การเดินทางของสายลม กว่าจะเป็นพลังงานสีเขียวเพื่ออนาคต

การเดินทางของสายลม กว่าจะเป็นพลังงานสีเขียวเพื่ออนาคต           สายลมที่พัดผ่านรอบตัวเรา จะไม่เป็นเพียงสายลมพัดเย็นให้เราคลายร้อน แต่ด้วยความพยายามของมนุษย์กำลังทำให้สายลมกลายเป็นไฟฟ้าสีเขียว แหล่งพลังงานสะอาดให้กับมวลมนุษยชาติในอนาคต           ลมเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่ไม่มีวันหมดและเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มนุษย์เราจึงคิดค้นและพัฒนากังหันลม เพื่อเปลี่ยนพลังงานจากการเคลื่อนที่ของลมให้กลายเป็นไฟฟ้า โดยใช้กังหันลม (Wind Turbine) ทำให้พลังงานที่ได้นี้เป็น “ไฟฟ้าสีเขียว” เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เส้นทางของการพัฒนากังหันลม : จากต้นแบบสู่พลังงานสะอาดแห่งอนาคต           ประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์จากลมมากว่า 40 ปีแล้ว โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ติดตั้งกังหันลม เมื่อปี พ.ศ. 2526 – 2531 โดยมีขนาด 1 กิโลวัตต์ 18.5 กิโลวัตต์ 0.85 กิโลวัตต์ และ 2 กิโลวัตต์ อย่างละ 1 ชุด เพื่อเป็นต้นแบบในการศึกษากังหันลมที่สถานีพลังงานทดแทนแหลมพรหมเทพ กฟผ. จ.ภูเก็ต ซึ่งจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2533 ถือเป็นครั้งแรกที่พลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมสามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบจำหน่ายไฟฟ้าได้ หลังจากนั้นปี พ.ศ.2535 ได้ติดตั้งกังหันลมขนาด 10 กิโลวัตต์ […]

Rapheephat Toumsaeng

17 October 2024

“ระบบกักเก็บพลังงาน” กุญแจปลดล็อคสู่ความมั่นคงของพลังงานแห่งอนาคต

“ระบบกักเก็บพลังงาน” กุญแจปลดล็อคสู่ความมั่นคงของพลังงานแห่งอนาคต          ปฏิเสธไม่ได้ว่า “พลังงานหมุนเวียน” (Renewable Energy) เป็นพลังงานแห่งอนาคตที่ทั่วโลกล้วนหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถพึ่งพาได้อย่างมั่นคง แต่ด้วยปัจจุบัน ไฟฟ้าที่ได้จากการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน อย่าง แสงอาทิตย์ ลม ยังมีความผันผวน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละช่วงเวลาที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้ “ระบบกักเก็บพลังงาน” (Energy Storage System) จึงถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยในการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา ให้สามารถสั่งจ่ายไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยลดความผันผวนของกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนให้มีความเสถียรมากขึ้น และยังเปรียบเสมือน Power Bank พลังงานสำรอง เข้าเสริมระบบเมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น          การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ทั้งการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานระหว่างพลังงานหมุนเวียนกับเชื้อเพลิงฟอสซิล การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน ตลอดจนการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย (Grid Modernization) เพื่อให้สามารถนำพลังงานหมุนเวียนมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบผลิตไฟฟ้าในภาพรวม รวมถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านพลังงานมาบูรณาการให้สอดรับกับทิศทางการพัฒนาด้านพลังงานของโลกในอนาคต          กฟผ. จึงมุ่งพัฒนา และสรรหานวัตกรรมกักเก็บพลังงานที่เหมาะสม เพื่อสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าไทย ดังนี้     […]

Rapheephat Toumsaeng

2 January 2020
Skip to content