เมื่อโลกเปลี่ยน พลังงานต้องปรับ ประเทศไทยจะรับมืออย่างไร

เมื่อโลกเปลี่ยน พลังงานต้องปรับ ประเทศไทยจะรับมืออย่างไร           ไฟฟ้าพลังงานสะอาด.. ราคาเหมาะสม.. มีความมั่นคง.. คือ 3 ปัจจัยหลักที่เป็นโจทย์สำคัญของไฟฟ้าไทย และไม่ง่ายที่จะทำให้เกิดความสมดุลได้ในเวลาเดียวกัน แต่เพื่อให้ประเทศก้าวสู่เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2567-2580 หรือ ร่าง PDP 2024 จึงกำหนดให้ในปี 2080 มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดมากถึง 51% นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ในฐานะผู้ดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ เพราะเราต่างรู้กันดีว่าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy: RE) แม้เป็นพลังงานสะอาดไม่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า มีต้นทุนไม่สูง แต่ก็มีความผันผวนไม่แน่นอน และไม่สามารถใช้เป็นพลังงานหลักเพียงอย่างเดียวได้ หากโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล จากที่เคยเป็นตัวยืนเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเป็นหลักต้องลดสัดส่วนลง ก็ยากที่จะการันตีว่าระบบไฟฟ้าของประเทศจะมีความมั่นคงได้ตลอดทุกช่วงเวลา Grid Modernization ระบบไฟฟ้ารูปแบบใหม่ รับมือความผันผวน สร้างความมั่นคงทางพลังงาน            เมื่อพลังงานหมุนเวียนเข้ามามีบทบาทในระบบผลิตไฟฟ้ามากกว่าครึ่ง นิยามของระบบไฟฟ้าที่มั่นคงจึงไม่ได้มีเพียงเชื้อเพลิงที่เพียงพอ โรงไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้าที่พร้อมส่งจ่ายพลังงานอีกต่อไป แต่จะต้องมีเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้ามาเป็นผู้เล่นเพิ่มเติมอีกมากมาย เพื่อช่วยสนับสนุนให้ระบบไฟฟ้าสามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้อย่างเพียงพอทุกวินาที รูปแบบของระบบไฟฟ้าในอนาคตจะปรับเปลี่ยนไปเป็น Grid Modernization โดยมีระบบบริหารจัดการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาบริหารจัดการ […]

Rapheephat Toumsaeng

25 September 2024

Unseen EGAT by ENGY ตอน ESS แหล่งพลังงานเสริมทัพ สร้างเสถียรภาพพลังงานหมุนเวียน

Unseen EGAT by ENGY ตอน ESS แหล่งพลังงานเสริมทัพ สร้างเสถียรภาพพลังงานหมุนเวียน           เมื่อประชาคมโลกวางเป้าหมายร่วมกันที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกไม่ให้เลวร้ายมากไปกว่านี้ พลังงานหมุนเวียนจึงเป็นตัวเลือกแรกๆที่หลายประเทศให้ความสนใจ ไม่เพียงเป็นพลังงานสะอาดช่วยลดโลกร้อน แต่ยังเป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำเพราะเป็นพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ ซ้ำยังมีหมุนเวียนให้ใช้อย่างไม่มีวันหมด แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องไม่ลืมก็คือ พลังงานหมุนเวียนไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงได้พัฒนา“ระบบกักเก็บพลังงาน”(Energy Storage System: ESS) เพื่อเป็นตัวช่วยในยามที่แดดไม่มี ลมไม่พัด วันนี้ Unseen EGAT by ENGY จะขอพาทุกท่านไปเจาะลึก ESS แหล่งพลังงานที่มาช่วยเสริมทัพสร้างเสถียรภาพให้กับพลังงานหมุนเวียน กันครับ ‘BESS’ แบตเตอรี่จ่ายไฟเร็ว ยืดหยุ่นสูง รักษาความมั่นคงระบบไฟฟ้า           ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System : BESS)  ทำหน้าที่เก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจากระบบส่ง เพื่อนำมาจ่ายในช่วงเวลาที่ต้องการ มีจุดเด่นที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้อย่างรวดเร็ว จึงช่วยสร้างเสถียรภาพพลังงานได้เป็นอย่างดี กฟผ. ได้นำ BESS ไปติดตั้งเชื่อมต่อกับระบบส่งไฟฟ้า (Grid Scale) รองรับความผันผวนของพลังงานหมุนเวียนที่มีปริมาณมากในพื้นที่ […]

Rapheephat Toumsaeng

30 August 2024

ไฮโดรเจนความหวังใหม่ของวงการพลังงานสะอาด

ไฮโดรเจนความหวังใหม่ของวงการพลังงานสะอาด           แม้อาจมองไม่เห็นได้ด้วยตา แต่จริง ๆ แล้วมีอยู่รอบตัว และนี่คือความหวังใหม่ของพลังงานสะอาดในอนาคต ‘ไฮโดรเจน’ ธาตุที่มีอยู่มากที่สุดในจักรวาล และมีอย่างไม่จำกัด เมื่อนำมาสังเคราะห์เป็นเชื้อเพลิง แล้วนำไปเผาไหม้ก็จะมีเพียงน้ำและออกซิเจนจึงปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมสุดๆ ที่สำคัญนอกจากเป็นเชื้อเพลิงแล้ว ยังสามารถนำไฮโดรเจนไปกักเก็บพลังงาน (Hydrogen Energy Storage System – HESS) แล้วนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าผ่านเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ไฮโดรเจนยังสามารถกักเก็บพลังงานโดยการแปรสภาพเป็นสารประกอบอื่น อาทิ แอมโมเนีย เมทานอล มีเทน จึงตอบโจทย์ความมั่นคงทางพลังงาน ด้วยศักยภาพทางพลังงานที่พัฒนาต่อยอดได้อีกมาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผู้ดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ ได้ศึกษาแนวทางการผลิตไฮโดรเจนที่ไม่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตทั้งไฮโดรเจนสีเขียว และสีน้ำเงินอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีแผนการนำไปทดลองผลิตไฟฟ้าจริงแล้วด้วย ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’อีกขั้นของพลังงานสะอาดจากธรรมชาติ           พลังงานจากสายลม และแสงแดดตามธรรมชาติมีปริมาณมากมายในธรรมชาติ แต่มีความไม่แน่นอน เมื่อนำไปผลิตไฮโดรเจนผ่านกระบวนการแยกโมเลกุลของน้ำด้วยกระแสไฟฟ้า (Electrolysis) จากพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้ กลายมาเป็น ไฮโดรเจนสีเขียว แล้วนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าเพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงด้านพลังงานได้ กฟผ. นำร่องกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมซึ่งมีลมพัดมากในช่วงกลางคืน มาเก็บไว้ในรูปของก๊าซไฮโดรเจน (Wind Hydrogen Hybrid System) ทำงานควบคู่กับเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel […]

Rapheephat Toumsaeng

30 August 2024

Unseen EGAT by ENGY ตอน  ‘ขุมพลัง’ ขับเคลื่อนความมั่นคงพลังงาน

Unseen EGAT by ENGY ตอน  ‘ขุมพลัง’ ขับเคลื่อนความมั่นคงพลังงาน           ขณะที่ประเทศไทยกำลังเร่งหานวัตกรรมที่จะช่วยให้พลังงานหมุนเวียนมีศักยภาพเพียงพอที่จะพึ่งพาเป็นพลังงานหลักเพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน เราจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้ พลังงานจากฟอสซิลยังคงเป็น “ขุมพลังงาน” สำคัญที่จะมองข้ามไปไม่ได้ การจัดหาเชื้อเพลิงให้เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่อยู่เบื้องหลังระบบไฟฟ้าที่มั่นคงของประเทศ เลือกใช้เชื้อเพลิงต้องมองอย่างรอบด้าน           การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการผลิตไฟฟ้า ดูแลความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ มีการบริหารจัดการด้านเชื้อเพลิงภายใต้บริบทต่างๆ โดยพิจารณาอย่างรอบด้าน เพื่อให้สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในระบบของ กฟผ. มีความหลากหลาย ทั้งก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน พลังงานหมุนเวียน น้ำมัน และอื่นๆ โดยสิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกใช้เชื้อเพลิง ได้แก่ ต้องมีราคาที่เหมาะสม เชื้อเพลิงและที่ตั้งของโรงไฟฟ้าต้องมีความเหมาะสม เพื่อให้การขนส่งเชื้อเพลิงมีความสะดวกและเข้าถึงโรงไฟฟ้าได้ง่าย ,เทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้เชื้อเพลิงน้อยแต่ให้ค่าพลังงานสูง ตลอดจนคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ มีคุณภาพที่ดี มีราคาที่เหมาะสมเป็นธรรม ควบคู่ไปกับมีสิ่งแวดล้อมที่ดี ‘ก๊าซธรรมชาติ’ ยืนหนึ่งเพื่อความมั่นคงพลังงาน           กว่าร้อยละ 60 ของการผลิตไฟฟ้าในประเทศ ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ มาจากอ่าวไทย แหล่งพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (JDA – A18) […]

Rapheephat Toumsaeng

29 May 2024

เร่งเดินหน้าพลังงานสะอาด กฟผ. จับมือสวีเดนศึกษาพลังงานชีวมวลและไฮโดรเจนมุ่งลดคาร์บอน

เร่งเดินหน้าพลังงานสะอาด กฟผ. จับมือสวีเดนศึกษาพลังงานชีวมวลและไฮโดรเจนมุ่งลดคาร์บอน          กฟผ. และการค้าสวีเดนร่วมลงนามแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีพลังงานสะอาดด้านเชื้อเพลิงชีวมวล และระบบกักเก็บพลังงานไฮโดรเจน หวังเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero Emission          วันนี้ (30 เมษายน 2567) นางแอนนา ฮัมมาร์เกรน (H.E. Mrs. Anna. Hammargren) เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสวีเดนประจำประเทศไทย และนายวัฒนพงษ์ คุโรวาท อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ องค์ความรู้ เทคโนโลยีพลังงานสะอาด ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการค้าสวีเดน ณ อาคารสามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพฯ          นายนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. กล่าวว่า ราชอาณาจักรสวีเดนถือเป็นประเทศผู้นำในการใช้พลังงานสะอาดของโลก ทั้งเชื้อเพลิงชีวมวล […]

Sukarnya

30 April 2024

กฟผ. กางแผนรุกพลังงานไฮโดรเจน มุ่งสู่ Carbon Neutrality อย่างยั่งยืน

กฟผ. กางแผนรุกพลังงานไฮโดรเจน มุ่งสู่ Carbon Neutrality อย่างยั่งยืน           การเปลี่ยนผ่านพลังงานจากพลังงานฟอสซิลสู่พลังงานหมุนเวียน เป็นการนำพลังงานที่กำเนิดจากธรรมชาติรอบตัวเราและใช้ได้ไม่หมดสิ้น อย่าง พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม มาใช้ประโยชน์ให้กับมนุษย์นับเป็นความท้าทายของนานาประเทศทั่วโลกที่ต้องเร่งเพิ่มอัตราการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ได้มากที่สุด เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน           พลังงานไฮโดรเจน จึงเป็นพลังงานที่ฮอตฮิตเป็นที่สนใจของทั่วโลกในการนำมาผลิตไฟฟ้าและกักเก็บพลังงาน เนื่องจากไฮโดรเจนเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ตอบโจทย์เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือ Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี ค.ศ. 2065 ไฮโดรเจน พลังงานแห่งอนาคต           พลังงานไฮโดรเจนสามารถสังเคราะห์ได้จากเชื้อเพลิงตามธรรมชาติหลากหลายประเภท ทั้งที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อาทิไฮโดรเจนสีเทา (Grey hydrogen) ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ ไฮโดรเจนสีดำและน้ำตาล (Black and brown hydrogen) จากถ่านหินสีดำ และลิกไนต์ ไฮโดรเจนสีแดง (Red hydrogen) จากชีวมวล หรือที่ไม่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เรียกว่า ไฮโดรเจนสีเขียว (Green hydrogen) ซึ่งผลิตจาก พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส […]

Rapheephat Toumsaeng

25 December 2023

METI ผนึก กฟผ. และ 3 บริษัทชั้นนำญี่ปุ่น Kick Off ‘ศึกษาและพัฒนาการผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนและแอมโมเนียสะอาดฯ บนพื้นที่ศักยภาพ กฟผ.’

METI ผนึก กฟผ. และ 3 บริษัทชั้นนำญี่ปุ่น Kick Off ‘ศึกษาและพัฒนาการผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนและแอมโมเนียสะอาดฯ บนพื้นที่ศักยภาพ กฟผ.’          METI มอบทุนให้ กฟผ. และบริษัทชั้นนำญี่ปุ่น CYD – MOL – MCT เดินหน้า ‘ศึกษาและพัฒนาการผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนและแอมโมเนียสะอาดฯ บนพื้นที่ศักยภาพ กฟผ.’ เพิ่มเสถียรภาพผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ร่วมขับเคลื่อนและยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ลด CO2 ขับเคลื่อนสู่พลังงานสีเขียวเต็มรูปแบบ          วานนี้ (27 พฤศจิกายน 2566) นายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง รักษาการผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) […]

Sukarnya

28 November 2023

กฟผ. ร่วมเวทีพลังงานระดับภูมิภาคแลกเปลี่ยนมุมมอง โครงการไฮโดรเจนสีเขียวเพื่อความยั่งยืน

กฟผ. ร่วมเวทีพลังงานระดับภูมิภาคแลกเปลี่ยนมุมมอง โครงการไฮโดรเจนสีเขียวเพื่อความยั่งยืน          เมื่อวันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2566 นายนรินทร์ เผ่าวณิช ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารเชื้อเพลิง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมประชุมระดับภูมิภาค “H2Uppp Southeast Asia Conference on Green H2 and PtX” พร้อมเสวนาในหัวข้อ Southeast Asia Project Highlight ซึ่งจัดโดยหอการค้าเยอรมัน-ไทย และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินการพัฒนาโครงการด้านไฮโดรเจนสีเขียว (Green hydrogen) ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร กรุงเทพฯ

Sukarnya

11 October 2023
1 2
Skip to content