“โรงไฟฟ้าเสมือน” เทคโนโลยีใหม่ ตัวช่วยสร้างความมั่นคงพลังงาน มุ่งสู่สังคมไร้คาร์บอนที่ยั่งยืน

“โรงไฟฟ้าเสมือน” เทคโนโลยีใหม่ ตัวช่วยสร้างความมั่นคงพลังงาน มุ่งสู่สังคมไร้คาร์บอนที่ยั่งยืน           เมื่อโลกต้องการพลังงานสะอาด การเปลี่ยนผ่านจากยุคพลังงานฟอสซิลสู่ยุคพลังงานหมุนเวียนจึงต้องเร่งสปีดเต็มตัว หน้าตาของระบบไฟฟ้าไทยจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จากเดิมที่ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ไฟจากระบบหลักของการไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ได้ผันตัวมาเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง หรือ IPS (Independent Power Supply: IPS) แต่ก็ยังคงเกาะกับระบบของการไฟฟ้า เพื่อใช้ไฟในช่วงเวลาที่ไม่สามารถผลิตได้เอง ขณะเดียวกันก็ยังมีผู้ผลิตไฟฟ้าอีกประเภทที่ผลิตไฟฟ้าใช้เอง และขายไฟฟ้าส่วนเกินที่ผลิตได้กลับเข้าสู่ระบบการไฟฟ้า (Grid) หรือที่เรียกว่า โปรซูเมอร์ (Prosumer) ซึ่งยิ่งต้นทุนการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มีราคาถูกลง ยิ่งทำให้โปรซูเมอร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยกระจายตัวอยู่ทั่วไป           ไม่ใช่เพียงโปรซูเมอร์เท่านั้นที่เป็นแหล่งผลิตพลังงานที่กระจายตัวอยู่ทุกทิศทั่วประเทศ ยังมีแหล่งผลิตพลังงานที่กระจายตัวอยู่อีกมาก อย่างที่เราเองก็คาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ รวมถึงเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ และ เทคโนโลยี V2G (Vehicle-to-Grid) ที่นำพลังงานจากรถยนต์ไฟฟ้าจ่ายกำลังไฟฟ้ากลับสู่ระบบไฟฟ้า ซึ่งเราเรียกแหล่งพลังงานเหล่านี้ว่า “แหล่งพลังงานไฟฟ้าแบบกระจายตัว” (Distributed Energy Resources: DERs)  และทั้งหมดนี้ได้เปลี่ยนโฉมหน้ารูปแบบระบบไฟฟ้าไทยไปตลอดกาล โรงไฟฟ้ารูปแบบใหม่..ที่ไม่ต้องสร้างขึ้นใหม่           จะดีเพียงใดถ้าเราสามารถรวบรวมแหล่งผลิตไฟฟ้ารายเล็กรายน้อยเข้าด้วยกันเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถบริหารจัดการตอบสนองความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงได้พัฒนาแพลตฟอร์ม โรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual […]

Rapheephat Toumsaeng

6 May 2025

56 ปี กฟผ. สานต่อพลังงานไทยสู่อนาคตพลังงานสีเขียวให้เหมาะสมกับโลก มั่นคงกับระบบไฟฟ้าของคนไทย

56 ปี กฟผ. สานต่อพลังงานไทยสู่อนาคตพลังงานสีเขียว ให้เหมาะสมกับโลก มั่นคงกับระบบไฟฟ้าของคนไทย           เกินกว่าครึ่งศตวรรษ ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) องค์กรหลักของชาติด้านการผลิตและระบบส่งไฟฟ้า ได้วางรากฐานความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งพัฒนาพลังงานไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยหลักของความสมดุล ควบคู่ไปกับการดูแลชุมชน สิ่งแวดล้อม และสร้างความมั่นคงทางไฟฟ้าอย่างยั่งยืน           นับตั้งแต่กำลังผลิตเริ่มต้นเพียง 908 เมกะวัตต์ เมื่อครั้งก่อตั้งในวันที่ 1 พฤษภาคม 2512 จวบจนปัจจุบันกว่า 56 ปี ประเทศไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 52,017 เมกะวัตต์ โดยเป็นโรงไฟฟ้าของ กฟผ. 16,261 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 31.26 มีสายส่งไฟฟ้าทั่วประเทศความยาวรวมถึง 40,041 วงจร-กิโลเมตร จนกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย โดย กฟผ. มองหาจุดสมดุลระหว่างการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสมกับประเทศไทย อีกทั้งแหล่งเชื้อเพลิง และนวัตกรรมพลังงานที่จะมาช่วยเสริมความมั่นคงทางพลังงานของประเทศให้ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น  สร้างความมั่นคงทางพลังงาน เร่งเครื่องพลังงานสะอาด – นวัตกรรมพลังงาน           กฟผ. มุ่งเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon […]

Rapheephat Toumsaeng

1 May 2025

Grid Modernization “ชีเสิร์ฟ” ความมั่นคงไฟฟ้าไทย รับเทรนด์พลังงานสีเขียว

Grid Modernization “ชีเสิร์ฟ” ความมั่นคงไฟฟ้าไทย รับเทรนด์พลังงานสีเขียว           นอกจากเรื่องของกระแสความต้องการใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนที่มีมากขึ้นจากปัญหาการปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่สร้างความกังวลมากที่สุดในระดับโลกแล้ว ปัจจุบันขีดความสามารถของเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดก็มีเพิ่มมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่นโยบายพลังงานในหลายประเทศสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy: RE) เช่น ในสหภาพยุโรปที่มีแผนให้อาคารใหม่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ และจีนที่มีโครงการพลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่หลายโครงการ สำหรับนโยบายพลังงานของไทยก็ยังคงสนับสนุนในทิศทางเดียวกันเพื่อรองรับช่วงการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) โดยยึด 3 หลักสำคัญ นั่นคือ ระบบไฟฟ้ามั่นคง ราคาที่เหมาะสม และมีความยั่งยืน เพื่อร่วมผลักดันเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emissions ให้เป็นไปอย่างราบรื่น และหากมองที่ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2567-2580 หรือ ร่าง PDP 2024 จะเห็นว่า ระบบไฟฟ้าไทยจะมีสัดส่วนจากพลังงานสะอาดมากถึง 51% ในช่วงปลายแผนปี 2580 ซึ่งนับเป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างยิ่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่รับบทบาท “ชีเสิร์ฟ” (She Served) ดูแลระบบโครงข่ายไฟฟ้ายุคใหม่อย่างจัดเต็ม โดยรวบรวมเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในระบบไฟฟ้า เพื่อให้แน่ใจได้ว่าระบบโครงข่ายไฟฟ้าของไทยจะยังมีความมั่นคงเช่นเดิม พร้อมรองรับการเพิ่มขึ้นพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเราต่างรู้กันดีว่าแม้กระบวนการผลิตไฟฟ้าจาก RE […]

Rapheephat Toumsaeng

24 March 2025

การเดินทางของสายลม กว่าจะเป็นพลังงานสีเขียวเพื่ออนาคต

การเดินทางของสายลม กว่าจะเป็นพลังงานสีเขียวเพื่ออนาคต           สายลมที่พัดผ่านรอบตัวเรา จะไม่เป็นเพียงสายลมพัดเย็นให้เราคลายร้อน แต่ด้วยความพยายามของมนุษย์กำลังทำให้สายลมกลายเป็นไฟฟ้าสีเขียว แหล่งพลังงานสะอาดให้กับมวลมนุษยชาติในอนาคต           ลมเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่ไม่มีวันหมดและเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มนุษย์เราจึงคิดค้นและพัฒนากังหันลม เพื่อเปลี่ยนพลังงานจากการเคลื่อนที่ของลมให้กลายเป็นไฟฟ้า โดยใช้กังหันลม (Wind Turbine) ทำให้พลังงานที่ได้นี้เป็น “ไฟฟ้าสีเขียว” เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เส้นทางของการพัฒนากังหันลม : จากต้นแบบสู่พลังงานสะอาดแห่งอนาคต           ประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์จากลมมากว่า 40 ปีแล้ว โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ติดตั้งกังหันลม เมื่อปี พ.ศ. 2526 – 2531 โดยมีขนาด 1 กิโลวัตต์ 18.5 กิโลวัตต์ 0.85 กิโลวัตต์ และ 2 กิโลวัตต์ อย่างละ 1 ชุด เพื่อเป็นต้นแบบในการศึกษากังหันลมที่สถานีพลังงานทดแทนแหลมพรหมเทพ กฟผ. จ.ภูเก็ต ซึ่งจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2533 ถือเป็นครั้งแรกที่พลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมสามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบจำหน่ายไฟฟ้าได้ หลังจากนั้นปี พ.ศ.2535 ได้ติดตั้งกังหันลมขนาด 10 กิโลวัตต์ […]

Rapheephat Toumsaeng

17 October 2024
Skip to content