การดำเนินงานอย่างยั่งยืนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

วิสัยทัศน์ด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ประชาชน และทุกภาคส่วน พึงพอใจและภูมิใจในการเป็นองค์การที่เป็นผู้นำนวัตกรรม พลังงานไฟฟ้า ที่ใส่ใจสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และมีธรรมาภิบาล

พันธกิจด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

เป็นองค์การหลักด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศที่ดำเนินภารกิจ โดยมุ่งเน้นบริหารจัดการและร่วมสร้างความเชื่อมั่นและคุณค่ากับภาครัฐ หน่วยงานกำกับ ลูกค้า พันธมิตร ชุมชน สังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญอื่นทั้งภายนอกและภายใน ของ กฟผ. อย่างใกล้ชิด เหมาะสม ยั่งยืน มีธรรมาภิบาล และบูรณาการกันทั่วทั้งองค์การ ผ่านการดำเนินงานตามแผนแม่บทบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระยะยาว ของ กฟผ.

กฟผ. เชื่อว่า การดำเนินงานตามภารกิจในฐานะรัฐวิสาหกิจไม่ว่าจะองค์การใดก็ตาม การจะบรรลุเป้าหมายหรือสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้กับองค์การได้นั้น สิ่งสำคัญข้อหนึ่งคือ การได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์การ ซึ่งมาจากการสร้างความสัมพันธ์ สร้างการมีส่วนร่วมกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และความสามารถในการบริหารจัดการผลกระทบจากการดำเนินงานทั้งต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งปี 2564 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กฟผ. เดิมนั้นมี 8 กลุ่ม และได้ปรับเพิ่มเป็น 11 กลุ่ม ประกอบด้วย

  1. กลุ่มภาครัฐและผู้กำกับดูแล
  2. กลุ่มชุมชน
  3. กลุ่มนักวิชาการและประชาสังคม
  4. กลุ่มสื่อมวลชน
  5. กลุ่มลูกค้าและผู้ใช้ไฟฟ้า
  6. กลุ่มพันธมิตรธุรกิจ
  7. กลุ่มพนักงานและสหภาพแรงงาน
  8. กลุ่มการเงิน
  9. กลุ่มคณะกรรมการ กฟผ.
  10. กลุ่มบริษัทในเครือ
  11. กลุ่มคู่แข่ง

เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับภารกิจ และบทบาทในการเป็นองค์การหลักด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

กฟผ. กำหนดแนวทางการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามมาตรฐาน AA1000 Stakeholder Engagement Standard (AA1000 SES) และกรอบแนวทางการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ตามระบบ State Enterprise Assessment Model (SE-AM) ด้านการมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยจัดทำเป็นแผนแม่บทบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งจะเป็นกรอบแนวทางการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบที่สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้าที่ประสานงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ให้สามารถกำหนดแนวทางการสานสัมพันธ์อย่างมีส่วนร่วม และยั่งยืน เหมาะสม และสามารถตอบสนองต่อความต้องการ ความคาดหวัง และข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันท่วงที โดยในส่วนของการดำเนินงานในพื้นที่ กฟผ. มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับการประเมินผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของแผนงาน/โครงการที่ดำเนินการ เพื่อจัดทำแผนการลดผลกระทบ รวมถึงมีการกำหนดตัวชี้วัดสำหรับการติดตามผลการดำเนินงาน ซึ่งการดำเนินงานด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามแผนแม่บทบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น จะถูกรวมรวมและรายงานโดยตรงรายไตรมาสต่อฝ่ายบริหาร คณะกรรมการบริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคม ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ กฟผ. เพื่อพิจารณากลยุทธ์ ทบทวน ปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ตารางความต้องการความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียช่องทางการสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประเด็นที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสำคัญการตอบสนองของ กฟผ.
ภาครัฐและผู้กำกับนโยบาย• การประชุม เสวนา และกิจกรรมร่วม
• การสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันประจำปี
• ช่องทางรับความคิดเห็นและข้อร้องเรียน
• การสื่อสารผ่าน สื่อประชาสัมพันธ์ รวมถึง Social Media
• Call Center 1416
• ข้อมูลการผลิตไฟฟ้าที่ถูกต้อง ครบถ้วน
• ปฏิบัติตามกฎหมายและ พรบ.
• สนับสนุน/ร่วมมือในกิจกรรมของภาครัฐ การเสียภาษี/ค่าธรรมเนียมตามที่กําหนด
• นโยบายภาครัฐส่งเสริมให้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPP และ SPP) ในเรื่องของการผลิตไฟฟ้า
• มีหน่วยงานที่นำยุทธศาสตร์/พรบ./กฎหมายมาปรับเป็นยุทธศาสตร์องค์กร
• สื่อสารและสร้างความเข้าใจภารกิจ กฟผ. อย่างต่อเนื่อง
• จัดทำโครงการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและผู้กำกับนโยบาย
• ส่งเสริมการดำเนินงานตามมาตรฐานเพื่อนำองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
• รายงาน EIA/EHIA
• จัดทำแนวทางปฏิบัติในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กฟผ. (Stakeholder Guideline)
สื่อมวลชนและนักข่าว• การประชุม เสวนา และกิจกรรมร่วมกัน
• การสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันประจำปี
• ช่องทางรับความคิดเห็นและข้อร้องเรียน
• การสื่อสารผ่าน สื่อประชาสัมพันธ์ รวมถึง Social Media
• Call Center 1416
• ข้อมูลข่าวสารถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ข้อมูลมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้• สื่อสารและสร้างความเข้าใจภารกิจ กฟผ. อย่างต่อเนื่อง
• กิจกรรมสานสัมพันธ์
ชุมชน• การประชุม เสวนา และกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์รอบพื้นที่
• โครงการ CSR ต่าง ๆ เพื่อสร้าง การมีส่วนร่วม
• การสำรวจความพึงพอใจและ ความผูกพันประจำปี
• ช่องทางรับความคิดเห็นและ ข้อร้องเรียน
• การสื่อสารผ่านป้ายประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชนท้องถิ่น
• Call Center 1416
• จัดการสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย/ความปลอดภัย และบริหารการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
• พัฒนาคุณภาพชีวิต เคารพต่อสิทธิชุมชน การส่งเสริมสาธารณสมบัติเทคโนโลยีอย่างง่ายในชุมชน
• รับฟังความคิดเห็น การสื่อสารสองทาง การสานเสวนา การเปิดเผยข้อมูล
• โครงการ CSR และชุมชนสัมพันธ์ในพื้นที่ที่ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต
• มีคณะทำงานที่ส่งเสริมโรงไฟฟ้าเป็นที่ท่องเที่ยวและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
• จัดทำแนวทางปฏิบัติในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กฟผ. (Stakeholder Guideline)
นักวิชาการ / องค์กรพัฒนาเอกชน / ภาคประชาสังคม• รับฟังและสื่อสารแลกเปลี่ยนผ่านเวทีเสวนา งานวิจัย หรือการทำงานร่วมกัน
• การสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันประจำปี
• ช่องทางรับความคิดเห็นและข้อร้องเรียน
• การสื่อสารผ่าน สื่อประชาสัมพันธ์ รวมถึง Social Media
• Call Center 1416
• เปิดเผยข้อมูลตามข้อเท็จจริง/เหมาะสมตามช่วงเวลา
• บริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม/การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
• ประชาชนให้ความสาคัญในเรื่องของความมั่นคง เพียงพอ ของการจ่ายกระแสไฟฟ้า ระบบไฟฟ้ามั่นคง ไฟไม่ตกไม่ดับ
• สื่อสารและสร้างความเข้าใจภารกิจ กฟผ. อย่างต่อเนื่อง
• เวทีเสวนา เวทีสาธารณะ
• มีช่องทางที่เหมาะสมให้สามารถเข้าถึงข้อมูลการ
• ดำเนินงาน กฟผ. เช่น การจัดทำ รายงาน EIA/EHIA
ลูกค้าหลัก / ผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไปและสังคมในภาพรวม• การประชุม เสวนา และกิจกรรมร่วม
• การเยี่ยมเยียน พบปะลูกค้า หรือสัมภาษณ์เพื่อสอบถามความต้องการ ความคาดหวัง
• การสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันประจำปี
• ช่องทางรับความคิดเห็นและข้อร้องเรียน
• การสื่อสารผ่าน สื่อประชาสัมพันธ์ รวมถึง Social Media
• รายงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
• Call Center 1416
• ทำสัญญาที่เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้
• ให้บริการที่มีคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การมีข้อมูลการบริการที่ถูกต้องครบถ้วน ตรงต่อเวลา บริการหลังการขายที่ดี
• มีมาตรการรักษาความลับของลูกค้า มาตรการตอบสนองต่อข้อร้องเรียน
• การสร้างความตระหนักเรื่องการบริโภคอย่างยั่งยืน
• บุคลากรที่มีทักษะในการประสานงานและการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจได้
• คุณภาพในการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน
• พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้มาตรฐานทั้งคุณภาพความปลอดภัย และตอบสนองต่อความต้องการของตลาด
• การบริหารจัดการต้นทุนผลิตภัณฑ์และบริการ
• มาตรการตอบสนองต่อข้อร้องเรียน
• สื่อสารและสร้างความเข้าใจภารกิจ กฟผ. รวมถึงสร้างตระหนักเรื่องการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
• จัดทำแนวทางปฏิบัติในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กฟผ. (Stakeholder Guideline)
คู่ค้า / พันธมิตรธุรกิจ• การเยี่ยมเยียน พบปะลูกค้า หรือสัมภาษณ์เพื่อสอบถามความต้องการ ความคาดหวัง
• การสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันประจำปี
• ช่องทางรับความคิดเห็นและข้อร้องเรียน
• การสื่อสารผ่าน สื่อประชาสัมพันธ์ รวมถึง Social Media
• รายงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
• Call Center 1416
• การคัดเลือกและการบริหารสัญญาที่เป็นธรรม
• ประเด็นความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน เช่น สิทธิมนุษยชน
• ความสามารถในการส่งมอบ รวมถึงการมีสัญญา/เงื่อนไขจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นธรรม ความโปร่งใส/ความเท่าเทียมในการจัดซื้อจัดจ้างและประมูลงาน
• มีเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบและประเมินที่คำนึงถึงสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
• เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมกับองค์กรในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ และการบริหารจัดการทรัพยากร การพัฒนาทักษะ การเคารพสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญา
• กำหนดนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน (Green Procurement) และแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ
• ปรับปรุงแนวทางและกระบวนการ กฟผ. ให้ง่ายต่อการทำงานร่วมกับคู่ค้า
• จรรณยาบรรณ กฟผ. และแบบประเมินจริยธรรมคู่ค้า
• ส่งเสริมให้คู่ธุรกิจตระหนักในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม
• การส่งเสริมผู้ส่งมอบ (ผลิตภัณฑ์ชุมชน) ในท้องถิ่นเป็นคู่ค้า
• จัดทำแนวทางปฏิบัติในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กฟผ. (Stakeholder Guideline)
พนักงานและ สหภาพแรงงาน• ผู้บริหารพบปะผู้ปฏิบัติงาน
• กิจกรรม Synergy
• การสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันประจำปี
• ช่องทางรับความคิดเห็นและข้อร้องเรียน
• การสื่อสารผ่าน สื่อประชาสัมพันธ์ รวมถึง Social Media
• รายงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
• Call Center 1416
• มีมั่นคงในการจ้างงาน สัญญาจ้าง การปฏิบัติตามกฎหมายด้านแรงงาน
• ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และสวัสดิการนอกเหนือจากที่กฎหมายกําหนด
• มีโอกาสในการพัฒนาความสามารถและการทํางานอย่างมืออาชีพอย่างเท่าเทียม
• การส่งเสริมการต่อต้านการทุจริตทั้งในและนอกองค์กร รวมถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างรับผิดชอบ การเตรียมความคุ้มครองสําหรับกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ การเปิดโอกาสให้มีการรวมกลุ่มเพื่อเจรจาต่อรอง การเข้าถึงผู้บริหาร การกําหนดช่องทางรับและตอบสนองข้อร้องเรียน
• โครงการ Happy Workplace
• นำหลักสิทธิมนุษยชน และมาตรฐานสากลเช่น ISO26000 ประกอบเป็นแนวปฏิบัติกับพนักงาน
• สื่อสารแบบสองทางกับผู้ปฏิบัติงานผ่านผู้บังคับบัญชา
• มีแผนพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมาย ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงได้
• มีการปรับปรุงสวัสดิการพนักงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
• ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานตระหนักในเรื่องการมีจิตอาสา และความรับผิดชอบต่อสังคม
สถาบันการเงิน• รายงานประจำปี / รายงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
• การสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันประจำปี
• ช่องทางรับความคิดเห็นและข้อร้องเรียน
• การสื่อสารผ่าน สื่อประชาสัมพันธ์ รวมถึง Social Media
• Call Center 1416
• ชําระหนี้สินตรงตามกําหนด
• ดําเนินกิจการด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้
• บริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม
• การปฏิบัติตามสัญญางานธุรกรรมทางการเงินระหว่างกฟผ. กับสถาบันทางการเงิน
 
**ตารางความต้องการความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของรายงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2562

Skip to content