามและให้ข้อเสนอแนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการความรู้ และนวัตกรรมของ กฟผ. ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สำหรับงานด้านนวัตกรรม กฟผ. มีโครงสร้างผู้รับผิดชอบ 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนการจัดการนวัตกรรมระดับนโยบาย หมายความถึง คณะกรรมการด้านนวัตกรรม ซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแผนแม่บทหรือแผนปฏิบัติการ เพื่อกำกับ ดูแล ส่งเสริมและขับเคลื่อนการจัดการนวัตกรรม (2) ส่วนการจัดการนวัตกรรมระดับปฏิบัติการ ได้แก่ ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม หน่วยงานด้านนวัตกรรมระดับฝ่าย และหน่วยงานธุรกิจ กฟผ. ซึ่งมีบทบาทในการดำเนินงานด้านการตลาด ทั้งในส่วนของการทดสอบการตลาด และการแสวงหาโอกาสในการลงทุนและสนับสนุนการขยายผลต่อยอดผลงานนวัตกรรมไปสู่เชิงธุรกิจ (3) ส่วนการพัฒนานวัตกรรม ได้แก่ พนักงาน กฟผ. ทุกคน ที่จะมีส่วนร่วมในการนำเสนอไอเดียและประเด็นปัญหา รวมถึงพัฒนานวัตกรรม ผ่านกิจกรรมและช่องทางต่าง ๆ นอกจากนี้ กฟผ. ยังมีหน่วยงานผู้ช่วยผู้ว่าการเทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลขององค์การ รวมถึงมีคณะกรรมการและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการดิจิทัล กฟผ. คณะทำงานดิจิทัล กฟผ. และคณะทำงานบริการข้อมูล กฟผ.

การบริหารจัดการ

กฟผ. มีการทบทวนแผนแม่บทด้านนวัตกรรม กฟผ. และแนวทางสำหรับการบริหารจัดการนวัตกรรม ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ได้แก่ โครงสร้างผู้รับผิดชอบด้านนวัตกรรม ระบบการบริหารจัดการ ระบบการสนับสนุนการดำเนินงาน และระบบติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงาน โดยได้ออกแบบกรอบการดำเนินงานด้านนวัตกรรม (Innovation Framework) ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้และสอดคล้องกับหลักการของมาตรฐาน ISO 56002 และระบบนวัตกรรมองค์การ (Corporate Innovation System: CIS) ตามหลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Assessment Model: SE-AM) และมีการจัดทำคู่มือการบริหารจัดการนวัตกรรม กฟผ. เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางสำหรับการจัดการนวัตกรรม

นอกจากนี้ ยังมีการทบทวนแผนแม่บทดิจิทัล กฟผ. โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับทุกส่วนขององค์การ การบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของ กฟผ. ครอบคลุมถึง (1) การกำกับดูแล
ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและแผนปฏิบัติการดิจิทัลขององค์กร (2) การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับทุกส่วนขององค์กร ครอบคลุมการวิเคราะห์และจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร การบริหารโครงการและ
การดำเนินงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการด้านคุณภาพ (3) การบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน (4) การกำกับดูแลข้อมูลและการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์กร (5) การบริหารความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ (6) การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจและความพร้อมใช้ของระบบ (7) การดำเนินการด้านการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและการบริหารจัดการการเลือกใช้ เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

กฟผ. ดำเนินการด้านงานวิจัยและนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง โดยนับตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปี 2566 กฟผ. ได้สนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาให้กับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 766 โครงการ โดยในปี 2566 ได้สนับสนุนโครงการวิจัยและนวัตกรรมใหม่จำนวน 26 โครงการ และมีการเบิกจ่ายงบประมาณด้านวิจัยและนวัตกรรม เป็นจำนวนเงิน 359.74 ล้านบาท

งบประมาณด้านวิจัยและนวัตกรรม
ปี 2567ปี 2566ปี 2565ปี 2564
การเบิกจ่ายงบประมาณ (ล้านบาท)214.358359.742613.34437.09
สนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรม (โครงการ)19264556

การดำเนินงานด้านวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญในปี 2567
ประเภทการวิจัย
และพัฒนา
ตัวอย่างโครงการหรือกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาด้านวิจัย
และนวัตกรรม
ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลงบประมาณ
(ล้านบาท)
ประสิทธิภาพของพลังงาน•  การพัฒนาแขนกลสำหรับประกอบแท่งกัมมันตภาพรังสีในชุดอุปกรณ์สำรวจแร่
•  การพัฒนาระบบเชื่อม TIG HOT WIRE อัตโนมัติสำหรับเทอร์ไบน์โรเตอร์
34.828
•  O&M Digital Platform แผนงานยกระดับงานเดินเครื่องและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า กฟผ. ด้วย Digital Solution และมุ่งสู่การปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เป็นแบบอัตโนมัติมากขึ้น ทำให้โรงไฟฟ้ามีศักยภาพ สามารถรักษาประสิทธิภาพ การผลิต มีความพร้อมจ่าย ความสามารถในการบํารุงรักษาและความน่าเชื่อถือสูงขึ้น จากการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนงาน เช่น ระบบ PMAS (Predictive Maintenance Analytics System) ซึ่งเป็นระบบที่สามารถคาดการณ์ความขัดข้องเสียหายของเครื่องจักรและแจ้งเตือนล่วงหน้าแบบอัตโนมัติ เพื่อให้ตัดสินใจวางแผนงานบำรุงรักษาได้อย่างเหมาะสม และระบบ PMDS (Performance Monitoring and Loss Diagnostic System) ซึ่งเป็นระบบวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับติดตามสมรรถนะของอุปกรณ์ภายในโรงไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดเวลา ช่วยลดผลกระทบความสูญเสียจากการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า18
เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน•  นำระบบทดสอบแบตเตอรี่รีดอกซ์โฟลว์
•  อินเวอร์เตอร์สำหรับเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอร์ที่ทำงานแบบเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าและทำงานแบบสร้างโครงข่ายไฟฟ้า
16.244
เทคโนโลยีในการส่งและจำหน่ายไฟฟ้า•  ระบบบริหารจัดการพลังงานแหล่งสะสมพลังงานแบตเตอรี่ร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับ
หน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง สถานีวิจัยเกษตรหลวงอินทนนท์
16.468
•  Grid Modernization เป็นแผนงานในการจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ช่วยให้ระบบส่งไฟฟ้าเกิดความมั่นคง และช่วยควบคุมให้ระบบไฟฟ้ามีความยืดหยุ่น รองรับความผันผวนที่จะเกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้า ตามสัดส่วนของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต เช่น ศูนย์ควบคุม
การตอบสนองด้านโหลด (Demand Response Control Center) ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการควบคุมการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ในสถานการณ์ที่เชื้อเพลิงมีราคาสูง หรือช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ดำเนินการผ่านผู้รวบรวมโหลด (Load Aggregator: LA) หรือปริมาณการใช้ไฟฟ้า ซึ่งได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Forecast Center) มีการพัฒนาโมเดลการพยากรณ์สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานลมหรือแสงอาทิตย์
การผลิตและเทคโนโลยีระดับสูง•  การศึกษาการผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตจากยิปซั่ม FGD ร่วมกับการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์83.016
•  Virtual Power Plant (VPP) แผนงานเพื่อสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ของการบริหารจัดการระบบไฟฟ้ารูปแบบใหม่ รองรับความหลากหลายทางเทคโนโลยี เช่น แหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน ระบบกักเก็บพลังงาน การตอบสนองทางด้านโหลด และยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อรวบรวมและจัดการแหล่งพลังงานที่กระจายตัว (Distributed Generation) ให้ทํางานในลักษณะโรงไฟฟ้าเสมือน เพื่อให้สามารถบริหารกําลังไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความยั่งยืนเชิงนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับบริการ•  การศึกษาการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์กังหันลมโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา ด้วยอากาศยานไร้คนขับ
แบบกลุ่มร่วมกับระบบประมวลผลข้อมูลปัญญาประดิษฐ์
1.197
•  EV Ecosystem ดิจิทัลแพลตฟอร์มสนับสนุนและส่งเสริมระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ ประกอบด้วย 4 ผลิตภัณฑ์และบริการ ได้แก่ สถานีอัดประจุไฟฟ้า “EleX by EGAT” Mobile Application Platform “EleXA” ตู้อัดประจุไฟฟ้า “EGAT Wallbox” และระบบบริหารจัดการเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า “BackEN หรือ Backend EGAT Network Operator Platform” มีการดำเนินงานครอบคลุมการขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT และสถานีพันธมิตร พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายแอปพลิเคชันการจัดการอัดประจุไฟฟ้าร่วมกับหน่วยงานอื่น18
•  Green Energy Trading เป็นแพลตฟอร์มรองรับการบริหารจัดการกลไกการให้บริการพลังงานสีเขียว ให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emission1
•  Energy Solution ดิจิทัลแพลตฟอร์มรองรับ Smart Energy Solution ครอบคลุมการให้บริการระบบบริหารจัดการพลังงานแบบครบวงจร เช่น
– ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคาร โรงงาน บ้านเรือนที่ได้มาตรฐาน ออกแบบ
ติดตั้ง และบำรุงรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ ระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System: EMS) ซึ่งเป็นระบบที่ควบคุมการทำงาน ประสานกันระหว่างอุปกรณ์ตรวจวัด สมาร์ทมิเตอร์ และระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอัตโนมัติ และนำข้อมูลมารวมศูนย์ส่วนกลางเพื่อการแสดงผลอย่างเป็นระบบแก่ผู้ใช้ไฟฟ้า
– ENZY Platform ให้บริการด้านการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจรโดยติดตั้งอุปกรณ์ IoT และใช้เทคโนโลยี AI ในการพยากรณ์เพื่อติดตามค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญ ทำให้สามารถลดค่าไฟฟ้า ใช้พลังงานไฟฟ้า
อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
– Peer-to-Peer Energy Trading Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการ Prosumer หรือผู้ที่สามารถผลิต
พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด รองรับการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศ
2
อื่น ๆ•  การพัฒนาต้นแบบหอฟอกอากาศสำหรับชุมชน ด้วยเทคนิคพลาสมา
•  การศึกษาสมบัติของคอนกรีตที่ผสมเถ้าลอยที่มีปริมาณ CaO สูงมากและเถ้าลอยปนเปื้อนแอมโมเนีย
58.378