เมื่อโลกเปลี่ยน พลังงานต้องปรับ ประเทศไทยจะรับมืออย่างไร

เมื่อโลกเปลี่ยน พลังงานต้องปรับ ประเทศไทยจะรับมืออย่างไร           ไฟฟ้าพลังงานสะอาด.. ราคาเหมาะสม.. มีความมั่นคง.. คือ 3 ปัจจัยหลักที่เป็นโจทย์สำคัญของไฟฟ้าไทย และไม่ง่ายที่จะทำให้เกิดความสมดุลได้ในเวลาเดียวกัน แต่เพื่อให้ประเทศก้าวสู่เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2567-2580 หรือ ร่าง PDP 2024 จึงกำหนดให้ในปี 2080 มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดมากถึง 51% นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ในฐานะผู้ดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ เพราะเราต่างรู้กันดีว่าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy: RE) แม้เป็นพลังงานสะอาดไม่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า มีต้นทุนไม่สูง แต่ก็มีความผันผวนไม่แน่นอน และไม่สามารถใช้เป็นพลังงานหลักเพียงอย่างเดียวได้ หากโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล จากที่เคยเป็นตัวยืนเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเป็นหลักต้องลดสัดส่วนลง ก็ยากที่จะการันตีว่าระบบไฟฟ้าของประเทศจะมีความมั่นคงได้ตลอดทุกช่วงเวลา Grid Modernization ระบบไฟฟ้ารูปแบบใหม่ รับมือความผันผวน สร้างความมั่นคงทางพลังงาน            เมื่อพลังงานหมุนเวียนเข้ามามีบทบาทในระบบผลิตไฟฟ้ามากกว่าครึ่ง นิยามของระบบไฟฟ้าที่มั่นคงจึงไม่ได้มีเพียงเชื้อเพลิงที่เพียงพอ โรงไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้าที่พร้อมส่งจ่ายพลังงานอีกต่อไป แต่จะต้องมีเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้ามาเป็นผู้เล่นเพิ่มเติมอีกมากมาย เพื่อช่วยสนับสนุนให้ระบบไฟฟ้าสามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้อย่างเพียงพอทุกวินาที รูปแบบของระบบไฟฟ้าในอนาคตจะปรับเปลี่ยนไปเป็น Grid Modernization โดยมีระบบบริหารจัดการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาบริหารจัดการ […]

Rapheephat Toumsaeng

25 September 2024

“แบตเตอรี่พลังน้ำ” เติมเต็มความอุ่นใจ ทันใจ มั่นใจ สู่ความมั่นคงพลังงาน

“แบตเตอรี่พลังน้ำ” เติมเต็มความอุ่นใจ ทันใจ มั่นใจ สู่ความมั่นคงพลังงาน           อีกหนึ่งความท้าทายในการก้าวข้ามขีดจำกัดของพลังงานหมุนเวียนที่กำลังมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในระบบไฟฟ้าตามเทรนด์พลังงานโลก เพื่อเดินหน้าประเทศสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนนั่น คือ การสร้างความมั่นคงทางพลังงาน บนความผันผวน ไม่แน่นอนของพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy : RE) ระบบกักเก็บพลังงาน จึงนับเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนให้มีเสถียรภาพมากขึ้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงได้พัฒนาระบบกักเก็บพลังงานในรูปแบบ “โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped-Storage)” มาทำหน้าที่สำรองพลังงานเสริมให้กับระบบไฟฟ้าในช่วงที่พลังงานหมุนเวียนไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคง ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในทุกช่วงเวลา ‘อุ่นใจ’ แบตเตอรี่พลังน้ำ ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม           โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ เป็นไฟฟ้าสะอาดจากพลังน้ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยถูกที่สุดเมื่อเทียบกับระบบกักเก็บพลังงานรูปแบบอื่นๆ ผลิตไฟฟ้าด้วยหลักการเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั่วไป โดยจะปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำส่วนบน เพื่อหมุนกังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตพลังงานไฟฟ้าเมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง น้ำที่ปล่อยออกมาจะถูกกักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำส่วนล่าง เพื่อสูบน้ำกลับขึ้นไปเก็บไว้ที่อ่างเก็บน้ำส่วนบน สำหรับใช้ในการผลิตไฟฟ้าต่อไป โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ จึงเปรียบเสมือนแบตเตอรี่พลังน้ำขนาดใหญ่ ที่สามารถนำน้ำมาผลิตไฟฟ้าได้อย่างไม่มีวันหมด โดยไม่ส่งผลกระทบกับการใช้น้ำของประชาชน ‘ทันใจ’ สร้างความมั่นคง RE ได้ทัน เสิร์ฟไฟฟ้าได้เร็ว           นอกจากจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำแล้ว ยังสามารถเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาไม่ เกิน 15 นาที ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าทดแทนพลังงานหมุนเวียน ในเวลาที่แดดไม่มี ลมไม่พัด […]

Rapheephat Toumsaeng

31 July 2024

“ระบบกักเก็บพลังงาน” กุญแจปลดล็อคสู่ความมั่นคงของพลังงานแห่งอนาคต

“ระบบกักเก็บพลังงาน” กุญแจปลดล็อคสู่ความมั่นคงของพลังงานแห่งอนาคต          ปฏิเสธไม่ได้ว่า “พลังงานหมุนเวียน” (Renewable Energy) เป็นพลังงานแห่งอนาคตที่ทั่วโลกล้วนหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถพึ่งพาได้อย่างมั่นคง แต่ด้วยปัจจุบัน ไฟฟ้าที่ได้จากการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน อย่าง แสงอาทิตย์ ลม ยังมีความผันผวน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละช่วงเวลาที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้ “ระบบกักเก็บพลังงาน” (Energy Storage System) จึงถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยในการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา ให้สามารถสั่งจ่ายไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยลดความผันผวนของกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนให้มีความเสถียรมากขึ้น และยังเปรียบเสมือน Power Bank พลังงานสำรอง เข้าเสริมระบบเมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น          การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ทั้งการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานระหว่างพลังงานหมุนเวียนกับเชื้อเพลิงฟอสซิล การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน ตลอดจนการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย (Grid Modernization) เพื่อให้สามารถนำพลังงานหมุนเวียนมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบผลิตไฟฟ้าในภาพรวม รวมถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านพลังงานมาบูรณาการให้สอดรับกับทิศทางการพัฒนาด้านพลังงานของโลกในอนาคต          กฟผ. จึงมุ่งพัฒนา และสรรหานวัตกรรมกักเก็บพลังงานที่เหมาะสม เพื่อสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าไทย ดังนี้     […]

Rapheephat Toumsaeng

2 January 2020
Skip to content