http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=149523&page=7&langid=5
โรงไฟฟ้าแมนจุง(Manjung) โรงที่ 5 ประเทศมาเลเซีย พร้อมเดินเครื่องตามกำหนดในเดือนตุลาคม 2560 นี้ นับเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ใช้เทคโนโลยี ultra-supercritical (USC) โรงที่ 2 ของบริษัทไฟฟ้าแห่งชาติของมาเลเซีย หรือ Tenaga Nasional Bhd (TNB)
สถานที่ตั้งของโรงไฟฟ้าอยู่ใกล้กับเกาะปังกอร์ (Pangkor Island) และชายหาดของ Coral Bay ราว 12 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเกาะท่องเที่ยว และชายหาดยอดนิยมของมาเลเซีย
สถานที่ตั้งของโรงไฟฟ้าอยู่ใกล้กับเกาะปังกอร์ (Pangkor Island) และชายหาด Coral Bay ราว 12 กิโลเมตร สถานที่ท่องเที่ยวและชายหาดยอดนิยมของมาเลเซีย
เครดิตภาพ http://resizing.info/
การเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ของโรงไฟฟ้าแมนจุง โรงที่ 5 จะทำให้ TNB มีกำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าถ่านหินรวมทั้งหมดเกือบ 5,000 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของกำลังผลิตทั้งหมดในคาบสมุทรมาเลเซีย (Peninsular Malaysia) โดยก่อนหน้านี้ ในปี 2558 โรงไฟฟ้าแมนจุง โรงที่ 4 กำลังผลิต 1,000 เมกะวัตต์ ซึ่งใช้เทคโนโลยี USC เป็นโรงแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นชื่อว่าทันสมัยที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุด ได้เดินเครื่องเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นของบริษัท TNB เช่นกัน
โรงไฟฟ้าถ่านหิน Tanjung Bin
รูปจาก http://www.minconsult.com/div_13_p1.html#.VsaOErR96M8
นอกจากโรงไฟฟ้าถ่านหินแมนจุงแล้ว มาเลเซียยังมีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สำคัญๆ อยู่อีกหลายแห่งเช่น โรงไฟฟ้าจิมาห์(Jimah) กำลังผลิต 1,400 เมกะวัตต์ ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเลและติดป่าชายเลน ห่างจากรีสอร์ท Avani Sepang Gold Coast เพียง 4.7 กิโลเมตร และมีโรงไฟฟ้าถ่านหินแทนจุงบิน(Tanjung Bin) ตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุ่มน้ำ Tanjung Piai กำลังผลิตรวม 3,100 เมกะวัตต์
ตัวอย่างโรงไฟฟ้าถ่านหินในปัจจุบัน ของประเทศมาเลเซีย
ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคม 2559 มาเลเซียมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 25,437 เมกะวัตต์ ส่วนใหญ่หรือราว 20,460 เมกะวัตต์ เป็นกำลังผลิตที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมาเลเซีย ที่เหลือ 3,650 เมกะวัตต์อยู่ในรัฐซาบาร์ และ 1,327 เมกะวัตต์อยู่ในรัฐซาราวัค
กำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศมาเลเซีย และสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าบนคาบสมุทรมาเลเซีย
ข้อมูลจาก TNB https://www.tnb.com.my/assets/accolades/TNB_Handbook.pdf
สำหรับสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าบนคาบสมุทรมาเลเซีย มีการใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าสูงที่สุด ร้อยละ 49.3 รองลงมาเป็นก๊าซร้อยละ 46.5 ที่เหลือเป็นพลังน้ำ พลังงานหมุนเวียนและน้ำมัน
มาเลเซียมีแผนและเป้าหมายพลังงานที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าทั้งก๊าซและถ่านหิน โดยเน้นใช้เทคโนโลยีล่าสุด ตามแผนพัฒนาพลังงานของคาบสมุทรมาเลเซีย ในช่วงปี 2559-2566 มีแผนเพิ่มกำลังผลิตถ่านหิน 4,000 เมกะวัตต์ ก๊าซ 5,846 เมกะวัตต์ และน้ำ 830 เมกะวัตต์
แผนการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าของคาบสมุทรมาเลเซียในช่วงปี 2559-2566
https://www.iea.org/publications/insights/insightpublications/ReducingEmissionsfromFossilFiredGeneration.pdf
ส่วนในรัฐซาราวัคจะเน้นการเพิ่มกำลังผลิตจากน้ำมากกว่าก๊าซหรือถ่านหิน โดยคาดว่าจะเพิ่มกำลังผลิตถ่านหิน 1,500 เมกะวัตต์ ส่วนรัฐซาบาห์ซึ่งปัจจุบันไม่มีกำลังผลิตของถ่านหินอยู่ จะยังคงพึ่งพาการใช้ก๊าซเป็นหลักต่อไป
แปลและเรียบเรียง สุภร เหลืองกำจร
ที่มา TNB’s RM6bil Manjung 5 plant project on track for production