เขื่อนสิรินธร

(จ.อุบลราชธานี)

ความเป็นมา

เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากจะให้ประโยชน์ทางด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังอำนวยประโยชน์นานัปการต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคแถบนี้ทั้งทางด้านการชลประทาน การป้องกันอุทกภัย การประมง และการท่องเที่ยว นับเป็นการสงวนและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในยุคปัจจุบัน

          เขื่อนสิรินธรเดิมมีชื่อว่า “เขื่อนลำโดมน้อย” สร้างปิดกั้นแม่น้ำลำโดมน้อย สาขาของแม่น้ำมูล ที่บริเวณแก่งแซน้อย ต.นิคมลำโดมน้อย อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มก่อสร้างในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2511 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2514

          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 และได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาขนานนามเขื่อนว่า “เขื่อนสิรินธร” ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514

          ปัจจุบันเขื่อนสิรินธรได้มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลกบนพื้นที่ผิวน้ำในเขื่อน ซึ่งเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

ลักษณะเขื่อน

เขื่อนหินถม
แกนดินเหนียว
ความจุอ่างเก็บน้ำ
1,966.50 ล้านลูกบาศก์เมตร
พื้นที่อ่างเก็บน้ำ
288 ตารางกิโลเมตร
ความกว้างสันเขื่อน
7.50 เมตร
ความยาวสันเขื่อน
940 เมตร
ความสูงจากฐานราก
42 เมตร

ลักษณะโรงไฟฟ้า

อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
36 เมกะวัตต์
ผลิตพลังงานไฟฟ้า
ได้ปีละประมาณ
52 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

ติดต่อ

Skip to content