โรงไฟฟ้าน้ำพอง

การจัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

ด้วยการคำนึงถึงความผาสุกและผลประโยชน์ของชุมชนและสังคมในวงกว้าง จึงได้ดำเนินงานในการเสริมสร้างความสมบูรณ์ให้กับระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (CSR after Process) ผ่านการจัดกิจกรรมตามสมรรถนะหลักด้านสร้างการยอมรับให้กับสังคม อาทิ

  1. สนับสนุนสินค้าชุมชนเพื่อใช้เป็นสื่อที่ระลึกในโอกาสสำคัญ
  2. การจ้างแรงงานในท้องถิ่นเข้ามาทำงานในโรงไฟฟ้า
  3. ส่งเสริมให้มีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้าในโรงไฟฟ้า หรือ พื้นที่ กฟผ.
  4. โครงการส่งเสริมอาชีพ ด้วยการอบรม ศึกษาดูงาน
  5. โครงการส่งเสริมภูมิปัญญา-วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
  6. มอบผ้าห่มกันหนาวให้กับชุมชนเพื่อช่วยภัยหนาว
  7. สนับสนุนน้ำอุปโภค-บริโภคเพื่อช่วยภัยแล้ง
  8. การส่งเสริมด้านสาธารณประโยชน์
  9. โครงการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมโดยการอนุรักษ์พลังงาน อนุรักษ์ลำน้ำพอง การปลูกต้นไม้ การปล่อยปลาในลำคลองสาธารณะ ส่งเสริมการใช้จุลินทรีย์ในภาคครัวเรือน-สถานศึกษา และเกษตรกรรม
  10. ส่งเสริมด้านการศึกษาโดยมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าน้ำพองและบุตร-ธิดาผู้ปฏิบัติงานจ้างเหมาในโรงไฟฟ้าน้ำพอง ซึ่งเป็นแรงงานในท้องถิ่น
  11. การเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าให้กับผู้ที่สนใจทั่วประเทศ

ประโยชน์

  1. เพิ่มแหล่งผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น
  2. ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  3. ลดการส่งถ่ายพลังไฟฟ้าจากภาคเหนือและภาคกลางไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือลงได้มาก ทำให้การสูญเสียพลังงานไฟฟ้าในระบบส่งน้อยลงได้
  4. เป็นการกระจายงานสู่ท้องถิ่น เพิ่มรายได้ให้แก่ประชากร

Skip to content