ถาม-ตอบ (Q&A)
พลังงานหมุนเวียน
กฟผ. ได้พัฒนาต่อยอดสู่ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดแบบผสมผสานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์ กับพลังนํ้าจากเขื่อนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro-floating Solar Hybrid) หรือ โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด จำนวน 16 โครงการทั่วประเทศ กำลังการผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Revision 1) เพื่อให้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน

ปัจจุบัน กฟผ. มีแผนพัฒนาระบบส่งเพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า และให้สามารถรองรับโรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ตามแผนโดยมีการจัดโซนนิ่งของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ประกอบกับการพัฒนาระบบส่งควบคู่กันไป ซึ่งมีการพัฒนามากในโซนภาคอีสาน
ทั้งนี้การพัฒนาระบบส่ง ต้องใช้เวลา 5 – 8 ปี ในการออกแบบ สำรวจ และก่อสร้าง ขณะที่โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 1-2 ปี
- มีความมั่นคงระบบไฟฟ้า รองรับเหตุฉุกเฉินได้
- ต้นทุนเหมาะสม ไม่สูงเกินไป
- รองรับความต้องการไฟฟ้าในพื้นที่ การรับซื้อไฟฟ้าจากในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนรองรับ ASEAN Power Grid
- เกิดผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
เนื่องจากพลังงานหมุนเวียนในปัจจุบันเป็นพลังงานที่ไม่สามารถเดินเครื่องได้ตลอด 24 ชั่วโมง แม้ว่าปัจจุบัน ราคาพลังงานหมุนเวียนจะถูกลงมามาก แต่การมีพลังงานหมุนเวียนจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าหลักเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งจะทำให้การลงทุนระบบไฟฟ้าของประเทศสูงขึ้น และค่าไฟฟ้าโดยรวมจะแพง จึงต้องมีการกำหนดสัดส่วนที่เหมาะสมของพลังงานหมุนเวียน เพื่อสร้างสมดุลทางพลังงานที่พึ่งพาพลังงานหลักควบคู่ไปกับการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อให้การผลิตไฟฟ้าของประเทศมีความมั่นคง เพียงพอต่อความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย และมีราคาไม่แพง
สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีโรงไฟฟ้า

PM 2.5 คือ ฝุ่นละเอียด (Fine Particulate Matter) ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน ลอยอยู่ทั่วไปในอากาศ มีแหล่งกำเนิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ ยานพาหนะ เครื่องจักรที่ใช้สำหรับการก่อสร้าง การเผาเชื้อเพลิง ควันจากการเผาป่าหรือวัชพืช หรือเกิดจากกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น การประกอบอาหาร การสูบบุหรี่ หรือการจุดเทียน เป็นต้น โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอากาศในบางฤดูกาล ได้แก่ การเผาป่า โรงงานอุตสาหกรรม และการคมนาคม ซึ่งก่อให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจใด้ ทำให้ในปี 2553 กรมควบคุมมลพิษได้กำหนดมาตรฐาน PM 2.5 ในบรรยากาศโดยทั่วไป ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นในเวลา 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร
ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าที่มี่การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และถ่านหิน มีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ โดยติดตั้งอุปกรณ์ดักจับอนุภาคต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง ได้แก่
- เครื่องดักฝุ่น (Electrostatic Precipitator : ESP) มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นได้ร้อยละ 99.8 – 99.9 สามารถดักจับฝุ่น PM 2.5 ได้มากกว่าร้อยละ 96 – 98
- เครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue Gas Desulfurization : FGD)
- เครื่องกำจัดก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (Selective Catalytic Reduction : SCR)
ซึ่งทำให้กระบวนการผลิตไฟฟ้าสามารถควบคุมคุณภาพอากาศได้ตั้งแต่ต้นทาง
ฝุ่นละเอียด เป็นอีกสาเหตุของปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ เราจึงควรตระหนักและตื่นตัวกันมากขึ้น โดยเฉพาะฝุ่นละเอียดขนาด 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ซึ่งเล็กกว่าเส้นผมที่มีขนาด 60 ไมครอน ถึง 24 เท่า สามารถเข้าสู่ระบบหายใจได้มากกว่าฝุ่นขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม การที่องค์กรเอกชนบางแห่งนำมาเป็นประเด็นรณรงค์คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินและแต่งเติมสีสัน จนอาจทำให้คนไทยละเลยสาเหตุที่แท้จริง และมองข้ามการป้องกันอันตรายที่อยู่รอบตัว เพราะความจริงนั้น ฝุ่นละเอียดส่วนใหญ่เกิดขึ้นได้จากกระบวนการเผาไหม้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นไฟป่า การเผาไร่นาทำการเกษตร ควันเสียรถยนต์ หรือแม้แต่กระทั่งการใช้ฟืนทำกับข้าวในครัวเรือน ก็ทำให้เกิดฝุ่นละเอียดลอยปะปนอยู่ในอากาศแล้ว โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดเกณฑ์แนะนำฝุ่นละเอียดที่ปลอดภัยอย่างเข้มงวด มีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือมีความเข้มข้นเพียง 25 ส่วนในล้านส่วนของน้ำหนัก 1 กรัม ต่ออากาศ 1 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น