สิทธิมนุษยชน
กฟผ. ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชน คุ้มครองผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการระดับชาติ ว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) และหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs)
เป้าหมายปี 2567 | ผลการดำเนินงาน |
● มีการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม | ● มีหน่วยงานผู้รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของ กฟผ. และมีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนตามเป้าหมาย |
● สัดส่วนของสัญญาหรือข้อตกลงกับคู่ค้า ที่มีการระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหรือที่ผ่านการประเมินด้านสิทธิมนุษยชน (งานที่มีมูลค่าตั้งแต่ 500 ล้านบาท ขึ้นไป) เท่ากับร้อยละ 100 | ● สัดส่วนของสัญญาหรือข้อตกลงกับคู่ค้าที่มีการระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนฯ เท่ากับร้อยละ 100 ตามเป้าหมาย |
● สัดส่วนของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย กฟผ. ที่ได้รับความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 | ● สัดส่วนของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย กฟผ. ที่ได้รับความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน เท่ากับร้อยละ 84.21 ตามเป้าหมาย |
นโยบายและความมุ่งมั่น
ในปี 2567 กฟผ. ประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานที่อาจกระทบต่อสิทธิมนุษยชนทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงงาน ด้านที่ดิน ชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านนักปกป้องนักสิทธิมนุษยชน และด้านการลงทุน เพื่อใช้งานควบคู่กับนโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ และคู่มือจริยธรรมและจรรยาบรรณ กฟผ. ฉบับปรับปรุง ปี 2566
โครงสร้างการดำเนินงาน
ประธานคณะกรรมการ กฟผ. ได้อนุมัติคู่มือจริยธรรมและจรรยาบรรณ กฟผ. และประธานกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ ซึ่งเป็นคณะกรรมการชุดย่อยของคณะกรรมการ กฟผ.
ได้ออกประกาศนโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ ซึ่งกำหนดให้ กฟผ. ดำเนินธุรกิจอย่างเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของ
บุคคล ตลอดจนให้การรับรองและคุ้มครองด้านแรงงาน เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ใช้เป็นหลักการในการปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนมีการกำหนดให้มีการรายงานผลการบริหารจัดการ
ข้อร้องเรียนและบัตรสนเท่ห์แก่ผู้บริหารและคณะกรรมการ กฟผ. ในที่ประชุมคณะกรรมการธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม และการประชุมคณะกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎหมายและ
กฎระเบียบทุกไตรมาส
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ในปี 2567 กฟผ. จัดให้มีกระบวนการเพื่อประเมินความเสี่ยงและการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) จำนวน 16 หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับด้านแรงงาน
ด้านชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และด้านการลงทุน โดยผลการประเมินพบว่า กฟผ. มีความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจาก
มีการดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ กฟผ. ต้องดำเนินการตรวจสอบและการติดตามให้ความรู้แก่พนักงานอย่างสม่ำเสมอและครอบคลุมพนักงานทุกระดับ เพื่อให้พนักงานที่อาจมีการ
หมุนเวียนโยกย้ายหรือเข้ารับตำแหน่งใหม่ได้ดำเนินงานโดยคำนึงถึงหลักการด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะช่วยลดโอกาสมิให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินงาน
การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
กฟผ. มีการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ อาทิ
การเยียวยา
กฟผ. กำหนดแนวทางการเยียวยาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของ กฟผ. โดยกรณีเป็นผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. จะดำเนินการตามระเบียบ กฟผ. ว่าด้วย ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติงานที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเพราะเหตุปฏิบัติงานให้แก่ กฟผ. และผู้ปฏิบัติงานที่ถึงแก่ความตาย และกรณีเป็นบุคคลภายนอก กฟผ. จะมีมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากภารกิจของ กฟผ. ในฐานะผู้รับ
ใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้านำเงินส่งเข้ากองทุนตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกำหนดให้จัดตั้ง “กองทุนพัฒนาไฟฟ้า” ในพื้นที่ประกาศ
เพื่ออุดหนุนให้กับการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า ตามมาตรา 97(3) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 รวมทั้งยังมีการกำหนด
ระเบียบ กฟผ. ว่าด้วย การสื่อสารองค์การ การสร้างความสัมพันธ์ และความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเบื้องต้นให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบด้วย
การใช้แรงงานเด็ก แรงงานเกณฑ์ การเป็นทาสสมัยใหม่ และการร่วมสมาคมและเจรจาต่อรอง [408-1] [409-1] [407-1]
ประเภทความเสี่ยงต่อกรณีการละเมิด สิทธิมนุษยชนของแรงงาน | ประเภท แหล่งดำเนินงาน | ระบุหน่วยงาน/ประเภทดำเนินงาน ที่มีความเสี่ยง | แหล่งดำเนินงานที่มีความเสี่ยง | มาตรการที่ดำเนินการโดยองค์การเพื่อขจัดการละเมิด สิทธิมนุษยชนของแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ |
การใช้แรงงานเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี หรือต่ำกว่าอายุที่สำเร็จการศึกษาภาคบังคับ) | ภายในองค์การ | ไม่พบหน่วยงานและการดำเนินงานที่มีความเสี่ยง | – | มีข้อบังคับ กฟผ. ฉบับที่ 353 ว่าด้วย บุคคล ข้อ 9 (2) กำหนดให้ ผู้ที่จะได้รับการจ้าง การบรรจุ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และมีการกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างของผู้รับจ้างใน TOR ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ |
คู้ค้าหรือ ผู้ส่งมอบ | หน่วยก่อสร้าง งานจ้างเหมาประเภทแรงงานไร้ฝีมือ | งานก่อสร้าง งานดูแลรักษาบริเวณ (ทุกพื้นที่) | ||
การใช้แรงงานเด็ก (อายุมากกว่าอายุทำงานขั้นต่ำที่เกี่ยวข้องและมีอายุต่ำกว่า 18 ปี) ที่สัมผัส หรือเกี่ยวข้องกับงานอันตราย | ภายในองค์การ | ไม่พบหน่วยงานและการดำเนินงานที่มีความเสี่ยง | – | มีข้อบังคับ กฟผ. ฉบับที่ 353 ว่าด้วย บุคคล ข้อ 9 (2) กำหนดให้ ผู้ที่จะได้รับการจ้าง การบรรจุ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ มีการกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างของผู้รับจ้างใน TOR ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ |
คู้ค้าหรือ ผู้ส่งมอบ | หน่วยก่อสร้าง งานจ้างเหมาประเภทแรงงานไร้ฝีมือ | งานก่อสร้าง งานดูแลรักษาบริเวณ (ทุกพื้นที่) | ||
การใช้แรงงานเกณฑ์และแรงงานบังคับ | ภายในองค์การ | ไม่พบหน่วยงานและการดำเนินงานที่มีความเสี่ยง | – | – |
คู้ค้าหรือ ผู้ส่งมอบ | ไม่พบหน่วยงานและการดำเนินงานที่มีความเสี่ยง | – | ||
การละเมิดสิทธิในการใช้เสรีภาพในการสมาคมหรือการร่วมเจรจาต่อรอง | ภายในองค์การ | ไม่พบหน่วยงานและการดำเนินงานที่มีความเสี่ยง | – | กฟผ. มีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กฟผ. (สร.กฟผ.) เป็นไปตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 และกำกับการดำเนินงานภายใต้ข้อบังคับ สร.กฟผ. พ.ศ. 2563 |
คู้ค้าหรือ ผู้ส่งมอบ | ไม่พบการดำเนิน งานที่มีความเสี่ยง | – | – |
เหตุกรณีการเลือกปฏิบัติและการดำเนินการแก้ไขที่กระทำ [406-1]
ระบุเหตุการณ์ กรณีการเลือกปฏิบัติ | ระบุแผนการ ดำเนินงานเพื่อแก้ไขเหตุการณ์ เลือกปฏิบัติ | จำนวนเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในรอบ การรายงาน | สถานะของเหตุกรณีการเลือกปฏิบัติ | |||
มีการทบทวนโดยองค์กร | กำลังดำเนินการแก้ไขตามแผน | ดำเนินการแล้วและมีการทบทวนผลลัพธ์ ผ่านกระบวนการทบทวน การบริหารจัดการภายในเป็นประจำ | ไม่ได้อยู่ภายใต้ การดำเนินการอีกต่อไป | |||
0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
เหตุการณ์การละเมิดสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง [411-1]
การละเมิดสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง | จำนวนเหตุการณ์การละเมิดสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง | ||
ปี 2567 | ปี 2566 | ปี 2565 | |
กิจกรรมหรือเหตุการณ์การละเมิดสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง | 0 | 0 | 0 |
การจัดการความขัดแย้งและความปลอดภัย
กฟผ. เป็นหน่วยงานที่ดำเนินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแห่งชาติด้านพลังงาน จึงจำเป็นต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุม หากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมายที่เกี่ยวข้องจะช่วยหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิอันอาจนำมาซึ่งอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งและข้อพิพาทได้
กฟผ. มีการจัดทำมาตรฐานระบบบริหารจัดการด้านการรักษาความปลอดภัยที่สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และมาตรฐานการรักษา
ความปลอดภัยหน่วยงานภาครัฐฝ่ายพลเรือนของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ตลอดจนมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการจัดการด้านรักษาความปลอดภัย (ISO 28000 : 2022) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานรักษาความปลอดภัยแก่หน่วยงานทั่วทั้งองค์การ โดยให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานรักษาความปลอดภัย
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของ กฟผ. ได้รับการฝึกอบรมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ได้แก่ หลักสูตรการปฏิบัติการรักษาความปลอดภัย และหลักสูตร
การดำเนินงานรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีเนื้อหาด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย เช่น สิทธิในการป้องกันตัวและการกระทำโดยจำเป็นตามประมวลกฎหมายอาญา ระดับ
การใช้กำลัง สิทธิในการจับกุม และการตรวจค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา รวมถึงการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัย โดยในปี 2567 มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย กฟผ.
ทั่วประเทศ เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 176 คน จากจำนวนทั้งหมด 209 คน คิดเป็นร้อยละ 84.21 อีกทั้งยังมีการสื่อสารและชี้แจงแนวทางการดำเนินงานรักษาความปลอดภัยที่เน้นย้ำหลักการด้าน
สิทธิมนุษยชนผ่านเวทีการประชุมต่าง ๆ เช่น การประชุมหัวหน้าแผนกรักษาความปลอดภัยทั่วประเทศ และการเรียกแถวความพร้อม [410-1]
สำหรับพนักงานรักษาความปลอดภัยจ้างเหมา กฟผ. ได้กำหนดคุณสมบัติในเงื่อนไขขอบเขตงานจ้างว่า ต้องเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยที่ได้รับอนุญาตและได้รับการฝึกอบรมครบถ้วนตาม
พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 รวมทั้งกำหนดให้ผู้รับจ้างจัดฝึกอบรมทบทวนพนักงานรักษาความปลอดภัยจ้างเหมาเป็นระยะ ตลอดระยะเวลาของสัญญา
นอกจากนี้ กฟผ. ยังจัดให้มีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน สำหรับการจัดการผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้น โดยเมื่อได้รับข้อร้องเรียน กฟผ. จะดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง หากปรากฎว่ามีความผิดจริง
ตามที่ร้องเรียน หน่วยงานจะดำเนินการลงโทษทางวินัยตามระเบียบ กฟผ. กรณีเป็นพนักงาน กฟผ. หรือดำเนินการแจ้งไปยังผู้รับจ้าง เพื่อให้ดำเนินการลงโทษตามระเบียบของผู้รับจ้าง กรณีที่เป็นพนักงาน
รักษาความปลอดภัยจ้างเหมา จากนั้นจะแจ้งผลการจัดการข้อร้องเรียนให้กับผู้ร้องเรียนทราบต่อไป