โรงไฟฟ้าจะนะ

ความเป็นมา

พลังงานไฟฟ้านับเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะที่รับผิดชอบต่อการจัดหา และผลิตพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ จึงวางแผนสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่เพื่อขยายกำลังผลิตเพิ่มขึ้น โครงการโรงไฟฟ้าจะนะจึงเป็นโครงการหนึ่งที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. พ.ศ. 2547 – 2558 เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าในภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่างซึ่งมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีการลงทุนค่อนข้างสูง ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคใต้เพิ่มขึ้น

เมื่อกำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าที่สามารถจ่ายได้ตลอดเวลามีน้อย กฟผ. จึงทำการถ่ายเทไฟฟ้าผ่านสายส่งไฟฟ้าแรงสูงจากภาคกลางมาช่วย หากภาคกลางมีปริมาณไฟฟ้าเหลือเพียงพอ

นอกจากนี้ได้ทำสัญญาซื้อไฟฟ้าจากมาเลเซียอีก 300 เมกะวัตต์ เพื่อใช้เป็นการแลกเปลี่ยน ซื้อขายพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มีความต้องการไฟฟ้าสูง เพื่อใช้เสริมพลังไฟฟ้าสำรองแก่กัน เพื่อช่วยเหลือกันในยามฉุกเฉิน และให้มีทางเลือกที่จะซื้อไฟฟ้าจากต้นทุนการผลิตของอีกฝ่ายหนึ่งที่ถูกกว่า รวมทั้งเป็นการสร้างความร่วมมือทางด้านพลังไฟฟ้าระหว่างกลุ่มประเทศ ASEAN ซึ่งระบบ HVDC ประกอบด้วย ระบบส่ง 300kV Direct Current ระยะทาง 110 กิโลเมตร (ฝั่งไทยยาว 25 กิโลเมตร และฝั่งมาเลเซียยาว 85 กิโลเมตร) เชื่อมโยงระหว่างสถานีไฟฟ้าแรงสูงคลองแงะ ประเทศไทย กับ สถานีไฟฟ้าแรงสูง Gurun ประเทศมาเลเซีย 

ทั้งนี้ กฟผ. และ TNB ได้มีการลงนามในสัญญาเชื่อมโยงระบบ System Interconnection Agreement (SIA 2002) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2545 โดยให้มีอายุสัญญา 25 ปี และเริ่มมีการแลกเปลี่ยน ซื้อขายไฟฟ้าผ่าน HVDC เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2545 

ภาคใต้จึงควรมีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคงมากขึ้น

กฟผ. เล็งเห็นว่าจังหวัดสงขลาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการลงทุนที่หลากหลาย และเป็นจังหวัดที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ประกอบกับเป็นจังหวัดที่มีแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ จากพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย ที่สามารถนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า

ข้อมูลเพิ่มเติม

ประวัติความเป็นมาโรงไฟฟ้าจะนะ

Skip to content