กฟผ. ปูทางพลังงานสะอาด มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ด้วยเทคโนโลยี

กฟผ. ปูทางพลังงานสะอาด มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ด้วยเทคโนโลยี          ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่ทั่วโลกกำลังมุ่งไปสู่พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียน ด้วยจุดหมายเดียวกันคือลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ          กฟผ. ในฐานะหน่วยงานภาคพลังงานของประเทศ พร้อมเดินหน้าในทิศทางเดียวกันกับกระแสโลก นำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ผลิตไฟฟ้ามากขึ้น ควบคู่ไปกับการนำระบบกักเก็บพลังงานมาช่วยสร้างเสถียรภาพ โดยในงานTNC – CIGRE WEBINAR 2021 ที่ผ่านมา กฟผ. ได้หยิบยกเรื่องดังกล่าวมาบอกเล่าให้เห็นจุดเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้น เพื่อลดข้อจำกัดของพลังงานหมุนเวียนในระบบไฟฟ้า ‘โซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริด’ พลังแห่งการผสมผสานช่วยเสริมศักยภาพการผลิตไฟฟ้า          นายฉัตรชัย มาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำและพลังงานหมุนเวียน กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. มีแผนดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro-Floating Solar Hybrid) ทั้งหมด 16 โครงการ บนพื้นที่ผิวน้ำของ 9 เขื่อนหลัก กฟผ. ทั่วประเทศ รวมกำลังการผลิต 2,725 […]

Rapheephat Toumsaeng

30 July 2021

กูรูด้านพลังงานแนะ เทรนด์แบตเตอรี่มาแรง หนุนไทยมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

กูรูด้านพลังงานแนะ เทรนด์แบตเตอรี่มาแรง หนุนไทยมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ           องค์การซีเกรฝ่ายไทย และ กฟผ. ร่วมแชร์ประสบการณ์ในเวทีสัมมนาออนไลน์ TNC – CIGRE WEBINAR 2021 ชี้ เทคโนโลยี BESS ช่วยเสริมเสถียรภาพการบริหารจัดการไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หนุนทั่วโลกก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ถ่ายทอดสดผ่านทางเฟซบุ๊ก กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย www.facebook.com/EGAT.Official เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา           รองศาสตราจารย์ ดร.ณอคุณ สิทธิพงศ์ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการองค์การซีเกรฝ่ายไทย กล่าวว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กระแสการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ทำให้หลายประเทศทั่วโลกได้เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากขึ้น แต่เนื่องจากความผันผวนของการผลิตไฟฟ้าที่เป็นไปตามสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศ ทำให้ต้องนำเทคโนโลยี Battery Energy Storage System หรือ BESS […]

Sukarnya

21 July 2021

พลังงานหมุนเวียน เทรนด์การผลิตไฟฟ้าแห่งอนาคต

พลังงานหมุนเวียน เทรนด์การผลิตไฟฟ้าแห่งอนาคต          โลกแห่งพลังงานกำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วไป พร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถพลิกโฉมรูปแบบพลังงานไปอย่างสิ้นเชิง จะเห็นได้ว่า หลายประเทศทั่วโลกเริ่มทดแทนการผลิตไฟฟ้าด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น จากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นอย่างก้าวกระโดด          นั่นสะท้อนถึงแนวโน้มในอนาคตที่กำลังเปลี่ยนไปในโลกพลังงาน กฟผ. จะก้าวต่อท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างไร เพื่อที่จะผลิตไฟฟ้าใช้ได้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ ขณะที่ยังต้องรักษาความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าไว้ด้วย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของคนไทย          นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน หนึ่งแม่ทัพคนสำคัญที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับการพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ มาร่วมให้มุมมองและทิศทางการพัฒนาโรงไฟฟ้าที่มีอยู่และโรงไฟฟ้าที่จะเป็นภาพของ กฟผ. ในอนาคตต่อไป ปรับทิศทางพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ รับมือเทรนด์การผลิตไฟฟ้าในอนาคต          นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน เล่าว่า ตามแผน PDP2018 (2561-2580) กฟผ. มีภารกิจก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน 6,150 เมกะวัตต์ พลังงานหมุนเวียน (Hydro-Floating Solar […]

Rapheephat Toumsaeng

7 July 2021

ระบบเดินเครื่องและบำรุงรักษาระยะไกล อีกก้าวใหม่ของโรงไฟฟ้าดิจิทัลพลังน้ำ

ระบบเดินเครื่องและบำรุงรักษาระยะไกล อีกก้าวใหม่ของโรงไฟฟ้าดิจิทัลพลังน้ำ           ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก วิถีชีวิตของผู้คนก็เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีอาจเป็นได้ทั้งกลยุทธ์เสมือนอาวุธสำคัญในการรบ เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจใหม่ แนวคิด หรือรูปแบบการทำงานใหม่ๆ ที่ทำให้ทำงานสะดวก คล่องตัวมากยิ่งขึ้น และแน่นอนในขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็เป็นดั่งอุปสรรคที่เข้ามา ส่งผลกระทบธุรกิจหรือแนวคิดเดิมให้ต้องปรับตัว เพราะเมื่อใหม่มาเก่าก็ไป ธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ ที่ปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงก็อาจต้องปิดตัวลง เทคโนโลยีจึงเป็นทั้งคุณและโทษ อยู่ที่มุมมองและการปรับตัวการนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะองค์กรหลัก ที่รับผิดชอบด้านการผลิตและดูแลระบบไฟฟ้าของประเทศ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี จึงมุ่งมั่นเดินหน้าปรับตัวศึกษาและพัฒนานวัตกรรมนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อมุ่งสู่การเป็นโรงไฟฟ้าดิจิทัล โดยนำระบบเดินเครื่องและบำรุงรักษาระยะไกลมาใช้ในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน           โรงไฟฟ้าท่าทุ่งนา เป็นโครงการนำร่องโรงไฟฟ้าดิจิทัล ประเภทโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ของ กฟผ. ซึ่งได้เปิดใช้งานห้องควบคุมระบบเดินเครื่องและบำรุงรักษาระยะไกลอย่างเป็นทางการ ไปเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา โดยได้ติดตั้งระบบควบคุมเดินเครื่องระยะไกลสำหรับโรงไฟฟ้าขนาดเล็กและโรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนชลประทานในสังกัดเขื่อนศรีนครินทร์ จำนวน 5 เขื่อน ได้แก่ โรงไฟฟ้าเขื่อนท่าทุ่งนาและโรงไฟฟ้าเขื่อนแม่กลอง จ.กาญจนบุรี โรงไฟฟ้าเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี โรงไฟฟ้าเขื่อนขุนด่านปราการชล […]

Rapheephat Toumsaeng

2 November 2020

“ระบบกักเก็บพลังงาน” กุญแจปลดล็อคสู่ความมั่นคงของพลังงานแห่งอนาคต

“ระบบกักเก็บพลังงาน” กุญแจปลดล็อคสู่ความมั่นคงของพลังงานแห่งอนาคต          ปฏิเสธไม่ได้ว่า “พลังงานหมุนเวียน” (Renewable Energy) เป็นพลังงานแห่งอนาคตที่ทั่วโลกล้วนหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถพึ่งพาได้อย่างมั่นคง แต่ด้วยปัจจุบัน ไฟฟ้าที่ได้จากการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน อย่าง แสงอาทิตย์ ลม ยังมีความผันผวน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละช่วงเวลาที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้ “ระบบกักเก็บพลังงาน” (Energy Storage System) จึงถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยในการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา ให้สามารถสั่งจ่ายไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยลดความผันผวนของกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนให้มีความเสถียรมากขึ้น และยังเปรียบเสมือน Power Bank พลังงานสำรอง เข้าเสริมระบบเมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น          การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ทั้งการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานระหว่างพลังงานหมุนเวียนกับเชื้อเพลิงฟอสซิล การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน ตลอดจนการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย (Grid Modernization) เพื่อให้สามารถนำพลังงานหมุนเวียนมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบผลิตไฟฟ้าในภาพรวม รวมถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านพลังงานมาบูรณาการให้สอดรับกับทิศทางการพัฒนาด้านพลังงานของโลกในอนาคต          กฟผ. จึงมุ่งพัฒนา และสรรหานวัตกรรมกักเก็บพลังงานที่เหมาะสม เพื่อสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าไทย ดังนี้     […]

Rapheephat Toumsaeng

2 January 2020

ไฮบริดกังหันลมลำตะคองเคียงคู่เซลล์เชื้อเพลิง คู่สร้าง คู่สม แห่งเขายายเที่ยง

ไฮบริดกังหันลมลำตะคองเคียงคู่เซลล์เชื้อเพลิง คู่สร้าง คู่สม แห่งเขายายเที่ยง          หากใครที่ได้ขับรถผ่านถนนมิตรภาพ ตามเส้นทางที่วิ่งไปทางเมืองโคราช คงจะได้เห็นกังหันลมจำนวน 12 ต้น ที่ตั้งตระหง่านอยู่ตามรายทาง ซึ่งกังหันลมที่เห็นนั้นคือ โครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคองระยะที่ 2 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทีเพิ่งติดตั้งเสร็จสดๆ ร้อนๆ เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา          กังหันลมขนาดกำลังผลิตต้นละ 2 เมกะวัตต์ จำนวน 12 ต้น รวมกำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ ที่ทอดยาวตลอด 8 กิโลเมตร บนเขายายเที่ยง ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้วนี้มีความพิเศษ เพราะไม่ได้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเท่านั้น ยังทำงานร่วมกับเซลล์เชื้อเพลิง หรือเรียกว่า Wind Hydrogen Hybrid ซึ่งเป็น ‘แห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชีย’ ที่ใช้ระบบนี้ในการกักเก็บและจ่ายไฟฟ้า Wind Hydrogen Hybrid คืออะไร?   […]

Rapheephat Toumsaeng

7 September 2017
1 2
Skip to content