พลังงานสะอาด จุดเปลี่ยนสู่อนาคตเพื่อความยั่งยืน

พลังงานสะอาด จุดเปลี่ยนสู่อนาคตเพื่อความยั่งยืน           ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โลกได้เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอย่างรุนแรง หนึ่งในต้นเหตุสำคัญเป็นผลจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พลังงานหมุนเวียนจึงกลายเป็นคำตอบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ยืนหยัด เดินหน้าพัฒนาการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนจากแหล่งพลังงานหลายชนิด ซึ่งล้วนแต่มีความโดดเด่นเฉพาะตัวที่ช่วยเสริมศักยภาพและความมั่นคงด้านพลังงาน พร้อมตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม   ‘พลังงานแสงอาทิตย์’ จากแสงแดดสู่แสงไฟ           หนึ่งในพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพสูง ด้วยทำเลที่ตั้งของประเทศไทยซึ่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้แสงอาทิตย์หรือแสงแดดเป็นพลังงานที่หาได้ง่ายและมีตลอดทั้งปี กฟผ. จึงได้พัฒนา โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่ศักยภาพที่มีความเข้มของแสงเหมาะสม รวมไปถึงพื้นที่ห่างไกลที่ไม่สามารถขยายระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงเข้าไปได้           โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ ที่ติดตั้งบนผิวน้ำของอ่างเก็บน้ำในเขื่อน ช่วยลดการใช้พื้นที่บนบก เป็นการใช้พื้นที่ผิวน้ำและสินทรัพย์ระบบส่งไฟฟ้าของเขื่อนที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันมีโครงการที่เดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว 2 แห่ง คือ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่่นลอยน้ำฯ เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น พร้อมเตรียมพัฒนาโครงการเพิ่มเติมในพื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ จ. กาญจนบุรี รวมถึงเขื่อนภูมิพล  จ.ตาก ตามร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับใหม่ ที่กำหนดให้พัฒนาโครงการฯในพื้นที่เขื่อนของ กฟผ. ทั่วประเทศ กำลังผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ ‘พลังงานน้ำ’ สายน้ำแห่งชีวิต เสริมพลังงานมั่นคง           อีกหนึ่งแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญ ด้วยคุณสมบัติที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้อย่างรวดเร็ว  มีความเสถียรสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง […]

Rapheephat Toumsaeng

27 June 2025

Grid Modernization “ชีเสิร์ฟ” ความมั่นคงไฟฟ้าไทย รับเทรนด์พลังงานสีเขียว

Grid Modernization “ชีเสิร์ฟ” ความมั่นคงไฟฟ้าไทย รับเทรนด์พลังงานสีเขียว           นอกจากเรื่องของกระแสความต้องการใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนที่มีมากขึ้นจากปัญหาการปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่สร้างความกังวลมากที่สุดในระดับโลกแล้ว ปัจจุบันขีดความสามารถของเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดก็มีเพิ่มมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่นโยบายพลังงานในหลายประเทศสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy: RE) เช่น ในสหภาพยุโรปที่มีแผนให้อาคารใหม่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ และจีนที่มีโครงการพลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่หลายโครงการ สำหรับนโยบายพลังงานของไทยก็ยังคงสนับสนุนในทิศทางเดียวกันเพื่อรองรับช่วงการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) โดยยึด 3 หลักสำคัญ นั่นคือ ระบบไฟฟ้ามั่นคง ราคาที่เหมาะสม และมีความยั่งยืน เพื่อร่วมผลักดันเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emissions ให้เป็นไปอย่างราบรื่น และหากมองที่ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2567-2580 หรือ ร่าง PDP 2024 จะเห็นว่า ระบบไฟฟ้าไทยจะมีสัดส่วนจากพลังงานสะอาดมากถึง 51% ในช่วงปลายแผนปี 2580 ซึ่งนับเป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างยิ่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่รับบทบาท “ชีเสิร์ฟ” (She Served) ดูแลระบบโครงข่ายไฟฟ้ายุคใหม่อย่างจัดเต็ม โดยรวบรวมเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในระบบไฟฟ้า เพื่อให้แน่ใจได้ว่าระบบโครงข่ายไฟฟ้าของไทยจะยังมีความมั่นคงเช่นเดิม พร้อมรองรับการเพิ่มขึ้นพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเราต่างรู้กันดีว่าแม้กระบวนการผลิตไฟฟ้าจาก RE […]

Rapheephat Toumsaeng

24 March 2025

คนรุ่นใหม่ สุดเจ๋ง ชนะประกวดไอเดียเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมต่อยอดใช้ได้จริง ในงาน EGAT Green i Demo Day

คนรุ่นใหม่ สุดเจ๋ง ชนะประกวดไอเดียเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมต่อยอดใช้ได้จริง ในงาน EGAT Green i Demo Day          กลุ่มนิสิต นักศึกษา ตัวแทนเยาวชนคนรุ่นใหม่ 8 ทีม จาก 53 ทีม ทั่วประเทศ ร่วมนำเสนอผลงานในการประกวดแนวคิดนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม รอบตัดสิน ภายใต้หัวข้อ “สร้างสรรค์แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน” ในงาน EGAT Green i Demo Day โดยผลงาน ขยะลูกถ้วยไฟฟ้าปอร์ซเลนสังเคราะห์เป็นซีโอไลต์ดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ จากทีมเพื่อเธอ เพื่อโลก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คว้ารางวัลชนะเลิศ          นายทิเดช เอี่ยมสาย รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานเปิดงาน EGAT Green i Demo Day การนำเสนอผลงานรอบตัดสิน […]

Sukarnya

1 November 2024

รู้จัก SMR ก้าวใหม่พลังงานสะอาดของไทย

รู้จัก SMR ก้าวใหม่พลังงานสะอาดของไทย           “พลังงานหมุนเวียน” ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีของโลกในช่วงเวลานี้ เพราะภาวะโลกเดือดได้ส่งผลกระทบทั้งสภาพอากาศแปรปรวนและภัยพิบัติไปทั่วโลก แต่พลังงานหมุนเวียนก็ไม่ใช่ทางเลือกเดียว ยังมี SMR ที่เป็นแหล่งพลังงานสะอาดแถมยังสามารถผลิตไฟฟ้าสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าได้อีกด้วย           เมื่อพูดถึง Small Modular Reactor : SMR หรือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก อาจฟังดูเป็นเรื่องใหญ่และใหม่มาก แต่แท้จริงแล้ว  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของโลก ได้เปิดใช้งานมายาวนานแล้วกว่า 70 ปี ในปัจจุบันทั่วโลกมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากกว่า 400 แห่ง และด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้ปัจจุบันได้พัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้มีขนาดเล็กลง มีความยืดหยุ่น และความปลอดภัยสูง และวันนี้เมื่อทิศทางของโลกมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality โรงไฟฟ้า SMR จึงกลายเป็นที่จับตามอง โดยคาดหมายว่า SMR จะเป็นทางออกของพลังงานสะอาดที่จะมาแทนที่โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลในอนาคต ทำความรู้จักโรงไฟฟ้า SMR           SMR คือ โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่ใช้ความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันแทนการเผาไหม้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า จึงไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ให้อยู่ในรูปแบบโมดูล ซึ่งมีกำลังการผลิตน้อยกว่า 300 เมกะวัตต์ต่อโมดูล โมดูลเหล่านี้สามารถผลิตและประกอบเบ็ดเสร็จจากโรงงาน จึงสามารถควบคุมคุณภาพการผลิตได้ง่าย นำไปติดตั้งในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดเวลาการก่อสร้างจากเดิมประมาณ 5-6 […]

Rapheephat Toumsaeng

30 September 2024

Unseen EGAT by ENGY ตอน ESS แหล่งพลังงานเสริมทัพ สร้างเสถียรภาพพลังงานหมุนเวียน

Unseen EGAT by ENGY ตอน ESS แหล่งพลังงานเสริมทัพ สร้างเสถียรภาพพลังงานหมุนเวียน           เมื่อประชาคมโลกวางเป้าหมายร่วมกันที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกไม่ให้เลวร้ายมากไปกว่านี้ พลังงานหมุนเวียนจึงเป็นตัวเลือกแรกๆที่หลายประเทศให้ความสนใจ ไม่เพียงเป็นพลังงานสะอาดช่วยลดโลกร้อน แต่ยังเป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำเพราะเป็นพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ ซ้ำยังมีหมุนเวียนให้ใช้อย่างไม่มีวันหมด แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องไม่ลืมก็คือ พลังงานหมุนเวียนไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงได้พัฒนา“ระบบกักเก็บพลังงาน”(Energy Storage System: ESS) เพื่อเป็นตัวช่วยในยามที่แดดไม่มี ลมไม่พัด วันนี้ Unseen EGAT by ENGY จะขอพาทุกท่านไปเจาะลึก ESS แหล่งพลังงานที่มาช่วยเสริมทัพสร้างเสถียรภาพให้กับพลังงานหมุนเวียน กันครับ ‘BESS’ แบตเตอรี่จ่ายไฟเร็ว ยืดหยุ่นสูง รักษาความมั่นคงระบบไฟฟ้า           ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System : BESS)  ทำหน้าที่เก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจากระบบส่ง เพื่อนำมาจ่ายในช่วงเวลาที่ต้องการ มีจุดเด่นที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้อย่างรวดเร็ว จึงช่วยสร้างเสถียรภาพพลังงานได้เป็นอย่างดี กฟผ. ได้นำ BESS ไปติดตั้งเชื่อมต่อกับระบบส่งไฟฟ้า (Grid Scale) รองรับความผันผวนของพลังงานหมุนเวียนที่มีปริมาณมากในพื้นที่ […]

Rapheephat Toumsaeng

30 August 2024

“แบตเตอรี่พลังน้ำ” เติมเต็มความอุ่นใจ ทันใจ มั่นใจ สู่ความมั่นคงพลังงาน

“แบตเตอรี่พลังน้ำ” เติมเต็มความอุ่นใจ ทันใจ มั่นใจ สู่ความมั่นคงพลังงาน           อีกหนึ่งความท้าทายในการก้าวข้ามขีดจำกัดของพลังงานหมุนเวียนที่กำลังมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในระบบไฟฟ้าตามเทรนด์พลังงานโลก เพื่อเดินหน้าประเทศสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนนั่น คือ การสร้างความมั่นคงทางพลังงาน บนความผันผวน ไม่แน่นอนของพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy : RE) ระบบกักเก็บพลังงาน จึงนับเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนให้มีเสถียรภาพมากขึ้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงได้พัฒนาระบบกักเก็บพลังงานในรูปแบบ “โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped-Storage)” มาทำหน้าที่สำรองพลังงานเสริมให้กับระบบไฟฟ้าในช่วงที่พลังงานหมุนเวียนไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคง ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในทุกช่วงเวลา ‘อุ่นใจ’ แบตเตอรี่พลังน้ำ ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม           โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ เป็นไฟฟ้าสะอาดจากพลังน้ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยถูกที่สุดเมื่อเทียบกับระบบกักเก็บพลังงานรูปแบบอื่นๆ ผลิตไฟฟ้าด้วยหลักการเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั่วไป โดยจะปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำส่วนบน เพื่อหมุนกังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตพลังงานไฟฟ้าเมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง น้ำที่ปล่อยออกมาจะถูกกักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำส่วนล่าง เพื่อสูบน้ำกลับขึ้นไปเก็บไว้ที่อ่างเก็บน้ำส่วนบน สำหรับใช้ในการผลิตไฟฟ้าต่อไป โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ จึงเปรียบเสมือนแบตเตอรี่พลังน้ำขนาดใหญ่ ที่สามารถนำน้ำมาผลิตไฟฟ้าได้อย่างไม่มีวันหมด โดยไม่ส่งผลกระทบกับการใช้น้ำของประชาชน ‘ทันใจ’ สร้างความมั่นคง RE ได้ทัน เสิร์ฟไฟฟ้าได้เร็ว           นอกจากจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำแล้ว ยังสามารถเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาไม่ เกิน 15 นาที ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าทดแทนพลังงานหมุนเวียน ในเวลาที่แดดไม่มี ลมไม่พัด […]

Rapheephat Toumsaeng

31 July 2024

Unseen EGAT By ENGY ตอน อวสานความไม่แน่นอน RE ด้วย 2 เทคโนโลยี Grid Modernization ยกระดับความมั่นคงระบบไฟฟ้าไทย

Unseen EGAT By ENGY ตอน อวสานความไม่แน่นอน RE ด้วย 2 เทคโนโลยี Grid Modernization ยกระดับความมั่นคงระบบไฟฟ้าไทย           ไม่เพียงปัญหาภาวะโลกร้อนที่ทำให้เทรนพลังงานโลกต่างเบนเข็มมาที่พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) แต่ราคาของโซลาร์เซลล์ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นเรื่องที่จับต้องได้ รวมทั้งแผน PDP 2024 ที่กำลังจะประกาศใช้เร็วๆนี้ ได้กำหนดให้มีพลังงานหมุนเวียนมากถึงกว่า 50 % เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเร่งให้การเปลี่ยนผ่านการผลิตไฟฟ้าของประเทศจากพลังงานฟอสซิลสู่พลังงานหมุนเวียนมาถึงเร็วกว่าที่คาด โจทย์สำคัญของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ในฐานะผู้ดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศก็คือ จะรับมือกับความไม่เสถียรของพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มสูงขึ้นนี้อย่างไร           ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Forecast Center: REFC) และศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response Control Center: DRCC) คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ระบบไฟฟ้ามีความพร้อมรองรับความผันผวนของพลังงานหมุนเวียน และยังช่วยให้การวางแผน บริหารจัดการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าหลักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รู้ล่วงหน้า มีพลังงานหมุนเวียนมาจากแหล่งไหนและในช่วงเวลาใด           “REFC” ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จะมาช่วยทำสิ่งที่ไม่แน่นอนให้แน่นอนมากยิ่งขึ้น โดยทำหน้าที่พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมของโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (Small Power Producer: […]

Rapheephat Toumsaeng

24 May 2024

Unseen EGAT by ENGY ตอน โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนอุบลรัตน์ 3 พลังประสานสร้างเสถียรภาพพลังงานสีเขียว

Unseen EGAT by ENGY ตอน โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนอุบลรัตน์ 3 พลังประสานสร้างเสถียรภาพพลังงานสีเขียว           พลังงานหมุนเวียนกำลังเข้ามามีบทบาทในการระบบไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ ที่มีจุดเด่นที่ไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แถมยังช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้า จึงนับเป็นพลังงานสีเขียวเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน และยังเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันประเทศไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 วันนี้ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ หรือ โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด (Hydro-Floating Solar Hybrid) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ขนาดกำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา Unseen EGAT by ENGY จะขอพาทุกท่านไปเจาะลึกโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแห่งใหม่นี้ ด้วยกันครับ แกร่งกว่าเดิมด้วยการประสาน 3 พลังงานสะอาด           จากผลสำเร็จของโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดกำลังผลิต 45เมกะวัตต์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ กฟผ. เขื่อนสิรินธร […]

Rapheephat Toumsaeng

28 March 2024

METI เชื่อมั่น กฟผ. ให้ทุนเดินหน้า “โครงการศึกษาและพัฒนาการผลิตไฮโดรเจนและแอมโมเนียสะอาดจากพลังงานหมุนเวียน”

METI เชื่อมั่น กฟผ. ให้ทุนเดินหน้า “โครงการศึกษาและพัฒนาการผลิตไฮโดรเจนและแอมโมเนียสะอาดจากพลังงานหมุนเวียน”          กฟผ. จับมือ 3 บริษัทชั้นนำญี่ปุ่น ลุย “โครงการศึกษาและพัฒนาการผลิตไฮโดรเจนและแอมโมเนียสะอาดจากพลังงานหมุนเวียน” ด้วยทุนสนับสนุนจาก METI เดินหน้าพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควบคู่สร้างความมั่นคงพลังงานไทย          นายนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ. ได้รับทุนสนับสนุนโครงการศึกษาและพัฒนาการผลิตไฮโดรเจนและแอมโมเนียสะอาดจากพลังงานหมุนเวียนจากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (Ministry of Economy, Trade and Industry: METI) ภายใต้การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ 3 บริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น ได้แก่ บริษัท มิตซูบิชิ (ประเทศไทย) บริษัท ชิโยดะ คอร์ปอเรชั่น และบริษัท มิตซุย […]

Sukarnya

10 October 2023

“ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด”“ตัวช่วยสำคัญ” ยกระดับระบบไฟฟ้าไทยสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืน

“ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด” “ตัวช่วยสำคัญ” ยกระดับระบบไฟฟ้าไทยสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืน           แนวโน้มของการเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานฟอสซิล สู่การใช้พลังงานหมุนเวียน เป็นสิ่งที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานภาคพลังงานของประเทศ พร้อมเดินหน้าเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนมาใช้ผลิตไฟฟ้ามากขึ้น รวมทั้งมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีดิจิทัลยกระดับระบบไฟฟ้าไทยสู่ความทันสมัยและมั่นคง (Grid Modernization) พร้อมรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นในอนาคต           ความผันผวนและไม่แน่นอนของพลังงานหมุนเวียนเนื่องจากสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา นำมาสู่การจัดตั้งศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Forecast Center: REFC) และศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response Control Center: DRCC) ของ กฟผ. ซึ่งเป็น 2 ใน 5 เสาหลักตามแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง พ.ศ. 2565-2574  โดยเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 ณ สำนักงานใหญ่ กฟผ. เพื่อเป็นต้นแบบของศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลดในประเทศไทย “REFC” ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน “ที่สุดแห่งความแม่นยำ” “DRCC” ศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด ตัวช่วยลดการใช้ไฟฟ้า […]

Rapheephat Toumsaeng

26 September 2023
1 2 3
Skip to content