โครงการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้า
โครงการที่ได้รับอนุมัติ
1. โครงการขยายระบบไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะที่ 2 (GBAS2)
เป็นโครงการต่อเนื่องจากระยะที่ 1 มีวงเงินลงทุนโครงการ 9,170 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่งความยาว 89.03 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 1 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 6 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 6,800 เมกะโวลต์แอมแปร์ (MVA) งานติดตั้ง Capacitor Bank 384 เมกะวาร์ (MVAr) งานขยายระบบเบ็ดเตล็ด 21 งาน ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง (ณ เดือนธันวาคม 2565) ร้อยละ 97.27 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566
2. โครงการระบบส่งเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPPP)
เป็นโครงการก่อสร้างระบบส่งเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) จำนวน 4 โครงการ รวมกำลังผลิตประมาณ 4,400 เมกะวัตต์ มีวงเงินลงทุนโครงการทั้งสิ้น 7,025 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่งความยาว 170.2 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 2 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 6 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 1,000 MVA งานขยายระบบเบ็ดเตล็ด 6 งาน มีความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือนพฤศจิกายน 2565 ร้อยละ 76.84 โดยงานระบบส่งเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าผู้ผลิตเอกชนรายใหญ่แล้วเสร็จ จำนวน 3 โครงการ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการจำนวน 1 โครงการ ได้แก่โครงการระบบส่งไฟฟ้าสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าบริษัท บูรพา พาวเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด เพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบเงินลงทุนจำนวน 2,120 ล้านบาท ในการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้า (New Transmission Facilities : NTF) คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569
3. โครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานระยะที่ 1 : ส่วนสถานีไฟฟ้าแรงสูง (RSP1)
เป็นโครงการปรับปรุง/เปลี่ยนทดแทน หรือเพิ่มเติมอุปกรณ์ระบบส่งไฟฟ้าและอาคารควบคุมต่าง ๆ ในสถานีไฟฟ้าแรงสูงที่มีอายุการใช้งานมานาน โดยมีวงเงินลงทุนโครงการ 3,815 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างปรับปรุงสถานีไฟฟ้าแรงสูง จำนวน 15 แห่ง ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือนพฤศจิกายน 2565 ร้อยละ 88.59 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2567
4.โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้าหลักเพื่อรองรับโรงไฟฟ้าผู้ผลิตเอกชนรายเล็กระบบ Cogeneration ตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าปี พ.ศ. 2553 (SPPC)
เป็นโครงการขยายระบบส่งไฟฟ้าหลักเพื่อรองรับโรงไฟฟ้าผู้ผลิตรายเล็กระบบ Cogeneration วงเงินลงทุนโครงการ 10,610 ล้านบาท ประกอบด้วย งานก่อสร้างสายส่งความยาว 490 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 1 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูงและงานปรับปรุงระบบควบคุมและป้องกัน 102 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 2,500 MVA ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือนพฤศจิกายน 2565 ร้อยละ 92.00 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568
5. โครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานระยะที่ 1 : ส่วนสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (RLP1)
เป็นโครงการปรับปรุงและขยายสายส่ง กฟผ. ทั่วประเทศ ที่เสื่อมสภาพตามการใช้งาน วงเงินลงทุนโครงการ 9,850 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างปรับปรุงสายส่ง จำนวน 15 สายส่ง ความยาว 331 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างปรับปรุงและขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 14 แห่ง ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือนพฤศจิกายน 2565 ร้อยละ 93.53 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569
6. โครงการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู และขอนแก่น เพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการใน สปป.ลาว (LNKP)
เป็นโครงการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี และเพิ่มความมั่นคงระบบไฟฟ้า วงเงินลงทุนโครงการ 12,060 ล้านบาท ประกอบด้วย งานก่อสร้างสายส่งความยาวประมาณ 496.77 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 2 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 4 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 1,400 MVA ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือนพฤศจิกายน 2565 ร้อยละ 98.349 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566
7. โครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานระยะที่ 2 (RTS2)
เป็นโครงการปรับปรุงและขยายสายส่งที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานต่อจากระยะที่ 1 วงเงินลงทุนโครงการประมาณ 21,900 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างปรับปรุงสายส่ง จำนวน 11 สายส่ง ความยาว 1,267 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างปรับปรุงและขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง จำนวน 19 แห่ง ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือนพฤศจิกายน 2565 ร้อยละ 82.23 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2570
8. โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า (TIPE)
เพื่อช่วยเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้ารองรับโรงไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และช่วยส่งเสริมการขยายตัวของอุตสาหกรรมและธุรกิจการท่องเที่ยวในภาคตะวันออก วงเงินลงทุนโครงการ 12,000 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่งความยาว 469.664 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 3 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 1 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 3,000 MVA งานขยายระบบเบ็ดเตล็ด 8 งาน ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือนพฤศจิกายน 2565 ร้อยละ 41.30 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2570
9. โครงการขยายระบบไฟฟ้าในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล ระยะที่ 3 (GBA3)
เป็นโครงการต่อเนื่องจากระยะที่ 2 เพื่อสนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นเขตที่มีความต้องการไฟฟ้าสูง และเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญที่สุดของประเทศ อีกทั้งเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศไทย วงเงินลงทุนโครงการ 12,100 ล้านบาท ประกอบด้วย งานก่อสร้างและปรับปรุงสายส่งความยาว 266.91 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 2 แห่ง งานขยาย/ปรับปรุงสถานีไฟฟ้าแรงสูง 4 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 2,425 MVA งานขยายระบบเบ็ดเตล็ด 32 งาน ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 68.49 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568
10. โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ 12 (TS12)
เป็นโครงการต่อเนื่องจากระยะที่ 11 วงเงินลงทุนโครงการ 60,000 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่งความยาว 3,427.58 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 9 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 124 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 26,201.5 MVA งานขยายระบบเบ็ดเตล็ดรวม 215 งาน ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 71.11 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568
11. โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันตก และภาคใต้เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า (TIWS)
เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า โดยการก่อสร้างสายส่ง 500 กิโลโวลต์ พร้อมทั้งปรับปรุงระบบส่ง 230 กิโลโวลต์เพิ่มเติม ครอบคลุมการจ่ายไฟฟ้าให้พื้นที่ภาคใต้ในระยะยาว เพื่อส่งกำลังไฟฟ้าจากภาคตะวันตก ภาคกลาง ไปยังภาคใต้ได้เพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมการขยายตัวของภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวในภาคใต้ รวมทั้งแก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับในพื้นที่ภาคใต้ วงเงินลงทุนโครงการ 63,200 ล้านบาท ประกอบด้วย งานก่อสร้างสายส่งความยาวประมาณ 2,192 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 1 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 5 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 4,000 MVA งานขยายระบบเบ็ดเตล็ดรวม 8 งาน ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 71.986 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569
12. โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า (TIEC)
เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า รองรับโครงการพลังงานทดแทนและทางเลือก ตามแผนการพัฒนาพลังงานทดแทน ฯ ของรัฐบาล ร้อยละ 25 ในระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2555 – 2564) รวมกำลังผลิตติดตั้ง 13,927 เมกะวัตต์ และรองรับระบบโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid: APG) วงเงินลงทุนโครงการ 94,040 ล้านบาท ประกอบด้วย งานก่อสร้างสายส่งความยาว 1,358 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 12 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 10,000 MVA และงานขยายระบบเบ็ดเตล็ด 8 งาน ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 58 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2573
13. โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคเหนือตอนบนเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า (TIPN)
เป็นโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณ ภาคเหนือตอนบน โดยการก่อสร้างสายส่ง 500 กิโลโวลต์ และ 230 กิโลโวลต์ เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถส่งพลังไฟฟ้าไปยังบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งเพื่อเสริมความมั่นคงของระบบส่งไฟฟ้าเพื่อสนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในระยะยาวของประเทศ และรองรับโครงการโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้านในอนาคตและการเป็นระบบโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (APG) วงเงินลงทุนโครงการ 12,240 ล้านบาท ประกอบด้วย งานก่อสร้างสายส่งความยาว 426.27 วงจร-กิโลเมตร งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 3 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 2,600 MVA ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 12.09 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2567
14. ระบบส่งไฟฟ้าสำหรับโครงการทดแทนโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ระยะที่ 1 (SBR1)
เป็นโครงการก่อสร้างระบบส่งเพื่อรองรับโรงไฟฟ้าใหม่ที่ทดแทนโรงไฟฟ้าพลังความร้อนพระนครใต้ เครื่องที่ 1 – 5 ขนาด 1,330 เมกะวัตต์ ซึ่งจะถูกปลดออกจากระบบไฟฟ้าปี 2562 วงเงินลงทุนสำหรับระบบส่ง 1,090 ล้านบาท ประกอบด้วย งานก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าใต้ดิน 230 กิโลโวลต์ จากลานไกไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า – สถานีไฟฟ้าแรงสูงพระนครใต้ ความยาว 1.0 วงจร-กิโลเมตร งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง พระนครใต้ ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือน พฤศจิกายน 2565 ร้อยละ 88.39 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566
15. โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคใต้ตอนล่าง เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า (TILS)
เป็นโครงการก่อสร้างระบบส่ง 500 กิโลโวลต์ จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงไปถึงจังหวัดสงขลา และปรับปรุงระบบส่ง 230 กิโลโวลต์ และ 115 กิโลโวลต์ เพิ่มเติมเพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของภาคใต้ในระยะยาวให้สามารถรองรับความต้องการไฟฟ้าของภาคที่อยู่อาศัย ธุรกิจ อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว การเชื่อมต่อโรงไฟฟ้าหลักหรือโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตามนโยบายภาครัฐ ปัญหาข้อขัดข้องหรือหยุดซ่อมบำรุงประจำปีของท่อก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งรองรับระบบโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid : APG) และการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน วงเงินลงทุนโครงการ 35,400 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่งความยาว 1,409 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 2 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 9 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 4,000 MVA ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือนพฤศจิกายน 2565 ร้อยละ 24.77 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2571
16. โครงการระบบส่งเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3 (IPP3)
เพื่อเชื่อมโยงโครงการโรงไฟฟ้าผู้ผลิตเอกชนรายใหญ่ (IPP) เข้ากับระบบไฟฟ้าของ กฟผ. สนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในภาคตะวันออก และภาคกลาง เพิ่มความคล่องตัวในด้านปฏิบัติการควบคุมและการจ่ายไฟฟ้าในภาคตะวันออก รวมทั้งรองรับสถานการณ์ที่ต้องปลดโรงไฟฟ้าเข้า/ออกในการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ และโรงไฟฟ้าที่หยุดซ่อมบำรุงรักษา โดยมีความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือนพฤศจิกายน 2565 ร้อยละ 67.68 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566
17. แผนงานปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าสำหรับโรงไฟฟ้าของบริษัท หินกอง เพาเวอร์ จำกัด (THKP)
เพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าภาคตะวันตกและภาคใต้ โดยดำเนินการก่อสร้าง ขยาย/ปรับปรุงระบบไฟฟ้า เพื่อรองรับการเชื่อมต่อโรงไฟฟ้า บริษัท หินกอง เพาเวอร์ จำกัด ตามที่ได้รับมอบหมายจากภาคนโยบายและกำกับ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018) มีวงเงินลงทุนโครงการ 165 ล้านบาท ความก้าวหน้างาน ณ เดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 21.66 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566
18. แผนงานปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรองรับการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กประเภท Firm ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2562 – 2568 (TSFC)
เป็นการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากภาคนโยบายและกำกับ ให้ดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงระบบไฟฟ้ารองรับการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ระบบ Cogeneration เพื่อรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพในระบบไฟฟ้าของ กฟผ. ด้านการทำงานของอุปกรณ์ระบบควบคุมและป้องกัน ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 48.10 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568
โครงการที่อยู่ระหว่างขออนุมัติดำเนินการ
1. ระบบส่งเชื่อมโยงโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ (URS1)
เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในภาคการผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่ภายในประเทศได้เต็มศักยภาพ ลดการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ และรักษากำลังการผลิตรวมของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนให้เป็นไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 (PDP2018 Rev.1) โดยโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ขนาดกำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ภายในปี 2566
2. โครงการระบบส่งไฟฟ้าสำหรับโครงการทดแทนโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ระยะที่ 1 (SBR1)
โครงการระบบส่งไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ ที่เชื่อมโยงโครงการทดแทนโรงไฟฟ้าพระนครใต้ กับสถานีไฟฟ้าแรงสูงพระนครใต้ ทดแทนเครื่องที่ 1-5 และทดแทนชุดที่ 1-2 เพื่อรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ความก้สวหน้าของงานก่อสร้าง ณ เดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 88.39 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566
ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 11 พ.ค. 2566