Grid Modernization “ชีเสิร์ฟ” ความมั่นคงไฟฟ้าไทย รับเทรนด์พลังงานสีเขียว

Grid Modernization “ชีเสิร์ฟ” ความมั่นคงไฟฟ้าไทย รับเทรนด์พลังงานสีเขียว           นอกจากเรื่องของกระแสความต้องการใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนที่มีมากขึ้นจากปัญหาการปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่สร้างความกังวลมากที่สุดในระดับโลกแล้ว ปัจจุบันขีดความสามารถของเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดก็มีเพิ่มมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่นโยบายพลังงานในหลายประเทศสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy: RE) เช่น ในสหภาพยุโรปที่มีแผนให้อาคารใหม่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ และจีนที่มีโครงการพลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่หลายโครงการ สำหรับนโยบายพลังงานของไทยก็ยังคงสนับสนุนในทิศทางเดียวกันเพื่อรองรับช่วงการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) โดยยึด 3 หลักสำคัญ นั่นคือ ระบบไฟฟ้ามั่นคง ราคาที่เหมาะสม และมีความยั่งยืน เพื่อร่วมผลักดันเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emissions ให้เป็นไปอย่างราบรื่น และหากมองที่ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2567-2580 หรือ ร่าง PDP 2024 จะเห็นว่า ระบบไฟฟ้าไทยจะมีสัดส่วนจากพลังงานสะอาดมากถึง 51% ในช่วงปลายแผนปี 2580 ซึ่งนับเป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างยิ่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่รับบทบาท “ชีเสิร์ฟ” (She Served) ดูแลระบบโครงข่ายไฟฟ้ายุคใหม่อย่างจัดเต็ม โดยรวบรวมเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในระบบไฟฟ้า เพื่อให้แน่ใจได้ว่าระบบโครงข่ายไฟฟ้าของไทยจะยังมีความมั่นคงเช่นเดิม พร้อมรองรับการเพิ่มขึ้นพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเราต่างรู้กันดีว่าแม้กระบวนการผลิตไฟฟ้าจาก RE […]

Rapheephat Toumsaeng

24 March 2025

เมื่อโลกเปลี่ยน พลังงานต้องปรับ ประเทศไทยจะรับมืออย่างไร

เมื่อโลกเปลี่ยน พลังงานต้องปรับ ประเทศไทยจะรับมืออย่างไร           ไฟฟ้าพลังงานสะอาด.. ราคาเหมาะสม.. มีความมั่นคง.. คือ 3 ปัจจัยหลักที่เป็นโจทย์สำคัญของไฟฟ้าไทย และไม่ง่ายที่จะทำให้เกิดความสมดุลได้ในเวลาเดียวกัน แต่เพื่อให้ประเทศก้าวสู่เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2567-2580 หรือ ร่าง PDP 2024 จึงกำหนดให้ในปี 2080 มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดมากถึง 51% นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ในฐานะผู้ดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ เพราะเราต่างรู้กันดีว่าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy: RE) แม้เป็นพลังงานสะอาดไม่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า มีต้นทุนไม่สูง แต่ก็มีความผันผวนไม่แน่นอน และไม่สามารถใช้เป็นพลังงานหลักเพียงอย่างเดียวได้ หากโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล จากที่เคยเป็นตัวยืนเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเป็นหลักต้องลดสัดส่วนลง ก็ยากที่จะการันตีว่าระบบไฟฟ้าของประเทศจะมีความมั่นคงได้ตลอดทุกช่วงเวลา Grid Modernization ระบบไฟฟ้ารูปแบบใหม่ รับมือความผันผวน สร้างความมั่นคงทางพลังงาน            เมื่อพลังงานหมุนเวียนเข้ามามีบทบาทในระบบผลิตไฟฟ้ามากกว่าครึ่ง นิยามของระบบไฟฟ้าที่มั่นคงจึงไม่ได้มีเพียงเชื้อเพลิงที่เพียงพอ โรงไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้าที่พร้อมส่งจ่ายพลังงานอีกต่อไป แต่จะต้องมีเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้ามาเป็นผู้เล่นเพิ่มเติมอีกมากมาย เพื่อช่วยสนับสนุนให้ระบบไฟฟ้าสามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้อย่างเพียงพอทุกวินาที รูปแบบของระบบไฟฟ้าในอนาคตจะปรับเปลี่ยนไปเป็น Grid Modernization โดยมีระบบบริหารจัดการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาบริหารจัดการ […]

Rapheephat Toumsaeng

25 September 2024

Unseen EGAT By ENGY ตอน อวสานความไม่แน่นอน RE ด้วย 2 เทคโนโลยี Grid Modernization ยกระดับความมั่นคงระบบไฟฟ้าไทย

Unseen EGAT By ENGY ตอน อวสานความไม่แน่นอน RE ด้วย 2 เทคโนโลยี Grid Modernization ยกระดับความมั่นคงระบบไฟฟ้าไทย           ไม่เพียงปัญหาภาวะโลกร้อนที่ทำให้เทรนพลังงานโลกต่างเบนเข็มมาที่พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) แต่ราคาของโซลาร์เซลล์ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นเรื่องที่จับต้องได้ รวมทั้งแผน PDP 2024 ที่กำลังจะประกาศใช้เร็วๆนี้ ได้กำหนดให้มีพลังงานหมุนเวียนมากถึงกว่า 50 % เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเร่งให้การเปลี่ยนผ่านการผลิตไฟฟ้าของประเทศจากพลังงานฟอสซิลสู่พลังงานหมุนเวียนมาถึงเร็วกว่าที่คาด โจทย์สำคัญของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ในฐานะผู้ดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศก็คือ จะรับมือกับความไม่เสถียรของพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มสูงขึ้นนี้อย่างไร           ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Forecast Center: REFC) และศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response Control Center: DRCC) คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ระบบไฟฟ้ามีความพร้อมรองรับความผันผวนของพลังงานหมุนเวียน และยังช่วยให้การวางแผน บริหารจัดการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าหลักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รู้ล่วงหน้า มีพลังงานหมุนเวียนมาจากแหล่งไหนและในช่วงเวลาใด           “REFC” ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จะมาช่วยทำสิ่งที่ไม่แน่นอนให้แน่นอนมากยิ่งขึ้น โดยทำหน้าที่พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมของโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (Small Power Producer: […]

Rapheephat Toumsaeng

24 May 2024

กฟผ. ก้าวล้ำ ปรับสถานีไฟฟ้าแรงสูงเป็นดิจิทัล ประเดิมเปิด สฟ.แม่เมาะ 2 ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ เสริมความมั่นคงไฟฟ้าของประเทศ

กฟผ. ก้าวล้ำ ปรับสถานีไฟฟ้าแรงสูงเป็นดิจิทัล ประเดิมเปิด สฟ.แม่เมาะ 2 ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ เสริมความมั่นคงไฟฟ้าของประเทศ           กฟผ. ยกระดับระบบไฟฟ้า เปิดสถานีไฟฟ้าแรงสูงดิจิทัลแห่งแรกทางภาคเหนือ “แม่เมาะ 2” รองรับพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีอัจฉริยะ ช่วยลดค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาและการใช้พื้นที่ลดลง สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลงได้           วันนี้ (26 กรกฎาคม 2566) นายจำลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และนายกิตติ เพ็ชรสันทัด รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมพิธีเปิดสถานีไฟฟ้าแรงสูงดิจิทัลแห่งแรกของภาคเหนือ “แม่เมาะ 2” ณ ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง           นายจำลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงดิจิทัล แม่เมาะ 2 ช่วยเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า รองรับการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของภาคเหนือและจังหวัดลำปาง จากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทางด้านธุรกิจและการท่องเที่ยว ตลอดจนโครงการพัฒนาต่าง ๆ เช่น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 บางปะอิน-เชียงใหม่ รถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนพหลโยธิน นอกจากนี้ ยังรองรับการพัฒนาอำเภอแม่เมาะ […]

Rapheephat Toumsaeng

26 July 2023

Unseen EGAT by ENGY  ตอน ‘ESAN Clean Energy For The Future’ ถิ่นอีสาน แดนพลังงานสะอาด เพื่ออนาคต

Unseen EGAT by ENGY  ตอน ‘ESAN Clean Energy For The Future’ ถิ่นอีสาน แดนพลังงานสะอาด เพื่ออนาคต เพื่อนๆ ครับ ปัญหาโลกร้อนจากสภาพอากาศที่แปรปรวนนำมาสู่สภาวะโลกรวนที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้วันนี้ทั่วโลกต่างตระหนักถึงความสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จนเกิดเป็นร่วมมือระหว่างประเทศ ภายใต้การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26)  โดยประเทศไทยได้ร่วมประกาศเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าเพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนผ่านการเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 (PDP2018 REV.1) ไม่ว่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังน้ำที่กำลังจะเกิดขึ้นในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพที่จะผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน จึงมีโครงการที่น่าสนใจที่กำลังจะเกิดขึ้นหลายโครงการ วันนี้ […]

EGAT

10 July 2023
Skip to content