วิมานเสา (ส่งไฟฟ้า) ยืนหยัดความมั่นคงระบบไฟฟ้า

วิมานเสา (ส่งไฟฟ้า) ยืนหยัดความมั่นคงระบบไฟฟ้า           เชื่อว่าทุกคนต้องเคยสังเกตเห็นเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งเป็นเสาส่งไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ทอดยาวไปทุกทิศทั่วประเทศไทย ด้วยระยะทางรวมกว่า 39,000 วงจร-กิโลเมตร เปรียบดั่งเป็นวิมานของเหล่าเสาส่งไฟฟ้าที่กระจายอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทำหน้าที่สำคัญในการส่งจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า นำพาความสุข ความสว่างไสวให้ทุกคนมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง การออกแบบและติดตั้งเสาส่งไฟฟ้าแต่ละต้นจึงต้องคำนึงถึงความแข็งแรงทนทานต่อทุกสภาพอากาศ เพื่อให้ความสุขของคนไทยไม่มีวันสะดุด พร้อมดูแลความมั่นคงไฟฟ้าได้อย่างมั่นคงและเชื่อถือได้           ด้วยระดับความสูงของเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงที่มีความสูงตั้งแต่ 32 เมตรขึ้นไป โอกาสที่เสาส่งจะปะทะกับแรงลมย่อมมีมากตามไปด้วย โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนที่มีพายุฝน ลมกรรโชกแรงพัดผ่านอยู่เสมอ การออกแบบเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงจึงต้องกำหนดขนาดโครงสร้างของเสาและฐานราก ระยะห่างระหว่างเสา ตลอดจนอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเสาส่งให้ได้มาตรฐานทางวิศวกรรม โดยเน้นความแข็งแรงทนทานและปลอดภัยเป็นหลักโดยเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. สามารถรองรับความเร็วลมที่กระทำต่อเสาส่งได้ในระดับพายุไต้ฝุ่น หรือเทียบเท่าความเร็วลมกว่า 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงมั่นใจได้ว่าระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. สามารถรองรับความแปรปรวนทุกสภาพอากาศที่มีโอกาสเกิดขึ้นในประเทศไทยได้อย่างแน่นอน           หรือแม้แต่การเกิดฟ้าผ่าซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และแน่นอนว่ามักจะผ่าลงวัตถุที่มีความสูง กฟผ. ได้นำสถิติจำนวนวันการเกิดฟ้าผ่า (Thunderstorm Day) ทั่วประเทศ มาใช้ประกอบการออกแบบระบบป้องกันฟ้าผ่าเสาส่งไฟฟ้าด้วย โดยเสาส่งไฟฟ้าทุกต้นจะมีการติดตั้งสายดิน (Overhead Ground Wire) หรือที่เรารู้จักในชื่อ “สายล่อฟ้า” ไว้ด้านบนสุดของเสาส่ง และกำหนดมุมป้องกันฟ้าผ่า (Protection Angle) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟ้าผ่าลงสายตัวนำไฟฟ้าได้โดยตรง รวมทั้งออกแบบระบบรากสายดิน (Grounding System) […]

Rapheephat Toumsaeng

5 September 2024

Unseen EGAT By ENGY ตอน เชื่อพี่เถอะ กันไว้ดีกว่าแก้กับ 6 วิธีดูแลระบบส่งไฟฟ้าเชิงป้องกัน

Unseen EGAT By ENGY ตอน เชื่อพี่เถอะ กันไว้ดีกว่าแก้กับ 6 วิธีดูแลระบบส่งไฟฟ้าเชิงป้องกัน           ไม่ว่าใกล้หรือไกลแค่ไหน เมื่อเปิดสวิตซ์ไฟ คุณก็จะได้รับแสงสว่าง นั่นคือการเดินทางอันน่าทึ่งของพลังงานไฟฟ้าโดยมีโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าเป็นส่วนสำคัญในการทำหน้าที่ส่งผ่านพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้ใช้ไฟเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของพลังงานที่เชื่อมโยงแหล่งพลังงานเพื่อส่งจ่ายให้แก่ทุกครัวเรือนได้มีไฟฟ้าใช้กันทั่วประเทศ ดังนั้นเพื่อให้เส้นเลือดใหญ่ของพลังงานสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพ เราจึงต้องมีการตรวจเช็คสุขภาพระบบส่งเป็นประจำเช่นเดียวกับร่างกายของคนเรา เพื่อเฝ้าระวังและรู้เท่าทันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น แน่นอนว่า“กันไว้ดีกว่าแก้”ย่อมดีกว่าเสมอ โดยมีทีมช่างสาย หรือ“Hotline”การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับหน้าที่ตรวจสุขภาพให้กับระบบส่งไฟฟ้าและบำรุงรักษาให้มีความพร้อมในการใช้งานอยู่ตลอดเวลา           กฟผ. ได้จัดทีม Hotline กระจายอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบและบำรุงรักษาสายส่งให้มีความมั่นคงครอบคลุมทุกระดับแรงดันตั้งแต่ 115,000 230,000และ 500,000โวลต์ ความยาวรวมกว่า 39,000 วงจร-กิโลเมตร หรือเกือบเท่าระยะทางรอบโลก 1 รอบด้วยกลยุทธ์ “การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน” (Preventive Maintenance) ซึ่งเป็นการวางแผนตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อให้ทุกชิ้นส่วนอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ จะต้องมีการสำรวจสิ่งรุกล้ำตามแนวเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า ‘Right of Way’ เพื่อให้สายส่ง สามารถส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้โดยปราศจากสิ่งรุกล้ำที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย หรือเกิดข้อขัดข้องในการส่งพลังงาน นั่นจึงทำให้การบำรุงรักษาเชิงป้องกันนั้นน่าทึ่งพอ ๆ กับการเดินทางของพลังงานไฟฟ้า ซึ่งพี่ๆ […]

Rapheephat Toumsaeng

7 May 2024

ฮีโร่ Hotline กับภารกิจสุดท้าทายแบบไม่ดับไฟ

ฮีโร่ Hotline กับภารกิจสุดท้าทายแบบไม่ดับไฟ           Safety First หรือ ปลอดภัยไว้ก่อน ถือเป็นหนึ่งในสโลแกนที่หลาย ๆ คนยึดถือ และแน่นอนว่าตามหลักความปลอดภัย การทำงานที่มีไฟฟ้าแรงดันสูงระดับแสนโวลต์ไหลผ่าน ต้องปลดไฟออกจากระบบเพื่อความปลอดภัย เพราะถ้ามีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็อาจจะหมายถึงชีวิตได้ แต่ทุกนาทีที่ไฟดับคือความเสียหายทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่ามหาศาล “การบำรุงรักษาระบบส่งโดยไม่ดับไฟ” จึงเป็นความท้าทาย เพื่อให้คนไทยมีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ ตลอดเวลา วันนี้ขอพาทุกคนไปติดตามภารกิจของชาว Hotline ผู้ที่มีหน้าที่สุดท้าทายบนเสาไฟฟ้าแรงสูง กับภารกิจ “เดินสายส่งเส้นใหม่ ข้ามสายส่งเก่า โดยไม่ดับไฟ” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานขยายระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. เพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทยมากขึ้น เสริมความมั่นคงในการส่งจ่ายกระแสไฟฟ้า ตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของทุกคนที่มีอยู่ตลอดเวลานั่นเอง           ตอนนี้เราอยู่กับ “พี่พัตเตอร์” หรือพี่พัฒนพงศ์ สุวรรณธวัช ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ (อปน.) และทีมบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง หรือที่เรียกกันว่าทีมช่างสาย “Hotline” หน้างานอยู่ที่ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีอากาศสดใสแสงแดดแจ่มจ้ามากเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นช่วงฤดูร้อน ซึ่งสภาพอากาศที่ร้อนระอุไม่ได้ทำให้ความแข็งแกร่งของทีม Hotline ของเราลดลงไปได้เลย เห็นได้จากการแต่งตัวที่ทะมัดทะแมงในชุดเซฟตี้พร้อมด้วยอุปกรณ์ครบครัน เพื่อเตรียมปฏิบัติภารกิจสำคัญบนความสูงมากกว่า 60 เมตร โดยภารกิจนี้เป็นการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าเส้นใหม่ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญคือต้องสร้างสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านสายส่งไฟฟ้าเส้นเดิม ความท้าทายของงานนี้ก็คือ ต้องก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าเส้นใหม่ (ช่วงที่พาดผ่านสายส่งเส้นเดิม) ให้มีความสูงเป็นพิเศษ เพราะต้องยกระดับความสูงของสายส่งให้สูงพอที่จะคร่อมพาดสายส่งเส้นเดิม […]

Rapheephat Toumsaeng

22 March 2024
Skip to content