เขื่อนจุฬาภรณ์

(จ.ชัยภูมิ)

ความเป็นมา

แม้ว่ารัฐบาลจะได้เร่งพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเสร็จไปหลายโครงการแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำเป็นต้องเร่งหาแหล่งผลิตและสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติม ให้สามารถตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนได้อย่างเพียงพอ

          เขื่อนจุฬาภรณ์ เริ่มดำเนินการก่อสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2513 มีชื่อเดิมว่า “เขื่อนน้ำพรม” เป็นโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเรียกในสมัยก่อสร้างว่า “โครงการน้ำพรม” สร้างปิดกั้นลำน้ำพรมบนเทือกเขาขุนพาย บริเวณที่เรียกว่า ภูหยวก ในท้องที่ ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ งานก่อสร้างแล้วเสร็จและสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2515

          นอกจากนี้อ่างเก็บน้ำยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประโยชน์ต่อการชลประทานช่วยระบายน้ำเพื่อการเพาะปลูกในฤดูแล้งในพื้นที่การเกษตรตามลำน้ำพรม ประมาณ 50,300 ไร่ และตามลำน้ำเชิญ ประมาณ 20,800 ไร่ รวมทั้งบริเวณโดยรอบของที่ตั้งตัวเขื่อนมีทิวทัศน์สวยงามมาก มีอากาศเย็นสบายตลอดปี จนได้สมญาว่าเป็น “สวิตเซอร์แลนด์ของประเทศไทย”

          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนและโรงไฟฟ้า เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2516 พร้อมทั้งพระราชทานพระนามสมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ขนานนามเขื่อนว่า “เขื่อนจุฬาภรณ์”

ลักษณะเขื่อน

เขื่อนหินถมแกนกลางเป็นดินเหนียวบดอัดทับแน่นด้วยหินและกรวด
ความจุอ่างเก็บน้ำ
163.75
ล้านลูกบาศก์เมตร
พื้นที่อ่างเก็บน้ำ
12 ตารางกิโลเมตร
ความกว้างสันเขื่อน
8 เมตร
ความยาวสันเขื่อน
700 เมตร
ความสูงจากฐานราก
70 เมตร

ลักษณะโรงไฟฟ้า

อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
40 เมกะวัตต์
ผลิตพลังงานไฟฟ้า
ได้ปีละประมาณ
57 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

ติดต่อ

Skip to content