โรงไฟฟ้าแม่เมาะ

การจัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

จากการที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะใช้ถ่านลิกไนต์ในการผลิตไฟฟ้า กฟผ. ได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ น้ำ และดิน และความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง กฟผ. จึงได้มุ่งเน้นในการสำรวจและศึกษาทางนิเวศวิทยา ก่อนตัดสินใจดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งกล่าวได้ว่าในบรรดาโครงการต่างๆ ที่ กฟผ. ดำเนินการมา โรงไฟฟ้าแม่เมาะได้รับการสำรวจศึกษาและแก้ไขทางนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

การจัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

คุณภาพน้ำ

  • น้ำจากกระบวนการผลิตในโรงไฟฟ้าจะผ่านขบวนการบำบัดทางชีวภาพ โดย กฟผ. ขุดบ่อพักน้ำเป็นระยะๆ เพื่อให้สารแขวนลอยตะกอนรวมทั้งปลูกพืชดูดซับสารละลายที่เจือปนมาในน้ำ เติมอากาศในน้ำ และตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดปริมาณน้ำทิ้งจากการทำเหมือง นำกลับมาใช้เป็นน้ำหมุนเวียนในเขตเหมืองให้มากที่สุด และผ่านการบำบัดคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก่อนปล่อยลงสู่ลำน้ำสาธารณะ
  • ติดตามตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำทุกๆ 3 เดือน โดยเก็บตัวอย่างครอบคลุมทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน ต่อเนื่องกันเป็นประจำทุกปี

คุณภาพอากาศ

  • ตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองรวม (TSP) ,ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM-10) และฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM-2.5) บริเวณพื้นที่ชุมชนรอบ กฟผ.แม่เมาะ โดยมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของ กฟผ.แม่เมาะ จำนวน 16 สถานี สถานีตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษจำนวน 3 สถานี จากจุดตรวจวัดเครื่องจะรายงานผลเข้าสู่ห้องควบคุมในโรงไฟฟ้า และรายงานเป็นระบบออนไลน์ไปยังโรงพยาบาลแม่เมาะ และกรมควบคุมมลพิษ หากพบว่ามีค่าความเข้มของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินมาตรฐาน กฟผ. จะลดการเดินเครื่องลงทันที
  • ติดตั้งเครื่องดักจับฝุ่นที่โรงไฟฟ้า มีประสิทธิภาพร้อยละ 89.5 – 99.7 เพื่อกรองฝุ่นจากการเผาไหม้ถ่านลิกไนต์ก่อนที่จะระบายอากาศทางปล่องควัน
  • ติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่โรงไฟฟ้าเครื่องที่ 8-13 และโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 1 (MM-T1) ซึ่งสามารถกำจัดก๊าซฯ ได้ถึงร้อยละ 95
  • ฉีดพ่นน้ำบนถนนเป็นประจำ เพื่อลดฝุ่นและพรมน้ำลงบนวัสดุที่มีการฟุ้งกระจายขณะขนถ่าย

คุณภาพเสียง

  • ตรวจวัดแหล่งกำเนิดเสียงภายในโรงไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และบริเวณใกล้เคียงโรงไฟฟ้าเพื่อควบคุมให้อยู่ในระดับที่เป็นมาตรฐาน

คุณภาพกลิ่น

  • กฟผ. มีมาตรการควบคุมกลิ่นโดยควบคุมปริมาณถ่านหินสำรองไม่ให้มีมากเกินไป โดยกำหนดให้ใช้ถ่านหินที่บดแล้วให้หมดภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อลดการลุกติดไฟด้วยตนเอง
  • ติดตั้งอุปกรณ์ Infrared Thermography (IR) มาช่วยตรวจสอบพื้นที่ที่มีแนวโน้มติดไฟ และหากพบจุดที่เสี่ยงติดไฟทีมงานจะเข้าดำเนินการควบคุมทันที

แรงสั่นสะเทือน

  • กฟผ. ดำเนินการตรวจวัดแรงสั่นสะเทือน บริเวณพื้นที่ชุมชนโดยรอบจำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหัวฝาย บ้านหางฮุง และบ้านห้วยคิง ผลที่ได้จากการตรวจวัดได้มีการรายงานให้กับตัวแทนของหมู่บ้าน

กองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า

  • กองทุนเฝ้าระวังสุขภาพประชาชนโครงการเหมืองแร่หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมเคมี
  • กองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมเคมี

การโยกย้ายราษฎร

  • การดำเนินงานเหมืองและการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก กฟผ. ได้ใช้งบประมาณจำนวนมากในการจัดหาพื้นที่ใหม่เพื่อให้ราษฎรสามารถใช้เป็นที่ทำกินได้อย่างต่อเนื่อง การโยกย้ายที่อยู่แต่ละครั้งราษฎรจะได้รับเงินทดแทนอย่างยุติธรรม ตามหลักเกณฑ์ได้รับการจัดสรรที่ทำกิน และมีที่อยู่ใหม่อันเหมาะสมภายในบริเวณที่จัดสรรจะมีสาธารณูปโภคครบครัน เช่น น้ำ ไฟฟ้า ถนน โรงกรองน้ำ โรงเรียน โรงพยาบาล ศูนย์ราชการ ที่ทำการไปรษณีย์ตลาดสด รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมอาชีพต่างๆ จนทำให้หมู่บ้านอพยพท่าปะตุ่น-นาแขม ได้รับการชมเชยจากตัวแทนธนาคารโลกว่า “เป็นชุมชนตัวอย่างของโลกเพราะมีความสมบูรณ์แบบในทุกด้าน”

โครงการและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โรงไฟฟ้าแม่เมาะ

  1. โครงการสนับสนุนจัดตั้งป่าชุมชนในท้องที่ อ.แม่เมาะ
  2. โครงการศึกษาเรียนรู้ชุมชน (Social Mapping)
  3. โครงการส่งเสริมดนตรีไทยพื้นบ้าน
  4. โครงการพัฒนางานด้านชุมชน
  5. โครงการเปิดบ้านต้อนรับผู้อาวุโสอำเภอแม่เมาะ
  6. โครงการส่งเสริมกีฬาฟุตบอลและวอลเลย์บอลให้เยาวชน
  7. โครงการเสริมสร้างเครือข่ายพันธมิตรจิตอาสา
  8. โครงการเสริมสร้างองค์ความรู้การทำงานชุมชนแบบมีส่วนร่วมในงานสื่อสารสาธารณะ
  9. กิจกรรมออกหน่วยบริการสุขภาพเคลื่อนที่

โครงการสาธารณะประโยชน์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ

  1. การจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ
  2. การจัดตั้งศูนย์อาชีวเวชศาสตร์ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
  3. จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา (เหมืองแม่เมาะ)
  4. ปรับภูมิทัศน์บริเวณด้านบนของลานกองดินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นทุ่งบัวตองจำนวน 500 ไร่
  5. จัดงานแม่เมาะฮาล์ฟมาราธอน และเทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชาวอำเภอแม่เมาะและจังหวัดลำปาง เป็นกิจกรรมที่จัดต่อเนื่องทุกปีและเป็นกิจกรรมที่ได้รับการบรรจุให้เป็นกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง
  6. ปรับภูมิทัศน์และฟื้นฟูสภาพเหมือง โดยจัดให้มีสนามกอล์ฟเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับราษฎร

ข้อมูลเพิ่มเติม
กฟผ. แม่เมาะ กับการจัดการสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม เหมืองแม่เมาะ

รางวัล

ปี 2564 :
กฟผ. เหมืองแม่เมาะ รับรางวัล CSR-DPIM 10 ปีต่อเนื่อง
กฟผ. เหมืองแม่เมาะ ได้รับรางวัลโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานให้มีมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM) ต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี นับตั้งแต่เริ่มมีการมอบรางวัล ในปี 2553 โดยผ่านเกณฑ์การพิจารณาจาก กพร. ที่กำหนด

ปี 2562 :
ASEAN Coal Awards 2019
กฟผ. สร้างชื่อเสียงแก่ประเทศไทยในฐานะ “องค์กรที่มีความเป็นเลิศในกิจการถ่านหินของอาเซียน” ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 รางวัล ประเภท CCT Utilization, CSR และ Special Submission และรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง 1 รางวัล ประเภท CSR

Thailand Green and Smart Mining Awards 2019
กฟผ. ได้รับรางวัล Thailand Green and SmartMining Awards 2019โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Skip to content