กฟผ. – ภูฏาน ต่อยอดความร่วมมือด้านพลังงานสะอาด เดินหน้าสู่ความมั่นคงและยั่งยืนระดับภูมิภาค

กฟผ. – ภูฏาน ต่อยอดความร่วมมือด้านพลังงานสะอาด เดินหน้าสู่ความมั่นคงและยั่งยืนระดับภูมิภาค          กฟผ. กับภูฏานตอกย้ำความร่วมมือการพัฒนาพลังงานสะอาดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านพลังงานอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี พร้อมขยายความร่วมมือในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน          นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านพลังงานระหว่าง กฟผ. และภูฏาน ซึ่งนำโดย ฯพณฯ เก็ม เชอริ่ง (H.E. Lyonpo Gem Tshering) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติราชอาณาจักรภูฏาน พร้อมด้วยดาโช ชว๊อง รินจิน (Dasho Chhewang Rinzin) กรรมการผู้จัดการ Druk Green Power Corporation Limited (DGPC) และนายโซนัม ท็อปเจ (Mr. Sonam Tobjey) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Bhutan Power […]

Sukarnya

28 June 2025

พลังงานสะอาด จุดเปลี่ยนสู่อนาคตเพื่อความยั่งยืน

พลังงานสะอาด จุดเปลี่ยนสู่อนาคตเพื่อความยั่งยืน           ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โลกได้เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอย่างรุนแรง หนึ่งในต้นเหตุสำคัญเป็นผลจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พลังงานหมุนเวียนจึงกลายเป็นคำตอบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ยืนหยัด เดินหน้าพัฒนาการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนจากแหล่งพลังงานหลายชนิด ซึ่งล้วนแต่มีความโดดเด่นเฉพาะตัวที่ช่วยเสริมศักยภาพและความมั่นคงด้านพลังงาน พร้อมตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม   ‘พลังงานแสงอาทิตย์’ จากแสงแดดสู่แสงไฟ           หนึ่งในพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพสูง ด้วยทำเลที่ตั้งของประเทศไทยซึ่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้แสงอาทิตย์หรือแสงแดดเป็นพลังงานที่หาได้ง่ายและมีตลอดทั้งปี กฟผ. จึงได้พัฒนา โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่ศักยภาพที่มีความเข้มของแสงเหมาะสม รวมไปถึงพื้นที่ห่างไกลที่ไม่สามารถขยายระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงเข้าไปได้           โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ ที่ติดตั้งบนผิวน้ำของอ่างเก็บน้ำในเขื่อน ช่วยลดการใช้พื้นที่บนบก เป็นการใช้พื้นที่ผิวน้ำและสินทรัพย์ระบบส่งไฟฟ้าของเขื่อนที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันมีโครงการที่เดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว 2 แห่ง คือ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่่นลอยน้ำฯ เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น พร้อมเตรียมพัฒนาโครงการเพิ่มเติมในพื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ จ. กาญจนบุรี รวมถึงเขื่อนภูมิพล  จ.ตาก ตามร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับใหม่ ที่กำหนดให้พัฒนาโครงการฯในพื้นที่เขื่อนของ กฟผ. ทั่วประเทศ กำลังผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ ‘พลังงานน้ำ’ สายน้ำแห่งชีวิต เสริมพลังงานมั่นคง           อีกหนึ่งแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญ ด้วยคุณสมบัติที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้อย่างรวดเร็ว  มีความเสถียรสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง […]

Rapheephat Toumsaeng

27 June 2025

กฟผ. ขับเคลื่อนพลังงานสะอาด เปิดขายซองประกวดราคาโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกระเสียวและเขื่อนห้วยแม่ท้อ วันนี้ – 14 ก.ค. 68

กฟผ. ขับเคลื่อนพลังงานสะอาด เปิดขายซองประกวดราคาโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกระเสียวและเขื่อนห้วยแม่ท้อ วันนี้ – 14 ก.ค. 68          กฟผ. เดินหน้าพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด เปิดขายเอกสารประกวดราคาโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกระเสียว และโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนห้วยแม่ท้อ ตั้งแต่วันนี้ – 14 ก.ค. 68 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนพลังงานสะอาดของประเทศ          นายทิเดช เอี่ยมสาย รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ. มีแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทานเขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี ขนาดกำลังผลิต 1.5 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนห้วยแม่ท้อ จ.ตาก ขนาดกำลังผลิต 1.25 เมกะวัตต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050          ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถซื้อเอกสารประกวดราคาได้ตั้งแต่วันนี้ […]

Sukarnya

23 June 2025

กฟผ. – สวีเดน เร่งเดินหน้าพลังงานสีเขียว จัดงาน Pioneer the Possible Thailand 2025 เพื่ออนาคตพลังงานสะอาดที่ยั่งยืน

กฟผ. – สวีเดน เร่งเดินหน้าพลังงานสีเขียว จัดงาน Pioneer the Possible Thailand 2025 เพื่ออนาคตพลังงานสะอาดที่ยั่งยืน          กฟผ. ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสวีเดนและภาคเอกชนสวีเดน ขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสะอาด จัดงาน “Pioneer the Possible Thailand 2025” แลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือด้านพลังงานสีเขียวสู่ความยั่งยืน          เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2568 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย และ The Swedish Trade & Invest Council (Business Sweden) จัดงาน Pioneer the Possible Thailand 2025 เพื่อขยายความร่วมมือด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานสีเขียว โดยมีนายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ […]

Sukarnya

21 May 2025

กฟผ. ชู ‘Grid Modernization’ และเทคโนโลยีพลังงานสะอาดขับเคลื่อนความมั่นคงด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม บนเวทีคนรุ่นใหม่

กฟผ. ชู ‘Grid Modernization’ และเทคโนโลยีพลังงานสะอาดขับเคลื่อนความมั่นคงด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม บนเวทีคนรุ่นใหม่          กฟผ. ร่วมเวที Young Change World Change คนรุ่นใหม่เปลี่ยนโลก ชู ‘Grid Modernization’ รับมือความผันผวนพลังงานหมุนเวียน พร้อมแสวงหาพลังงานทางเลือก ทั้ง SMR และไฮโดรเจน ตอบโจทย์สร้างความมั่นคงในช่วงเปลี่ยนผ่าน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero Emission          นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองการปรับตัวในภาวะวิกฤตโลกเดือดกับทิศทางพลังงานยั่งยืน ในหัวข้อ “เทคโนโลยี นวัตกรรมด้านพลังงานกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และบทบาทภารกิจของ กกพ.” ในกิจกรรม Kick-off “Young Change World Change” for Net Zero Emission ภายในงานแถลงข่าวโครงการ […]

Sukarnya

26 March 2025

ไร้ขีดจำกัด! SMR พลิกโฉมพลังงาน สู่โลกที่ยั่งยืน

ไร้ขีดจำกัด! SMR พลิกโฉมพลังงาน สู่โลกที่ยั่งยืน           ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงหันมาพึ่งพาพลังงานหมุนเวียน  เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน แต่ด้วยข้อจำกัดในการผลิตไฟฟ้าที่มีความไม่แน่นอน และยังต้องพึ่งพาระบบกักเก็บพลังงาน ทำให้โรงไฟฟ้า Small Modular Reactor หรือ SMR  กลายเป็นดาวเด่นของเทคโนโลยีด้านพลังงานที่ถูกจับตามองว่ามีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงอนาคต เพราะไม่เพียงแค่เป็นพลังงานสะอาด แต่ยังสามารถสร้างความมั่นคงทางพลังงานได้ และนี่อาจเป็นกุญแจสำคัญในการเดินหน้าสู่พลังงานสะอาดที่ยั่งยืนให้กับโลก โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด SMR ผลิตไฟฟ้าต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง           SMR เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กขนาดกำลังผลิตไม่เกิน 300 เมกะวัตต์ ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ในปริมาณมากและต่อเนื่องเช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าฟอสซิลอย่างก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน และด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทำให้ SMR ได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์พลังงานยุคใหม่อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการรวมอุปกรณ์หลักที่สำคัญๆ ให้อยู่ในรูปของโมดูล (Module) ทำให้ลดความซับซ้อนของระบบ ที่สำคัญยังผลิตและประกอบเบ็ดเสร็จจากโรงงานผู้ผลิต ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพการผลิตของอุปกรณ์ได้ง่าย ขนย้ายสะดวก ช่วยลดระยะเวลาการก่อสร้าง ส่งผลให้ต้นทุนค่าก่อสร้างต่ำกว่าเดิม นอกจากความเสถียรของระบบแล้ว ในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยยังถูกยกระดับให้สูงขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถหยุดการทำงานได้เองเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน มีระบบหล่อเย็นภายในตัวที่สามารถระบายความร้อนได้อัตโนมัติโดยใช้หลักการธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้า จึงมีความปลอดภัยมากขึ้น ความท้าทายในการพัฒนา SMR สู่พลังงานสะอาดที่ยั่งยืน           ไม่เพียงการผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง ยังเป็นโรงไฟฟ้าหลักให้กับระบบไฟฟ้า ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าของ […]

Rapheephat Toumsaeng

27 February 2025

กฟผ. ร่วมประชุมนานาชาติพลังงานสะอาด SMR

กฟผ. ร่วมประชุมนานาชาติพลังงานสะอาด SMR          นายทิเดช เอี่ยมสาย รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน (รวพ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าร่วมการประชุม International Conference on Small Modular Reactors and their Applications 2024 ซึ่งทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency : IAEA) จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อประเมินความก้าวหน้าและหารือเกี่ยวกับโอกาส ความท้าทาย และปัจจัยเอื้ออำนวยในการผลักดันการพัฒนาและการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก Small Modular Reactors (SMRs) อย่างปลอดภัยและมั่นคง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 2,400 คน จาก 95 ประเทศทั่วโลก เมื่อวันที่ 21 – 25 ตุลาคม 2567 ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย   […]

Sukarnya

4 November 2024

การเดินทางของสายลม กว่าจะเป็นพลังงานสีเขียวเพื่ออนาคต

การเดินทางของสายลม กว่าจะเป็นพลังงานสีเขียวเพื่ออนาคต           สายลมที่พัดผ่านรอบตัวเรา จะไม่เป็นเพียงสายลมพัดเย็นให้เราคลายร้อน แต่ด้วยความพยายามของมนุษย์กำลังทำให้สายลมกลายเป็นไฟฟ้าสีเขียว แหล่งพลังงานสะอาดให้กับมวลมนุษยชาติในอนาคต           ลมเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่ไม่มีวันหมดและเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มนุษย์เราจึงคิดค้นและพัฒนากังหันลม เพื่อเปลี่ยนพลังงานจากการเคลื่อนที่ของลมให้กลายเป็นไฟฟ้า โดยใช้กังหันลม (Wind Turbine) ทำให้พลังงานที่ได้นี้เป็น “ไฟฟ้าสีเขียว” เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เส้นทางของการพัฒนากังหันลม : จากต้นแบบสู่พลังงานสะอาดแห่งอนาคต           ประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์จากลมมากว่า 40 ปีแล้ว โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ติดตั้งกังหันลม เมื่อปี พ.ศ. 2526 – 2531 โดยมีขนาด 1 กิโลวัตต์ 18.5 กิโลวัตต์ 0.85 กิโลวัตต์ และ 2 กิโลวัตต์ อย่างละ 1 ชุด เพื่อเป็นต้นแบบในการศึกษากังหันลมที่สถานีพลังงานทดแทนแหลมพรหมเทพ กฟผ. จ.ภูเก็ต ซึ่งจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2533 ถือเป็นครั้งแรกที่พลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมสามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบจำหน่ายไฟฟ้าได้ หลังจากนั้นปี พ.ศ.2535 ได้ติดตั้งกังหันลมขนาด 10 กิโลวัตต์ […]

Rapheephat Toumsaeng

17 October 2024

Hello Social ตอน เยือนเขาเขียว เที่ยวแบบกรีน แวะฟินกับหมูเด้ง

Hello Social ตอน เยือนเขาเขียว เที่ยวแบบกรีน แวะฟินกับหมูเด้ง เยือนเขาเขียว เที่ยวแบบกรีนแวะฟินกับหมูเด้ง สวนสัตว์เปิด “เขาเขียว”ไม่ได้เขียวแค่เขา แต่มีเรากับพลังงานสะอาด และ “หมูเด้ง” มาเยือนสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เที่ยวแบบกรีน แวะฟินกับหมูเด้ง  สวนสัตว์เปิดเขาเขียว นอกจากชื่อที่เขียวแล้ว ยังได้ชื่อว่าเป็น Green Zoo สวนสัตว์สีเขียวยั่งยืน ด้วยโมเดลต้นแบบการบริหารจัดการพลังงานครบวงจร ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อสส.) ที่มุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ของประเทศ ด้วยการส่งเสริมรักษา และให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อสส.) มีวิสัยทัศน์ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ อนุรักษ์สัตว์ และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีมาตรฐาน ทันสมัย ชั้นนำในอาเซียน รวมไปถึงการพัฒนาสถานที่ ระบบโลจิสติกส์ ระบบยานยนต์ไฟฟ้า และพลังงาน ให้เป็นโมเดลแก่ผู้ที่สนใจ และนำ  “EGAT Smart Energy Solutions” ของ กฟผ. เข้ามาพัฒนา เริ่มที่สวนสัตว์เชียงใหม่ พร้อมขยายไปยังสวนสัตว์อื่น ๆ ได้แก่ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์ขอนแก่น สวนสัตว์อุบลราชธานี […]

Rapheephat Toumsaeng

26 September 2024

TOKAMAK เทคโนโลยีฟิวชัน ประตูสู่พลังงานสะอาดโลกอนาคต

TOKAMAK เทคโนโลยีฟิวชัน ประตูสู่พลังงานสะอาดโลกอนาคต           วันนี้ทุกองค์กรทั่วโลกต่างกำลังมุ่งมั่นสู่เป้าหมายสากลที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2573 ในด้านพลังงานก็เร่งหาพลังงานสะอาดที่ตอบโจทย์ทั้งการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นพลังงานที่มีใช้ได้อย่างยั่งยืนให้กับมวลมนุษยชาติ หนึ่งในเทคโนโลยีพลังงานที่มีศักยภาพและกำลังเป็นที่จับตามองว่า อาจจะเป็นหนทางสร้างพลังงานสะอาดจำนวนมหาศาลในโลกอนาคตที่เรากำลังรอคอยกันอยู่ก็ได้ นั่นคือ เทคโนโลยีฟิวชัน ด้วย “TOKAMAK : โทคาแมค” โทคาแมค (Tokamak) ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ฝีมือมนุษย์           โทคาแมคเป็นเครื่องจำลองปฏิกิริยาฟิวชันซึ่งเลียนแบบการทำงานของดวงอาทิตย์ โดยเป็นการจำลองการรวมกันของนิวเคลียสของธาตุที่มีน้ำหนักเบา อย่างดิวทีเรียม (Deuterium) และทริเทียม (Tritium) ภายใต้แรงดันและอุณหภูมิที่สูงมาก ที่ใจกลางดวงอาทิตย์มีความกดดันจากแรงโน้มถ่วงมหาศาลทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชันได้ที่อุณหภูมิสูงในระดับ 10 ล้านองศาเซลเซียส แต่บนโลกมีความดันต่ำกว่ามาก การทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชันต้องใช้อุณหภูมิที่สูงกว่า 100 ล้านองศาเซลเซียส จึงจะเกิดปฏิกิริยาฟิวชันและปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา ซึ่งพลังงานฟิวชันนี้เป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หลายประเทศทั่วโลกจึงร่วมมือกันพัฒนาเพื่อเป็นพลังงานสะอาดให้กับโลกในอนาคต ความท้าทายของเทคโนโลยีฟิวชัน           ปฏิกิริยาฟิวชันที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างเลียนแบบได้ โดยนักวิจัยต้องสร้างเงื่อนไขของการเกิดดวงอาทิตย์บนโลกและควบคุมพลังงานพลาสมาให้ได้ตลอดเวลา บรรดาประเทศมหาอำนาจได้เริ่มศึกษาเทคโนโลยีนี้มาแล้วไม่ต่ำกว่า 60 ปี แต่ก็ยังไม่มีประเทศไหนในโลกที่สามารถสร้างพลาสมาและควบคุมการเกิดฟิวชันได้อย่างมีเสถียรภาพ ระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดที่ทำได้ คือ 1,056 วินาที โดยใช้เตาปฏิกรณ์ EAST สาธารณรัฐประชาชนจีน Thailand Tokamak I : TT-1 […]

Rapheephat Toumsaeng

18 September 2024
1 2 3
Skip to content