เขื่อนแก่งกระจาน

(จ.เพชรบุรี)

ความเป็นมา

เมื่อกล่าวถึง จ.เพชรบุรี หลายครั้งเรานึกถึงสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่ง แต่มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง นั่นคือ “เขื่อนแก่งกระจาน”

          เขื่อนแก่งกระจาน จัดเป็นเขื่อนอเนกประสงค์และยังเป็นเขื่อนดินแห่งแรกของประเทศไทย สร้างปิดกั้นแม่น้ำเพชรบุรี บริเวณเขาไม้รวกและเขาจ้าว นอกเหนือประโยชน์จากการผลิตไฟฟ้าแล้ว เขื่อนแก่งกระจานสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทาน และการเพาะปลูก อีกทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำตั้งแต่ปากอ่าวเพชรบุรี-หัวหินให้หมดไป และยังช่วยบรรเทาอุกทกภัยในจังหวัดเพชรบุรีอีกด้วย

          ตัวเขื่อนเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2504 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2509

          จากนั้น กฟผ. ได้เริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2514 แล้วเสร็จและผลิตไฟฟ้าได้เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2517

          เนื่องจาก จ.เพชรบุรี มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ความต้องการใช้ไฟฟ้าย่อมเพิ่มขึ้นตาม กฟผ. จึงได้มีการปรับปรุงโรงไฟฟ้าใหม่ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 แล้วเสร็จและเปิดใช้ได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ทำให้ระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพดีขึ้น พร้อมรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของจังหวัด ปัจจุบันมีขนาดกำลังผลิตตามสัญญา 19 เมกะวัตต์

ลักษณะเขื่อน

เขื่อนดิน
ความจุอ่างเก็บน้ำ
710 ล้านลูกบาศก์เมตร
พื้นที่อ่างเก็บน้ำ
46.50
ตารางกิโลเมตร
ความกว้างสันเขื่อน
8 เมตร
ความยาวสันเขื่อน
760 เมตร
ความสูงจากฐานราก
58 เมตร
เขื่อนดินแห่งแรกของประเทศไทย

ลักษณะโรงไฟฟ้า

อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
19 เมกะวัตต์
ผลิตพลังงานไฟฟ้า
ได้ปีละประมาณ
70 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

ติดต่อ

Skip to content