วิมานเสา (ส่งไฟฟ้า) ยืนหยัดความมั่นคงระบบไฟฟ้า

วิมานเสา (ส่งไฟฟ้า) ยืนหยัดความมั่นคงระบบไฟฟ้า           เชื่อว่าทุกคนต้องเคยสังเกตเห็นเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งเป็นเสาส่งไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ทอดยาวไปทุกทิศทั่วประเทศไทย ด้วยระยะทางรวมกว่า 39,000 วงจร-กิโลเมตร เปรียบดั่งเป็นวิมานของเหล่าเสาส่งไฟฟ้าที่กระจายอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทำหน้าที่สำคัญในการส่งจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า นำพาความสุข ความสว่างไสวให้ทุกคนมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง การออกแบบและติดตั้งเสาส่งไฟฟ้าแต่ละต้นจึงต้องคำนึงถึงความแข็งแรงทนทานต่อทุกสภาพอากาศ เพื่อให้ความสุขของคนไทยไม่มีวันสะดุด พร้อมดูแลความมั่นคงไฟฟ้าได้อย่างมั่นคงและเชื่อถือได้           ด้วยระดับความสูงของเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงที่มีความสูงตั้งแต่ 32 เมตรขึ้นไป โอกาสที่เสาส่งจะปะทะกับแรงลมย่อมมีมากตามไปด้วย โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนที่มีพายุฝน ลมกรรโชกแรงพัดผ่านอยู่เสมอ การออกแบบเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงจึงต้องกำหนดขนาดโครงสร้างของเสาและฐานราก ระยะห่างระหว่างเสา ตลอดจนอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเสาส่งให้ได้มาตรฐานทางวิศวกรรม โดยเน้นความแข็งแรงทนทานและปลอดภัยเป็นหลักโดยเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. สามารถรองรับความเร็วลมที่กระทำต่อเสาส่งได้ในระดับพายุไต้ฝุ่น หรือเทียบเท่าความเร็วลมกว่า 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงมั่นใจได้ว่าระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. สามารถรองรับความแปรปรวนทุกสภาพอากาศที่มีโอกาสเกิดขึ้นในประเทศไทยได้อย่างแน่นอน           หรือแม้แต่การเกิดฟ้าผ่าซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และแน่นอนว่ามักจะผ่าลงวัตถุที่มีความสูง กฟผ. ได้นำสถิติจำนวนวันการเกิดฟ้าผ่า (Thunderstorm Day) ทั่วประเทศ มาใช้ประกอบการออกแบบระบบป้องกันฟ้าผ่าเสาส่งไฟฟ้าด้วย โดยเสาส่งไฟฟ้าทุกต้นจะมีการติดตั้งสายดิน (Overhead Ground Wire) หรือที่เรารู้จักในชื่อ “สายล่อฟ้า” ไว้ด้านบนสุดของเสาส่ง และกำหนดมุมป้องกันฟ้าผ่า (Protection Angle) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟ้าผ่าลงสายตัวนำไฟฟ้าได้โดยตรง รวมทั้งออกแบบระบบรากสายดิน (Grounding System) […]

Rapheephat Toumsaeng

5 September 2024

6 คำถาม : เจาะลึก เรื่อง(ไม่)ลับ กับ “ไฟฟ้าแรงสูงงงงง”

6 คำถาม : เจาะลึก เรื่อง(ไม่)ลับ กับ “ไฟฟ้าแรงสูงงงงง” เมื่อพูดถึงคำว่า “ไฟฟ้าแรงสูง” หลายคนอาจจะรู้สึกไกลตัว แต่จริง ๆ แล้ว 24 ชั่วโมงของแต่ละวัน ไฟฟ้าที่เราใช้ได้ผ่านระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงมาแล้วทั้งนั้น เพราะสายส่งไฟฟ้าแรงสูง เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของแหล่งพลังงาน ที่ส่งจ่ายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าทุกทิศทั่วไทย คำถาม # 1 : ไฟฟ้า มาถึงบ้านของทุกคนได้อย่างไร? คำตอบ คือ กระแสไฟฟ้าแรงดันสูงนับแสนโวลต์จะวิ่งระยะทางไกล จากแหล่งผลิตไฟฟ้าผ่านสายส่งไฟฟ้าแรงสูง และผ่านหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าที่สถานีไฟฟ้าแรงสูง ไปยังสายส่งไฟฟ้าที่แรงดันต่ำลง ของการไฟฟ้านครหลวง หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ก่อนที่จะลดแรงดันเหลือ 220 โวลต์วิ่งเข้าสู่บ้านเรา คำถาม # 2 : ทำไมต้องส่งไฟฟ้าแรงดันสูงมาในตอนแรก ทำไมไม่ส่งแรงดันต่ำมาเลยจะได้ไม่ต้องผ่านหม้อแปลงแรงดัน? คำตอบ คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงจะสามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปได้ในระยะทางที่ไกล และมีการสูญเสียทางไฟฟ้าต่ำกว่าระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าต่ำ ซึ่งแหล่งผลิตไฟฟ้าหลักๆของประเทศกระจายกันอยู่ตามภาคต่างๆ ซึ่งมีระยะทางไกลเป็นหลายร้อยกิโลเมตร ดังนั้นเสาและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง จึงจำเป็นต้องอยู่ในสภาพดีอยู่ตลอดเวลา คำถาม # 3 : […]

EGAT

7 March 2023
Skip to content