เขื่อนภูมิพล
การจัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
เขื่อนภูมิพลได้มุ่งมั่นทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนและการทำงานเชิงเครือข่ายร่วมกับชุมชน ตลอดจนพันธมิตรต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยมีโครงการที่โดดเด่น ดังนี้
- โครงการเปิดเขื่อนภูมิพลสู่ชุมชนลุ่มน้ำปิง – วัง
- โครงการสื่อสารชุมชนรอบเขื่อน
โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- โครงการล้างแอร์ช่วยชาติ
- โครงการ “ส่งเสริมสุขภาพทันตกรรมรอบเขื่อนภูมิพล” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนรอบเขื่อนภูมิพลมี สุขอนามัยช่องปากที่ดี
- โครงการ “ทำความดีถวายในหลวง ครองราชย์ครบ 70 ปี และเฉลิมพระชนมพรรษาพระราชินี ครบ 7 รอบ”
- โครงการเสริมทักษะความรู้ เปิดประตูสู่มหาวิทยาลัย
- โครงการแว่นแก้ว ครั้งที่ 416
- โครงการฝึกอบรม ส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง สร้างเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน
- โครงการ “ธนาคารขยะ เปลี่ยนขยะเป็นเงิน”
- จัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาและพัฒนา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เขื่อนภูมิพล” โดยมีวัตถุประสงค์ของการเปิดศูนย์ฯ เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ในการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล
การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่ชุมชมรอบโรงไฟฟ้า
โครงการรวมพลคนอาสาร่วมพัฒนาชุมชนและโครงการส่งเสริมอาชีพชุมชน มุ่งส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานและชุมชนมีความตระหนักถึงการทำงานแบบจิตอาสา ร่วมทั้งเน้นเรื่องของการสร้าง และขยายเครือข่ายการทำงานแบบจิตอาสาของผู้ปฏิบัติงานเขื่อนภูมิพลทุกคน เพื่อมาร่วมกันสละแรงกาย ทุ่มเทแรงใจ ช่วยกันทำงานเพื่อส่วนร่วม เพื่อสร้างการยอมรับและการอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างกัลยาณมิตร
- โครงการรวมพลคนอาสาร่วมพัฒนาชุมชน
- โครงการส่งเสริมอาชีพชุมชน
ทีมเสือดำดับไฟป่า กฟผ.
จุดเริ่มต้นของกลุ่มจิตอาสาดับไฟป่า เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2539 โดย กฟผ. เขื่อนภูมิพล มีนโยบายส่งเสริมการดูแลผืนป่า ภายใต้โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ โดยจิตอาสา กฟผ. ได้รวมตัวกันก่อตั้งกลุ่มจิตอาสาดับไฟป่าขึ้น
ต่อมาในปี 2550 กฟผ. เขื่อนภูมิพลได้จัดโครงการอบรมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยเข้าไปทำประชาคมร่วมกับชุมชนบ้านท่าปุยตก และชุมชนใกล้เคียง เพื่อดูแลผืนป่าร่วมกันภายใต้แผนงาน ดับไฟป่า สร้างแนวกันไฟ สร้างฝายชะลอน้ำ ร่วมกันปลูกป่าในฤดูฝน รวมทั้งจัดพิธีกรรมทางศาสนาให้ป่า ได้แก่ พิธีบวชป่า สืบชะตาป่า หรือพิธีเลี้ยงผีป่า เป็นต้น
ปัจจุบัน มีพนักงาน กฟผ. ที่รวมตัวทำงานจิตอาสาดับไฟป่าทั้งสิ้น 20 คน ภายใต้ชื่อ “ทีมเสือดำดับไฟป่า” ประกอบด้วย
- หน่วยป้องกันป่าไม้
- หน่วยงานราชการท้องถิ่น
- อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
- กฟผ. มีหน้าที่ดูแลสอดส่องการเกิดไฟป่า โดยจะแบ่งกันรับผิดชอบดูแลในพื้นที่ของตนเอง ลาดตระเวนโดยรอบพื้นที่ ที่รับผิดชอบ
กฟผ. จึงไม่ใช่เพียงหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องการผลิตไฟฟ้า รักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศเพียงอย่างเดียว แต่เป็นหน่วยงานที่มุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน “ทีมเสือดำดับไฟป่า” คือ หนึ่งในเบื้องหลังของการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ที่ทำงานด้วยมีจิตสาธารณะ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มความสามารถ เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์สุขที่ยั่งยืนให้กับสังคมไทยต่อไป
อ่านต่อ
“ทน เสียว เสี่ยง” ภารกิจทรหดของทีมเสือดำดับไฟป่า กฟผ.