เขื่อนปากมูล

(จ.อุบลราชธานี)

ความเป็นมา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลำน้ำสายสำคัญที่สุดอยู่แหล่งหนึ่ง คือ “แม่น้ำมูล” จัดเป็นแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำไหลมากเป็นอันดับ 2 รองจากแม่น้ำเจ้าพระยา สำนักงานพลังงานแห่งชาติ ปัจจุบัน คือ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พพ.) และ กฟผ. ได้ร่วมทำการสำรวจและศึกษาเพิ่มเติมพบว่าสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำดังกล่าวได้ ประกอบกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณมาก ทำให้ต้องมีการรับไฟฟ้ามาจากภาคกลางและภาคเหนือ รวมทั้งซื้อจากการไฟฟ้าลาว ทำให้ระบบไฟฟ้าขาดความมั่นคง เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาไฟดับ จึงได้วางแผนก่อสร้าง “เขื่อนปากมูล” ที่บริเวณบ้านหัวเห่ว อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

          เขื่อนปากมูลได้ออกแบบเป็นเขื่อนทดน้ำ เพื่อทดน้ำในแม่น้ำมูลให้สูงขึ้น สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการชลประทาน ส่งเสริมการทำอาชีพประมงและการเกษตร โดย กฟผ. ได้จัดทำบันไดปลาโจน เพื่อให้ปลาจากแม่น้ำโขงสามารถว่ายขึ้นไปวางไข่ในแม่น้ำมูลได้ พร้อมทั้งก่อสร้างศูนย์ประมง เพื่อเพาะขยายและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ราษฎร

          เขื่อนปากมูลได้เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2533 แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2537 สามารถสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างคุ้มค่า อีกทั้งยังเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ช่วยเสริมความมั่นคงแก่ระบบไฟฟ้าในภูมิภาคนี้ ปัจจุบันมีขนาดกำลังผลิตตามสัญญา 136 เมกะวัตต์

ลักษณะเขื่อน

เขื่อนคอนกรีตบดอัดแน่น
เขื่อนทดน้ำมีลักษณะเหมือนฝายน้ำล้นไม่ใช่เขื่อนกักเก็บน้ำ
อัตราการระบายน้ำสูงสุด
18,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ความกว้างสันเขื่อน
6 เมตร
ความยาวสันเขื่อน
300 เมตร
ความสูงจากฐานราก
17 เมตร

ลักษณะโรงไฟฟ้า

อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
136 เมกะวัตต์
ผลิตพลังงานไฟฟ้า
ได้ปีละประมาณ
280 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
ควบคุมด้วย remote control จากเขื่อนสิรินธร

ติดต่อ

Skip to content