โรงไฟฟ้าน้ำพอง

( จ. ขอนแก่น )

ความเป็นมา

โรงไฟฟ้าน้ำพอง ปัจจุบันเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดของภาคะวันออกเฉียงเหนือ อีกทั้งยังเป็นโรงไฟฟ้าแห่งเดียวในภูมิภาคนี้ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า

การสำรวจหาปิโตรเลียมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2522 โดยบริษัท เอสโซ่เอ็กซพลอเรชั่น แอนด์ โปรดักชั่น โคราช อินคอร์ปอเรชั่น (ESSO Exploration and Production KhoratIncorporation) เป็นผู้ได้รับสัมปทานการสำรวจขุดเจาะ จากการสำรวจทางธรณีวิทยาพบว่าในพื้นที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร ของจังหวัดอุดรธานี และขอนแก่น มีแหล่งปิโตรเลียมอยู่ประมาณ 10 แห่ง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ได้ทำการสำรวจพบก๊าซที่ระดับความลึก 4,000 เมตร ที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีปริมาณสำรองประมาณ 1.5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต บริษัทจึงได้เจรจาซื้อขายกับรัฐบาล และกำหนดแผนการพัฒนาแหล่งก๊าซน้ำพองเป็น 2 ระยะ

โดยระยะแรกจะเป็นการทดสอบหลุมก๊าซ เพื่อประเมินปริมาณสำรองที่แน่นอนและเตรียมการพัฒนาการผลิตก๊าซในระยะยาว และระยะหลังของแผนจะเป็นการผลิตในเชิงพาณิชย์

ในระยะ 3 ปีแรก บริษัทสามารถผลิตก๊าซได้ประมาณวันละ 30 -60 ล้านลูกบาศก์ฟุต โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าวันละ 40 ล้านลูกบาศก์ฟุต จากหลุมน้ำพอง 1 และ 2 ซึ่งได้ทำการเจาะไว้แล้ว และจากหลุมที่ 4 – 5 ซึ่งบริษัทเจาะเพิ่มเติมกลางปี 2532 โดยช่วงนี้จะทำการตรวจสอบความดันของหลุมก๊าซ รวมทั้งขีดความสามารถในการผลิต เมื่อผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจ จึงได้เริ่มผลิตก๊าซในเชิงพาณิชย์ในระยะยาวซึ่งบริษัทยืนยันที่จะผลิตก๊าซในระดับประมาณวันละ 65 ล้านลูกบาศก์ฟุต เป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 15 ปี กฟผ. จึงได้ทำการศึกษาเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งดังกล่าวเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า

หลังจากทำการศึกษาความเหมาะสมและทบทวนอีกหลายครั้ง กฟผ. จึงเสนอโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 แก่รัฐบาล โดยได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2532 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือน 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 ชุดที่ 2 ได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2534 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือน 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2535

Skip to content