เขื่อนสิริกิติ์

(จ.อุตรดิตถ์)

ความเป็นมา

แม่น้ำน่านเป็นแควต้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีความสำคัญรองลงมาจากแม่น้ำปิง ฉะนั้น เพื่อให้ทุ่งเจ้าพระยาได้ผลแก่การเกษตรอย่างเต็มที่ จึงจำเป็นต้องสร้างเขื่อนบนแม่น้ำนานเพื่อช่วยลดอุทกภัย และให้มีน้ำใช้ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก

          

          เขื่อนสิริกิติ์ เดิมชื่อ “เขื่อนผาซ่อม” เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2511 ปิดกั้นแม่น้ำน่าน ณ บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน ดำเนินการก่อสร้างโดยกรมชลประทาน กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการนี้เพื่อบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำน่าน และร่วมกับเขื่อนภูมิพลบรรเทาอุทกภัยในทุ่งเจ้าพระยาให้ลดน้อยลง ทำการชลประทานในลุ่มน้ำน่านในฤดูฝนได้ 1,551,000 ไร่ ในฤดูแล้งในลุ่มน้ำน่านได้ 300,000 ไร่ และในทุ่งเจ้าพระยาได้อีก 2,500,000 ไร่ รวม 2,800,000 ไร่ เมื่อได้ขุดลอกและแต่งลำแม่น้ำน่านบางตอนแล้ว จะใช้เป็นเส้นทางคมนาคมจากจังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ตลอดปี อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนเป็นแหล่งพันธุ์ปลา และสถานที่ท่องเที่ยว ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขนานนามว่า “เขื่อนสิริกิติ์” แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2515

          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนสิริกิติ์และโรงไฟฟ้าเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2520

ลักษณะเขื่อน

เขื่อนดินแกนกลางดินเหนียว
ความจุอ่างเก็บน้ำ
9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร
พื้นที่อ่างเก็บน้ำ
260 ตารางกิโลเมตร
ความกว้างสันเขื่อน
12 เมตร
ความยาวสันเขื่อน
810 เมตร
ความสูงจากฐานราก
113.60 เมตร
เขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
อ่างเก็บน้ำมีความจุมากเป็นอันดับ 3 รองจากเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนภูมิพล

ลักษณะโรงไฟฟ้า

อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
500 เมกะวัตต์
ผลิตพลังงานไฟฟ้า
ได้ปีละประมาณ
1,000 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

ติดต่อ

Skip to content