อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ดีจะช่วยลดและควบคุมความเสี่ยงในทุกกระบวนการ ที่อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ลดความสูญเสียด้านบุคคลอันหมายรวมถึง
ผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับเหมา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ด้านทรัพย์สิน และความสูญเสียต่อกระบวนการทำงานที่สำคัญซึ่งอาจผลต่อความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือขององค์การได้

เป้าหมายปี 2567 ผลการดำเนินงาน
● อัตราความถี่การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยถึงขั้นหยุดงานหรือเสียชีวิต (Injury Frequency Rate: IFR) น้อยกว่าค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง ซึ่งเท่ากับ 0.5537● อัตราความถี่การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยถึงขั้นหยุดงานหรือเสียชีวิต เท่ากับ 0.364
น้อยกว่าค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง
● อัตราความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยถึงขั้นหยุดงานหรือเสียชีวิต (Injury Severity Rate: ISR) น้อยกว่าค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง ซึ่งเท่ากับ 151.6797● อัตราความรุนแรงการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานหรือเสียชีวิต เท่ากับ 436.597
สูงกว่าค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง
● พนักงานที่ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงและพบผลตรวจผิดปกติ ได้รับการติดตาม
และให้คำแนะนำ ร้อยละ 100
● พนักงานที่ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงและพบผลตรวจผิดปกติ ได้รับการติดตาม
และให้คำแนะนำ ร้อยละ 100

นโยบายและความมุ่งมั่น

กฟผ. มีการกำหนดนโยบายคุณภาพ สวัสดิภาพ ความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างเหมาะสม มีสภาพแวดล้อมที่มั่นคงปลอดภัยต่อการทำงาน มีสุขภาพอนามัยที่ดี และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่การบริหารจัดการตามมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการ
จัดทำคู่มือระเบียบปฏิบัติ เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติทั่วทั้งองค์การ สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างการดำเนินงาน

กฟผ. มีฝ่ายแพทย์และอนามัย ทำหน้าที่ดูแลงานบริการตรวจรักษาโรค งานส่งเสริมสุขภาพ และงานอนามัยสิ่งแวดล้อม และมีฝ่ายความปลอดภัย หน่วยงานภูมิภาคด้านความปลอดภัยและรักษาความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ ทำหน้าที่ดูแลงานด้านความปลอดภัย นอกจากนี้ ยังมีคณะทำงานในการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้แก่ คณะกรรมการกำกับการดำเนินงานด้านความเสี่ยงปฏิบัติการและความปลอดภัย ทำหน้าที่กำหนดแนวทาง กำกับ และติดตามการดำเนินงานความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ด้านความปลอดภัยและรักษาความปลอดภัย  คณะทำงานตรวจประเมินการดำเนินงานด้านความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและความปลอดภัย ทำหน้าที่ตรวจประเมินหน่วยงานที่มีระดับความเสี่ยงสูง และคณะทำงานค้นหาสาเหตุอุบัติเหตุร้ายแรงที่มีความเสี่ยงสูง ทำหน้าที่วิเคราะห์หาสาเหตุอุบัติเหตุร้ายแรงที่มีความเสียหายสูงพร้อมดำเนินการสรุปผล

ระบบจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย [403-1]  

ด้วยคำนึงถึงอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการความปลอดภัย พ.ศ. 2565 กฟผ. จึงจัดให้มีระบบบริหารจัดการคุณภาพ ความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และสิ่งแวดล้อม (EGAT Quality Safety Health and Environment: EGAT QSHE) ซึ่งอ้างอิงมาจากข้อกำหนดของระบบมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระบบการจัดการคุณภาพ (ISO 9001-2015) ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001-2015) และระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001-2018) โดยมีการกำหนดแนวปฏิบัติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้อย่างชัดเจน

ระบบ EGAT QSHE เป็นระบบการบริหารจัดการพื้นฐานของ กฟผ. ครอบคลุมทุกหน่วยงานทั่วทั้งองค์การ ตั้งแต่การกำหนดมาตรฐาน คู่มือ ขั้นตอนการดำเนินงาน การนำไปปฏิบัติ การตรวจประเมิน และ
การรายงานผลและติดตามแก้ไขข้อบกพร่อง โดยจัดให้มีการตรวจประเมินภายในปีละ 1 ครั้ง และสำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบงานตามภารกิจหลักของ กฟผ. เช่น สายงานผลิตไฟฟ้า สายงานระบบส่ง และสายงานเชื้อเพลิง ซึ่งมีแหล่งอันตรายและมีงานที่มีความเสี่ยงสูง จะกำหนดให้มีการจัดทำระบบและขอการรับรองระบบ ISO 45001 จากหน่วยรับรองภายนอกอีกด้วย โดยในปี 2567 มีหน่วยงานกลุ่มที่ไม่ได้ขอการรับรองภายนอก (Non-Certification) ได้รับการตรวจประเมินภายในตามระบบ EGAT QSHE จำนวน 43 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 100 และมีหน่วยงานที่ขอการรับรองตามระบบ ISO 45001 จากหน่วยรับรองภายนอก จำนวน 33 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 100

การระบุอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น [403-2]  

กฟผ. มีการระบุอันตราย และการประเมินความเสี่ยงและประเด็นสิ่งแวดล้อมในงานที่ทำเป็นประจำและไม่เป็นประจำ ครอบคลุมทุกขั้นตอนการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับจ้าง และผู้มีส่วนได้เสียที่
อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของหน่วยงาน เพื่อลดและควบคุมความเสี่ยงในทุกกระบวนการทำงานที่อาจนำไปสู่การบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน โดย กฟผ. ได้พัฒนาและใช้งาน
เว็บแอปพลิเคชันสำหรับการประเมินความเสี่ยงและประเด็นสิ่งแวดล้อม (Risk Assessment and Environmental Aspects: RAEA) ซึ่งประกอบด้วย การระบุและชี้บ่งอันตรายตามกิจกรรม/พื้นที่/
ลักษณะงาน การประเมินความเสี่ยงโดยพิจารณาจากโอกาสและความรุนแรง การจัดลำดับความสำคัญเพื่อกำหนดมาตรการ/แผนงานการจัดการความเสี่ยง และการติดตามควบคุม และการประเมินมาตรการ/แผนงานการจัดการความเสี่ยง รวมทั้งการรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหาร เพื่อนำมาทบทวนและปรับปรุงขั้นการการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยผลการประเมินความเสี่ยงและประเด็น
สิ่งแวดล้อม จะถูกนำไปใช้ในการวางแผนและควบคุมการปฏิบัติ เช่น การกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ แผนงาน ตลอดจนการกำหนดมาตรการควบคุมในระเบียบปฏิบัติ (Procedures) กระบวนการทำงานสำคัญ (Work Process) หรือวิธีปฏิบัติงาน (Work Instructions) ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับจ้าง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน พบว่าสภาพการณ์ หรือลักษณะงานมีอันตราย/ความเสี่ยงสูงหรือร้ายแรง ซึ่งไม่สามารถดำเนินการแก้ไขเองได้ สามารถปฏิเสธการทำงานที่มีอันตรายได้

นอกจากนี้ กฟผ. มีการกำหนดการแจ้งอุบัติการณ์และการค้นหาสาเหตุอุบัติการณ์ที่อาจจะหรือก่อให้เกิดการบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือโรคจากการทำงาน ทรัพย์สินเสียหาย รวมทั้งอุบัติเหตุในกระบวนการผลิตภายในหน่วยงานพื้นที่รับผิดชอบและพื้นที่ชุมชนใกล้เคียงและทุกกิจกรรมการทำงาน โดยครอบคลุมผู้ปฏิบัติงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงาน รวมไปถึงการวิเคราะห์อุบัติการณ์ ค่าใช้จ่ายเนื่องจากอุบัติเหตุ และการสื่อสารอุบัติการณ์

บริการด้านอาชีวอนามัย [403-3]

  • การตรวจสุขภาพประจำปีและตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงแก่พนักงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยรายการตรวจเป็นไปตามหลักเกณฑ์การตรวจสุขภาพทั่วไป การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง และ
    การตรวจสุขภาพตามลักษณะงานพิเศษ รวมถึงมีการเฝ้าระวังและติดตาม ในกลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานตามปัจจัยเสี่ยง/ตามลักษณะงานพิเศษ กรณีที่ตรวจพบความผิดปกติจะมีการแจ้งและติดตามพนักงานให้ได้รับคำแนะนำหรือส่งต่อเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมต่อไป
  • การประเมินความพร้อมด้านสุขภาพในกลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานลักษณะงานพิเศษ
  • การติดตามและให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพแก่ผู้ที่ต้องไปปฏิบัติงานต่างประเทศ เพื่อให้มีสุขภาพพร้อมต่อการปฏิบัติงาน
  • การตรวจประเมินสุขภาพก่อนกลับเข้าทำงาน ภายหลังการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยซึ่งไปตามกฎหมาย
  • การเฝ้าติดตามผลตรวจสุขภาพพนักงานที่สัมผัสเสียงดังและมีการให้คำแนะนำแก่หน่วยงานในการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน ซึ่งกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติเกี่ยวกับการได้ยิน พนักงานจะ
    ได้รับคำแนะนำหรือส่งต่อเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมต่อไป 

การมีส่วนร่วม การปรึกษา และการสื่อสารด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย [403-4]

  • ระบบการบริหารจัดการ EGAT QSHE มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม การปรึกษา และการสื่อสารกับพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย อาทิ การเปิดโอกาสและกระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านคุณภาพ ความปลอดภัย สุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม การปรึกษาพนักงานเรื่องการปรับปรุงอุปกรณ์ความปลอดภัยหรือมาตรการควบคุม และการดำเนินการกรณีเกิดอุบัติเหตุรุนแรงและอุบัติการณ์ที่มีศักยภาพความสูญเสียสูง รวมถึงมีการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความตระหนักด้านอาชีวอนามัยและเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยทั่วทั้งองค์การผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ คลิปวิดีโอ และการสนทนาด้านความปลอดภัยก่อนเริ่มประชุม
  • มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ครอบคลุมทุกพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยมีสัดส่วนคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนลูกจ้างร้อยละ 50 และตัวแทนนายจ้างร้อยละ 50 มีความถี่ในการประชุม 1 ครั้งต่อเดือน และมีหน้าที่สำคัญ อาทิ การจัดทำนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การจัดทำแนวทางป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง การรายงานและเสนอแนะมาตรการปรับปรุงสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อม
    ในการทำงาน การพิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย ตลอดจนการติดตาม ประเมิน และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
  • มีผู้ประสานงานทางด้านสุขภาพอนามัยประจำทุกหน่วยงาน ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทำหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริการอาชีวเวชศาสตร์หรืองานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การดูแลพนักงานให้เข้ารับการตรวจสุขภาพ และมีการจัดประชุมผู้ประสานงานสุขภาพอนามัยประจำหน่วยงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และสื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสุขภาพและอาชีวอนามัย รวมถึงมีการจัดตั้งกลุ่มไลน์สำหรับผู้ประสานงานฯ เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร แจ้งข่าว ประชาสัมพันธ์ ซักถามหรือ
    ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับงานด้านสุขภาพและอนามัย

การฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย [403-5]

กฟผ. มีการจัดฝึกอบรมหลักสูตรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแก่พนักงานตามกฎหมาย และหลักสูตรอื่น ๆ อาทิ หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง หลักสูตรการดับเพลิงขั้นต้น หลักสูตรการค้นหาสาเหตุอุบัติการณ์ หลักสูตรการจัดการความเสี่ยงและลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม หลักสูตรโรคจากการทำงาน (อันตรายจากเสียงและสารเคมี Office Syndrome และการดูแลสุขภาพพนักงานกะ) และหลักสูตรการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจ (Automated External Defibrillator: AED)

การส่งเสริมสุขภาพ [403-6]

กฟผ. ส่งเสริมให้พนักงานมีความตระหนักและทัศนคติที่ดี และมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ กิจกรรมบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพดี (EGAT Healthy Idol) ซึ่งเป็นการแข่งขัน
ลดน้ำหนัก ภายในเวลา 90 วัน โดยมีการอบรมให้ความรู้เรื่องอาหารและการออกกำลังกาย มีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมสร้างสุขภาพด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการอบรม
ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ ได้แก่ อาหาร อารมณ์ และออกกำลังกาย และกิจกรรม EGAT Step Challenge ซึ่งเป็นการแข่งขันเดินโดยการนับจำนวนก้าวผ่านแอปพลิเคชัน

การจัดการความปลอดภัยของคู่ค้า [403-7]

กฟผ. มีระเบียบว่าด้วยการจัดการความปลอดภัยของผู้รับจ้าง โดยกำหนดกิจกรรมด้านความปลอดภัยที่ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างต้องดำเนินการ ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกผู้รับจ้าง การจัดการผู้รับจ้างก่อน
เริ่มงาน การจัดการผู้รับจ้างขณะทำงาน การส่งมอบงานตรวจรับงาน และการประเมินผลการดำเนินงานและรายงาน โดยมีเนื้อหาครอบคลุมข้อกำหนดด้านความปลอดภัยที่สำคัญ อาทิ กำหนดให้มีการ
จัดทำเงื่อนไขด้านความปลอดภัยเป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดการจัดจ้าง มีการจัดประชุมเปิดงานร่วมกับผู้รับจ้างเพื่อสื่อสารนโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย รวมถึงให้ผู้รับจ้างจัดทำแผนงาน
ความปลอดภัยให้ตรวจสอบก่อนเริ่มปฏิบัติงาน กำหนดให้ผู้รับจ้างตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามปัจจัยเสี่ยง และกำกับดูแลให้มีการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงาน และ
หากเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับลูกจ้างของผู้รับจ้าง จะดำเนินการสอบสวนค้นหาสาเหตุตามระเบียบว่าด้วยการจัดการอุบัติการณ์ต่อไป

การฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานของผู้รับเหมา [EU17] [EU18]
กิจกรรมจำนวนวันทำงาน
ของพนักงานทั้งหมด
ของผู้รับเหมาและผู้รับเหมาช่วง (วัน)
จำนวนพนักงานทั้งหมด
ของผู้รับเหมาและผู้รับเหมาช่วง (คน)
จำนวนพนักงาน
ที่ได้รับการฝึกอบรม
ด้านอาชีวอนามัยและ
ความปลอดภัย (คน)
ร้อยละของพนักงาน
ที่ได้รับการฝึกอบรม
ด้านอาชีวอนามัยและ
ความปลอดภัย (ร้อยละ)
1. งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าและสายส่ง1,5012,9562,956100
2. งานปฏิบัติการโรงไฟฟ้าและระบบส่ง140,831337337100
3. งานบำรุงรักษา38,3463,5513,551100
4. งานเหมือง3665,1975,197100

หมายเหตุ: โปรแกรมการฝึกอบรมสำหรับพนักงานของผู้รับเหมาเป็นไปตามกฎหมาย

สถิติด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย [403-8] [403-9] [403-10]  
ข้อมูล หน่วย ปี 2567 ปี 2566 ปี 2565
ผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย   
ผู้ที่อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  
พนักงาน  คน 14,87515,31215,098
ร้อยละ        10010096.84
พนักงานของผู้รับเหมาคน 5,94914,805n/a
 ร้อยละ        100100n/a
ผู้ที่อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่ได้รับการทวนสอบโดยหน่วยงานภายใน  
พนักงาน คน 5,5117,2776,306
ร้อยละ  37.0547.5140.45
พนักงานของผู้รับเหมาคน 2,79311,355n/a
 ร้อยละ        46.976.70n/a
ผู้ที่อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่ได้รับการทวนสอบโดยหน่วยงานภายนอก  
พนักงาน คน 9,3648,0409,284
ร้อยละ  62.9552.4959.55
พนักงานของผู้รับเหมาคน 3,15610,048n/a
 ร้อยละ        53.167.87n/a
การบาดเจ็บจากการทำงาน 
ชั่วโมงการทำงาน  
พนักงาน ชั่วโมง 27,489,00028,296,57627,267,912
พนักงานของผู้รับเหมา ชั่วโมง n/an/a6,623,204 
การเสียชีวิต 
พนักงาน คน 210
คน/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 0.870.420
พนักงานของผู้รับเหมา คน 113
คน/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 0.955087944n/a0.45
การบาดเจ็บที่มีความรุนแรงสูง (ไม่รวมเสียชีวิต)  
พนักงาน คน 100
คน/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 0.4400
พนักงานของผู้รับเหมา คน 079
คน/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 0n/a1.36
การบาดเจ็บที่สามารถบันทึกได้  
พนักงาน คน 30317
คน/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 13.1013.153.01
พนักงานของผู้รับเหมา คน 12279
คน/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 11.46105533n/a1.36
การเจ็บป่วยจากการทำงาน      
การเสียชีวิตเนื่องจากเจ็บป่วยจากการทำงาน  
พนักงาน คน 000
คน/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 000
พนักงานของผู้รับเหมา คน 00n/a
คน/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 00n/a
การเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานที่สามารถบันทึกได้ 
พนักงาน คน 000
คน/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 000
พนักงานของผู้รับเหมา คน 00n/a
คน/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน 00n/a

หมายเหตุ:

  • การบาดเจ็บที่มีความรุนแรงสูง หมายถึง การบาดเจ็บจากการทำงานที่ส่งผลให้เสียชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บโดยที่คนงานไม่สามารถปฏิบัติงานได้หรือไม่สามารถคาดหมายให้ฟื้นตัวเต็มที่จนถึงภาวะสุขภาพก่อนได้รับบาดเจ็บ ภายใน 6 เดือน
  • การบาดเจ็บที่สามารถบันทึกได้ หมายถึง การบาดเจ็บจากการทำงานที่ร้ายแรงซึ่งวินิจฉัยโดยแพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาต หรือการบาดเจ็บจากการทำงานซึ่งส่งผลให้เกิดกรณีใด ๆ ต่อไปนี้:
    การเสียชีวิต การหยุดงาน การจำกัดการทำงานหรือย้ายไปงานอื่น การรักษาพยาบาลนอกเหนือจากการปฐมพยาบาล และการสูญเสียสติ
  • การเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับงานที่สามารถบันทึกได้ หมายถึง การเจ็บป่วยจากการทำงานที่ร้ายแรงซึ่งวินิจฉัยโดยแพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาต หรือการเจ็บป่วยจากการทำงานซึ่งส่งผลให้เกิด
    กรณีใด ๆ ต่อไปนี้: การเสียชีวิต การหยุดงาน การจำกัดการทำงานหรือย้ายไปงานอื่น การรักษาพยาบาลนอกเหนือจากการปฐมพยาบาล และการสูญเสียสติ
  • เนื่องจากมีการเก็บข้อมูลจำนวนชั่วโมงการทำงานของพนักงานของผู้รับเหมาไม่ครบทุกพื้นที่ปฏิบัติงาน จึงไม่สามารถรายงานจำนวนชั่วโมงการทำงานและอัตราการเสียชีวิตและบาดเจ็บของของพนักงานของผู้รับเหมาได้