การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ

แผนปฏิบัติการฯ ปี 2564

แผนปฏิบัติการฯ ปี 2564 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 9 แผนงาน 29 กิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. นำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการปฏิบัติงาน และทำให้ธรรมาภิบาลเป็นวิถีปฏิบัติของ กฟผ. และมีเป้าหมาย คือ กฟผ. ได้รับการยอมรับด้านคุณธรรมและความโปร่งใสมากขึ้น โดยพิจารณาจากผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) และผลการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจตามระบบประเมินผลใหม่ (State Enterprise Assessment Model: SE-AM) ด้านการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กรที่เพิ่มขึ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการนำองค์การของ กฟผ. ให้เข้มแข็ง

กิจกรรม: พัฒนาระบบการรายงานผลการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร (SE-AM, Enabler 1) โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (iSE-AM)

st 1 1 1.2 1  

           สำนักเลขานุการองค์การ (อลอ.) จัดทำและพัฒนาระบบการรายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจตามระบบประเมินผลใหม่ (State Enterprise Assessment Model : SE-AM) Enabler 1 การกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (I SE-AM) เพื่อให้ผู้รับผิดชอบแต่ละหัวข้อใน Enabler 1 สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบทุกไตรมาส

 

กิจกรรม: ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร (SE-AM, Enabler 1) อย่างเป็นระบบ

          คณะอนุกรรมการการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร (Corporate Governance & Leadership Working Group Members : CG & Leadership) ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ได้ประชุมพิจารณาแผนยกระดับคะแนนการประเมินด้านการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร (SE-AM, Enabler 1) ปี 2564 ที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบ (Process Owner) กำหนดขึ้น รวมถึงรับทราบระยะเวลาการดำเนินงานภาพรวมของ Enabler 1 ปี 2564 เพื่อให้เกิดการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างอุดมการณ์ให้ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ยึดมั่นในธรรมาภิบาลและพร้อมรับการตรวจสอบ

กิจกรรม: ขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรมเป้าหมายของหน่วยงานไปสู่การปฏิบัติ (แผนงานขับเคลื่อน กฟผ. เป็นองค์การคุณธรรม)

    

  

           ฝ่ายต่าง ๆ นำแผนส่งเสริมคุณธรรมเป้าหมาย “วินัย พอเพียง สุจริต และจิตอาสา” ตามประกาศเจตนารมณ์ของหน่วยงานทุกกิจกรรมไปสู่การปฏิบัติ และรายงานผลการดำเนินงานตามแผนฯ

 

กิจกรรม: จัดทำและประกาศขั้นตอนการทำงาน (Work Flow) ที่มีการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ เพื่อแสดงให้ผู้รับบริการทราบ ณ จุดให้บริการ โดยใช้รูปแบบมาตรฐาน

    

          สายงานรองผู้ว่าการระบบส่ง (รวส.) โดยฝ่ายที่ดิน (อทด.) ฝ่ายสำรวจ (อสร.) และฝ่ายปฏิบัติการภาคกลาง (อปก.) จัดทำและประกาศขั้นตอนการทำงาน (Work Flow) ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของหน่วยงาน เพื่อแสดงให้ผู้รับบริการทราบ ณ จุดให้บริการ

 

กิจกรรม: จัดให้มีการประเมินความพึงพอใจ และกล่องรับฟังข้อคิดเห็นของผู้รับบริการ ณ จุดบริการ

ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุ (อจพ.) จัดให้มีกล่องรับฟังข้อคิดเห็นของผู้รับบริการ ณ จุดบริการ

 

กิจกรรม: จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการทุจริต

  

  

  

ฝ่ายต่าง ๆ ของ กฟผ. จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการทุจริต

 

กิจกรรม: สื่อสารนโยบายเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและภายนอก และเผยแพร่ช่องทางการรับข้อคิดเห็นของ กฟผ. ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกทราบ

  

  

          หน่วยงานต่าง ๆ ของ กฟผ. สื่อสารนโยบายเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริต ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและภายนอก และศูนย์จัดการข้อคิดเห็น กฟผ. ทบทวนรายละเอียดช่องทางการรับข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่าน 6 ช่องทาง พร้อมทั้งได้ร่วมกับฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การ (อสป.) จัดทำแผ่นพับและสติ๊กเกอร์ช่องทางการรับข้อคิดเห็นของ กฟผ. เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สื่อสารและประชาสัมพันธ์แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกต่อไป

 

กิจกรรม: จัดอบรมปรับฐานความคิดการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม รวมถึงการให้และรับสินบน

          ฝ่ายกำกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (อกป.) ร่วมกับฝ่ายพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคลและคุณภาพ (อศค.) จัดอบรมปรับฐานความคิดการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม รวมถึงการให้และรับสินบน โดยมีคุณเฉลิมชัยวงค์ บริรักษ์ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ สถาบันการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 เวลา 9.00-12.00 น. ผ่านระบบ Zoom Meeting

ยุทธศาสตร์ที่ 3 สื่อสารให้เข้าถึงจิตใจของกลุ่มเป้าหมาย และสร้างภูมิคุ้มกันให้ กฟผ. เกิดความเข้มแข็ง และมั่นคงในธรรมาภิบาลโดยการสร้างพันธมิตร

กิจกรรม: ทบทวน และประชาสัมพันธ์ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้รับผิดชอบ เพื่อตอบปัญหาฉุกเฉิน

    

  

          หน่วยงานต่าง ๆ ทบทวน และประชาสัมพันธ์ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้รับผิดชอบ เพื่อตอบปัญหาฉุกเฉิน เช่น การประชาสัมพันธ์ผ่านโปสเตอร์ การประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือจังหวัด การสานเสวนาชุมชน การจัดทำคู่มือการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤต เป็นต้น

 

กิจกรรม: ให้ข้อมูลที่มีความสำคัญแก่ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านเกี่ยวกับความก้าวหน้าการดำเนินงานตามภารกิจ ข้อมูลด้านผลกระทบ การบรรเทาผลกระทบ และประโยชน์ที่ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับจาก กฟผ. เพื่อสื่อสารให้คนในชุมชนรับทราบ

  

    

          หน่วยงานต่าง ๆ ให้ข้อมูลที่มีความสำคัญแก่ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านเกี่ยวกับความก้าวหน้าการดำเนินงานตามภารกิจ ข้อมูลด้านผลกระทบ การบรรเทาผลกระทบ และประโยชน์ที่ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับจาก กฟผ. เพื่อสื่อสารให้คนในชุมชนรับทราบ เช่น การจัดกิจกรรมสานเสวนาชุมชนในพื้นที่เขตบางพลัด เขตบางซื่อ เขตดุสิต และเขตพื้นที่อำเภอบางกรวย การจัดกิจกรรมชี้แจงการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ 4 และเยี่ยมเยียนรับฟังความคิดเห็นของชุมชน การจัดกิจกรรมสื่อสารประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโรงไฟฟ้ากระบี่ เหมืองแม่เมาะจัดประชุมชี้แจงด้านสิ่งแวดล้อมและประชาสัมพันธ์ผ่านคลิปเสียงเพื่อรายงานผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศของแต่ละหมู่บ้าน การจัดกิจกรรมเครือข่ายสายส่งบรรยายและให้ข้อมูลที่มีความสำคัญแก่ผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชนใกล้แนวสายส่ง 115kV ยะลา2-นราธิวาส เป็นต้น

 

กิจกรรม:ให้ข้อมูลแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินงาน ประสิทธิภาพการสื่อสาร และการปรับปรุงการทำงาน ตามเกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย

  

          หน่วยงานทุกสายงานให้ข้อมูลแนวทางการดำเนินงานในภาพรวม กฟผ. ประกอบการให้ข้อมูลที่แต่ละหน่วยงานมีการดำเนินงานเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินงาน ประสิทธิภาพการสื่อสาร และการปรับปรุงการทำงาน ตามเกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ผ่านช่องทางเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน อีเมล กลุ่มไลน์ และการร่วมประชุมกับหน่วยงานอื่น ตามความเหมาะสมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ทำให้ กฟผ. เป็นองค์กรของประชาชน

กิจกรรม: คณะกรรมการ กฟผ. พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านกิจกรรมด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี

  

          กฟผ. ร่วมกับกระทรวงพลังงาน กรมควบคุมมลพิษ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศเจตนารมณ์การจัดการพลังงาน คุณภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อม “Breathe our Future รวมพลังเพื่อลมหายใจแห่งอนาคต” ณ ห้อง Auditorium อาคาร ท.103 สำนักงานกลาง กฟผ.

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

 

          เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานกรรมการ กฟผ. ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาพิเศษ เนื่องในโอกาสงานวันสถาปนา กฟผ. 1 พฤษภาคม 2564 กฟผ. ก้าวสู่ปีที่ 53 สื่อสารทิศทางและนโยบายของประเทศ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการเป็นผู้รักษาความมั่นคงทางพลังงาน และส่งเสริมความยั่งยืนของประเทศ โดยมีนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวรายงาน และผู้บริหารแต่ละสายงานร่วมพูดคุยให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ทั่วประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ในหลากหลายช่องทาง ทั้ง Application Zoom กลุ่ม Facebook “คุยกับพี่สิงห์” และเว็บไซต์ live.egat.co.th

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

 

          เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 กฟผ. จัด “งานวันสิ่งแวดล้อม กฟผ.” โดยมีการจัดเสวนาแบบ Live สด ในหัวข้อ “ภาวะโลกรวน ป่วนลมหายใจ” เพื่อร่วมหาทางออกในการกู้วิกฤตสภาพอากาศของโลก ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล กรรมการ กฟผ. และรองคณบดีด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. และผู้ดำเนินรายการ นายพิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร พิธีกร และนักออกแบบเพื่อความยั่งยืน ร่วมเสวนาผ่าน Facebook กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

 

กิจกรรม: ผู้บริหารระดับสูงหรือผู้บริหารในพื้นที่พบปะกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อรับฟังความคิดเห็น และนำมาใช้ประกอบการปรับปรุงการดำเนินงาน

  

          กฟผ. ร่วมกับ บริษัท เอ็นไวร์ไซน์ จำกัด (นิติบุคคลผู้มีสิทธิจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอ รายละเอียด ขอบเขตการศึกษา และการประเมินทางเลือก “โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากสถานีควบคุมก๊าซธรรมชาติ BP4 ของ ปตท. ไปยังโรงไฟฟ้าบางปะกง” ซึ่งประชาชนในพื้นที่มีความกังวลเรื่องการก่อสร้างที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในชุมชน โดยโครงการฯ จะทำการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงกำหนดมาตรการชดเชยเยียวยาให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการฯ

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

  

          ฝ่ายการผลิตโรงไฟฟ้าแม่เมาะ (อฟม.) เป็นผู้แทน กฟผ. แม่เมาะ เข้ามอบหนังสือชี้แจงต่อกลุ่มผู้นำชุมชนและผู้แทนภาคประชาชน อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง กรณีมีสื่อเผยแพร่ข้อมูลการเสนอให้สั่งหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าแม่เมาะบางหน่วย ในปี 2572 เพื่อลดกำลังการผลิตและซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศทดแทน ทำให้เกิดความกังวลว่าจะกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ ทั้งนี้ ทาง กฟผ. ได้ยืนยันและให้ความมั่นใจว่าการดำเนินการพัฒนาโรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Revision 1) ที่กำหนดให้ปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะบางหน่วยผลิตออกจากระบบตามความเสื่อมสภาพและมีอายุการใช้งานมากว่า 30 ปี และกำหนดให้มีการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 (MMRP2) และมีแผนจ่ายไฟเข้าสู่ระบบในปี 2569 ซึ่งจะสอดคล้องกับปริมาณถ่านหินลิกไนต์ที่เหลืออยู่เพียงพอสำหรับผลิตไฟฟ้าได้อีก 25 ปี

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

          ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อปอ.) ร่วมเข้าพบผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ฉ.1 (จังหวัดอุดรธานี) เพื่อรับฟังความคิดเห็นและนำมาใช้ประกอบการปรับปรุงการดำเนินงาน

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

  

          ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานโครงการเดินเครื่องและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนน้ำงึม 2 สปป.ลาว (อค-บน.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (Electricite Du Laos: EDL) โดยพิจารณาถึงแนวทางการสับเปลี่ยนหมุนเวียนผู้ปฏิบัติงาน EDL ณ เขื่อนน้ำงึม 2 พร้อมสอบถามปัญหา/อุปสรรคในการบริหารงานเดินเครื่องและบำรุงรักษา

 

กิจกรรม: เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมติดตามและประเมินความรับผิดชอบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชนอย่างทั่วถึง

  

          ฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ (อสค.) และฝ่ายชุมชนสัมพันธ์โครงการ (อชค.) ร่วมประชุมคณะทำงานสิ่งแวดล้อมภายใต้คณะกรรมการร่วมติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน และพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชนของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ โรงไฟฟ้าวังน้อย โรงไฟฟ้าจะนะ และโรงไฟฟ้าบางปะกง ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้นำชุมชนเข้าร่วมประชุม เพื่อติดตามการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของ กฟผ. หากมีประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมหรือสังคม ภาคประชาชนสามารถนำเสนอในที่ประชุมเพื่อให้ กฟผ. พิจารณาแก้ไขได้

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

          โรงไฟฟ้าภาคใต้ (อฟภ.) จัดให้มีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ท่าเทียบเรือขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้า โดยเปิดโอกาสให้ตัวแทนชุมชนตำบลตลิ่งชัน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ เข้าร่วมสังเกตการณ์

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

          โรงไฟฟ้าแม่เมาะ (รฟม.) ร่วมกับการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) สาขาลำปาง จัดประชุมเพื่อหาแนวทางบริหารจัดการน้ำในอ่างห้วยคิงตอนล่าง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

  

          สายงานรองผู้ว่าการเชื้อเพลิง (รวช.) เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมตรวจวัดและรายงานผลด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงตรวจติดตามสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งดิน

แผนปฏิบัติการฯ ปี 2563

แผนปฏิบัติการฯ ปี 2563 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 9 แผนงาน 30 กิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. นำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการปฏิบัติงาน และทำให้ธรรมาภิบาลเป็นวิถีปฏิบัติของ กฟผ. และมีเป้าหมาย คือ กฟผ. ได้รับการยอมรับด้านคุณธรรมและความโปร่งใสมากขึ้น โดยพิจารณาจากผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างอุดมการณ์ให้ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ยึดมั่นในธรรมาภิบาลและพร้อมรับการตรวจสอบ

กิจกรรม: จัดทำแบบประเมินอิเล็กทรอนิกส์ส่งให้ผู้ปฏิบัติงานประเมินตนเอง

จัดให้มีการประเมินตนเองในการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ไตรมาสละ 1 ครั้ง ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์

 

กิจกรรม: ผู้ปฏิบัติงานลงนามรับทราบประมวลจริยธรรมทางระบบสารสนเทศและถือปฏิบัติ และประเมินการรับรู้ประมวลจริยธรรมทางระบบสารสนเทศ

  

          ฝ่ายกำกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (อกป.) จัดให้มีการลงนามรับทราบจริยธรรมและจรรยาบรรณ กฟผ. ทางระบบสารสนเทศและแบบลงนามรับทราบ และจัดให้มีการประเมินการรับรู้จริยธรรมและจรรยาบรรณ กฟผ. ทางระบบสารสนเทศ ระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม ถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563  โดยมีผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ลงนามรับทราบจริยธรรมและจรรยาบรรณ กฟผ. คิดเป็นร้อยละ 100 ของผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ทั้งหมด และผลการประเมินการรับรู้ฯ ของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ประจำปี 2563 ในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 80.77

 

กิจกรรม: จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการทุจริต

   

    

ฝ่ายต่าง ๆ ของ กฟผ. จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการทุจริต

 

กิจกรรม: จัดงาน กฟผ. องค์การใสสะอาด

  

    

    

          กฟผ. จัดงาน กฟผ. องค์การใสสะอาด ประจำปี 2563 เมื่อวันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ภายใต้แนวคิด “กฟผ. ธำรงธรรมาภิบาล ดำเนินงานอย่างมีจรรยาบรรณ” โดยภายในงานมีกิจกรรมแสดงความมุ่งมั่นเชิงสัญลักษณ์ในการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและจรรยาบรรณ กฟผ. ของคณะกรรมการ กฟผ. ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. และมีการเสวนา เรื่อง ทำงานให้โปร่งใส ต้องใส่ใจจรรยาบรรณ นอกจากนี้ ยังมีพิธีมอบเข็มเชิดชูเกียรติ ประจำปี 2562 พิธีมอบรางวัลโครงการต้นแบบที่มีความโดดเด่นในการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ประจำปี 2562 และรางวัลบุคคลต้นแบบที่มีการปฏิบัติสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล ประจำปี 2563

ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างภูมิคุ้มกันให้ กฟผ. เกิดความเข้มแข็ง และมั่นคงในธรรมาภิบาล โดยการสร้างพันธมิตร

กิจกรรม: ร่วมกับประชาชน เอกชน และประชาสังคม ในการบริหารจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมของ กฟผ. ให้เกิดการยอมรับอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามแผนงานและงบประมาณการสื่อสารองค์การ การสร้างความสัมพันธ์ ความรับผิดชอบต่อสังคม และการบริจาค กฟผ. ประจำปี 2563

  

โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ชุมชนบ้านดอนกลาง ตำบลหนองกร่าง อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

จัดกิจกรรมความรู้ “วันวิชาการทั่วไป” หัวข้อ “We Grow Green : ศึกษาทั่วไปใส่ใจสิ่งแวดล้อม”

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

 จัดกิจกรรมความรู้ในโครงการแว่นแก้ว หัวข้อ “การใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด และปลอดภัย”

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจพอเพียง

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

         กฟผ. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมพลังงานในงาน Future Energy Asia 2020 (FEA2020) ระหว่างวันที่ 12-14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ ศูนย์การประชุมไบเทค กรุงเทพมหานคร

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

          กฟผ. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดงานประกาศผลการดำเนินงานและมอบรางวัล EGAT Green Learning Awards 2019 แก่โรงเรียน ครู และชุมชนในเครือข่ายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อผลักดันโครงการห้องเรียนสีเขียว ให้เป็นศูนย์กลางในการแบ่งปันความรู้ สู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Based Society) สร้างความยั่งยืนด้านพลังงานไฟฟ้าและสิ่งแวดล้อมของประเทศ เช่น โครงการโรงเรียนคาร์บอนต่ำ (ลดการใช้พลังงานที่โรงเรียน), โครงการโรงเรียนคาร์บอนต่ำสู่ชุมชน (ลดการใช้พลังงานที่บ้านนักเรียน) เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ หอประชุมเกษม จาติกวณิช กฟผ.

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

          กฟผ. ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit : GIZ) ประกาศความสำเร็จของกองทุน RAC NAMA ผลักดันนวัตกรรมเทคโนโลยีทำความเย็นสีเขียว เน้นประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในงาน Green Cooling Revolution: RAC NAMA Fund and the Future of Thai Industry เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ

 

กิจกรรม: จัดการประชุมร่วมกับรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานไฟฟ้า เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี

  

          ผู้ช่วยผู้ว่าการกฎหมายและธรรมาภิบาล (นางสาวชณิกา ยุทธสารประสิทธิ์) เป็นประธานการประชุมร่วม 3 รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่อหารือแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี งานประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) และการดำเนินงานด้านการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจตามระบบประเมินผลใหม่ (State Enterprise Assessment Model : SE-AM) Enabler 1 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ณ ห้องประชุม 201 อาคารสำนักผู้ว่าการ สำนักงานกลาง กฟผ. อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

 

กิจกรรม: ให้ข้อมูลที่มีความสำคัญแก่ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านเกี่ยวกับความก้าวหน้าการดำเนินงานตามภารกิจ ข้อมูลด้านผลกระทบ การบรรเทาผลกระทบ และประโยชน์ที่ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับจาก กฟผ. เพื่อสื่อสารให้คนในชุมชนรับทราบ

  

      

  

          หน่วยงานต่าง ๆ ให้ข้อมูลที่มีความสำคัญแก่ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านเกี่ยวกับความก้าวหน้าการดำเนินงานตามภารกิจ ข้อมูลด้านผลกระทบ การบรรเทาผลกระทบ และประโยชน์ที่ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับจาก กฟผ. เพื่อสื่อสารให้คนในชุมชนรับทราบ เช่น การชี้แจงข้อมูลผลกระทบเรื่องกลิ่นคลอรีนของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ การประชุมคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งระดับตำบลและอำเภอของเหมืองแม่เมาะ การตรวจติดตามสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานราชการและชุมชนของเหมืองแม่เมาะ เป็นต้น

ยุทธศาสตร์ที่ 3 สื่อสารให้เข้าถึงจิตใจของกลุ่มเป้าหมาย

กิจกรรม: ทบทวน และประชาสัมพันธ์ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้รับผิดชอบ เพื่อตอบปัญหาฉุกเฉิน

  

          หน่วยงานต่าง ๆ ทบทวน และประชาสัมพันธ์ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้รับผิดชอบ เพื่อตอบปัญหาฉุกเฉิน เช่น การประชาสัมพันธ์ข้อมูลชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รับผิดชอบในการสานเสวนาชุมชนให้กับประธานชุมชนได้รับทราบเพื่อติดต่อในกรณีมีปัญหาฉุกเฉินหรือต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า การประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านสื่อโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน ป้ายประกาศของหน่วยงาน รวมถึงเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ของจังหวัด เป็นต้น

 

กิจกรรม: จัดทำคลิปวีดิโอเพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานของ กฟผ. สื่อสารและเผยแพร่ให้ชุมชนในพื้นที่รับทราบ

    

  

          หน่วยงานต่าง ๆ จัดทำคลิปวิดีโอเพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานของ กฟผ. สื่อสารและเผยแพร่ให้ชุมชนในพื้นที่รับทราบ เช่น วิดีโอแนะนำภารกิจของโรงไฟฟ้า วิดีโอสรุปข่าวกิจกรรมของหน่วยงาน และวิดีโอไขข้อข้องใจต่าง ๆ เป็นต้น

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ทำให้ กฟผ. เป็นองค์กรของประชาชน

กิจกรรม: คณะกรรมการ กฟผ. พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านกิจกรรมด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี

  

          กฟผ. จัดงาน “วันสิ่งแวดล้อม กฟผ.” เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ซึ่งมีการเสวนา EGAT GURU Talk ครั้งที่ 2 ในรูปแบบถ่ายทอดสด เผยแพร่ให้ประชาชนได้รับชมผ่าน Facebook

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

  

          กฟผ. และบริษัทในกลุ่ม กฟผ. จัดการประชุมพิจารณาร่างแผนวิสาหกิจ กฟผ. ประจำปี 2564-2573 (ฉบับทบทวนปี 2563-2576) เสนอคณะกรรมการ กฟผ. พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ กฟผ. เพื่อกำหนดทิศทางเป้าหมายการดำเนินงานในอนาคต ภายใต้แนวคิด EGAT Transformation หรือการปรับองค์การให้มีความพร้อมในการรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบอุตสาหกรรมพลังงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

 

กิจกรรม: ผู้บริหารระดับสูงหรือผู้บริหารในพื้นที่พบปะกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อรับฟังความคิดเห็น และนำมาใช้ประกอบการปรับปรุงและพัฒนาองค์การ

  

           โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การศึกษาและจัดทำรายงานประมวลหลักการปฏิบัติ และรายงานเกี่ยวกับการศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย นอกจากนี้ มีการกำหนดมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของโครงการ รวมทั้งกำหนดแนวทางในการพัฒนาโครงการเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทน และแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานี

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

  

           โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9 จัดการทบทวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

 

กิจกรรม: โครงการช่วยเหลือประชาชนโดยอาศัยศักยภาพของ กฟผ.

  

           กฟผ. และจังหวัดนนทบุรี ร่วมจัดกิจกรรม “ชาวนนท์ รณรงค์ลด PM 2.5” โดยมอบหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 จำนวน 20,000 อัน ให้แก่เทศบาลเมืองบางกรวย ชุมชน โรงเรียน และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องปฏิบัติหน้าที่กลางแจ้ง พร้อมทั้งระดมจิตอาสาและรถดับเพลิงฉีดล้างทำความสะอาดพื้นถนนป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่น

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

    

           ฝ่ายเคมี (อคม.) ร่วมกับฝ่ายแพทย์และอนามัย (อพอ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำเจลอนามัย “น้ำใจ กฟผ.” เพื่อแจกให้กับผู้ปฏิบัติงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และชาวชุมชนโดยรอบสำนักงาน กฟผ.

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

  

           ผู้ว่าการ กฟผ. พร้อมด้วยผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน ร่วมปล่อยคาราวานรถขนตู้เก็บสิ่งส่งตรวจความดันบวก–ลบ จากฝีมือผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. รวม 120 ตู้ เพื่อส่งมอบให้กับโรงพยาบาลกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ ในการช่วยเหลือการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยในสถานการณ์ COVID-19

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

  

           กฟผ. เปิดตัววินมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าและเรือไฟฟ้าโดยสารประหยัดพลังงาน ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าระบบขนส่งสาธารณะ มุ่งลดมลพิษทางอากาศ เชื่อมต่อการเดินทางล้อ ราง เรือ สนองนโยบาย One Transport ของภาครัฐ นอกจากนี้ยังร่วมกับ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด (บอท.) พัฒนานวัตกรรมตอบโจทย์ประเทศ โดยเตรียมนำร่องพัฒนาเรือไฟฟ้าใช้ในเขื่อนของ กฟผ. ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้ชุมชนและสังคมไทย

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

  

           กฟผ. ร่วมกับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) มูลนิธินายช่างไทยใจอาสา วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช กองทัพภาคที่ 4 และเครือข่าย ส่งทีมจิตอาสาลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนและฟื้นฟูระบบไฟฟ้าภายในครัวเรือนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียงกว่า 2,500 ครัวเรือน โดยดำเนินการตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในอาคารบ้านเรือน พร้อมซ่อมแซมและเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดเสียหาย ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2563 และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะครบตามเป้าหมาย ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าของประชาชน

Skip to content