เจาะวงเสวนาสายกรีน ส่องนวัตกรรมกู้วิกฤตโลกรวน

เจาะวงเสวนาสายกรีน ส่องนวัตกรรมกู้วิกฤตโลกรวน           “ภาวะโลกรวน” ถือเป็นวิกฤตของโลกที่ส่งสัญญาณอันทรงพลังต่อมวลมนุษยชาติถึงความไม่จริงจังต่อการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีปริมาณสูงขึ้น จนนำมาสู่ความแปรปรวนของสภาพอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตบนโลกที่สูญเสียสมดุล ทำให้หลายประเทศหันกลับมาตระหนักว่า เราไม่สามารถปล่อยให้สิ่งแวดล้อมถูกทำลายไปมากกว่านี้จนไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ และนำมาสู่ความพยายามเดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำในเวทีโลก           การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงจัดเวทีเสวนาร่วมกับกูรูสิ่งแวดล้อมในสาขาต่าง ๆ เพื่อร่วมแบ่งปันทิศทางการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศและแนวคิดนวัตกรรมสีเขียวที่จะมาช่วยกู้วิกฤตโลกรวนให้ดีขึ้น ในหัวข้อ “นวัตกรรมช่วยลดโลกรวน #รวมพลังเพื่อลมหายใจแห่งอนาคต”           ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของไทย เปิดเผยว่า จากการดำเนินโครงการตรวจวัดคุณภาพอากาศในโครงการ Sensor for All ที่ดำเนินโครงการโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและภาคีเครือข่าย ชี้ให้เห็นว่านอกจากเรื่องของฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 แล้ว ยังควรเดินหน้าต่อยอดในเรื่องของมลพิษที่เป็นแก๊สซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยการนำข้อมูลสิ่งแวดล้อมที่เก็บรวบรวมผ่านเซนเซอร์เป็น Big Data มาวิเคราะห์ประมวลผล เพื่อช่วยในการตัดสินใจและเลือกว่าคนไทยจะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไร รวมไปถึงการกำหนดนโยบายเพื่อสร้างความยั่งยืนตามแนวยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นอกจากนี้ข้อมูลดังกล่าวยังเป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่า เราคือเจ้าของปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของคนไทยทุกคน           สำหรับหัวใจสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศและและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศคือ การเชื่อมโยงข้อมูลและบูรณาการข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ควบคู่กับการนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตโลกรวนใน […]

Rapheephat Toumsaeng

7 October 2021
Skip to content