โรงไฟฟ้าพระนครใต้

การจัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

คุณภาพอากาศ

โรงไฟฟ้าพระนครใต้ ป้องกันและควบคุมการเกิดมลพิษและสารเจือปนในอากาศให้น้อยที่สุด ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อทำให้อากาศที่ปล่อยออกจากโรงไฟฟ้ามีคุณภาพดี และมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตรวจสอบคุณภาพของอากาศ แบบต่อเนื่องและแบบครั้งคราว โดยดำเนินการป้องกันและลดผลกระทบทางอากาศ ดังนี้

• ควบคุมมลพิษอากาศโดยใช้ระบบฉีดน้ า (Water Injection) เข้าไปในห้องเผาไหม้

• ติดตั้ง Dry Low NOxBurner เพื่อลดการเกิดก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน

• ควบคุมอัตราการระบายมลพิษทางอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐาน

• ติดตั้งระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศแบบต่อเนื่อง (CEMS) ที่ปล่องของโรงไฟฟ้า เพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศตลอดเวลาที่มีการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า

• ตรวจวัดก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และฝุ่นละอองที่ระบายออกจากปล่องโรงไฟฟ้า และเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานที่กฎหมายระบุ และที่ EIA กำหนด

• ติดตั้งจอแสดงผลตรวจวัดก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนและออกซิเจน บริเวณทางเข้าโรงไฟฟ้า และด้านหน้าโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ชุดที่ 3 ด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้ประชาชนรับทราบ

• ฉีดพรมน้ำที่พื้นถนนในบริเวณโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทน และพื้นถนนโดยรอบโรงไฟฟ้าเพื่อลดปริมาณฝุ่นละออง

ระดับเสียง

โรงไฟฟ้าพระนครใต้ ป้องกันและควบคุมให้ระดับเสียงมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์เพื่อช่วยในการลดเสียงที่ต้นกำเนิด บำรุงรักษาและตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ดังนี้

• จัดให้มีป้ายหรือสัญลักษณ์เตือนบริเวณพื้นที่ที่มีเสียงดังเกิน 80 เดซิเบลเอ

• กำหนดพื้นที่เสียงดัง พร้อมติดป้ายเตือนผู้เข้าไปทำงาน ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง เพื่อความปลอดภัย

• ติดตั้งชุดลดเสียง (Silencer) ที่ปลายท่อระบายความดันไอน้ำของหม้อไอน้ำ

• กำหนดให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีเสียงดัง มีค่าระดับเสียงไม่เกิน 85 เดซิเบลเอ ที่ระยะห่าง 1 เมตร

คุณภาพน้ำ

โรงไฟฟ้าพระนครใต้ใช้น้ าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และป้องกันการเกิดมลพิษทางน้ำเพื่อให้คุณภาพน้ำมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดย

• บำบัดน้ำทิ้งจากทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในโรงไฟฟ้า

• ติดตั้งระบบติดตามตรวจสอบค่าอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นก่อนระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

• น้ำทิ้งจากการล้างเครื่องจักรอุปกรณ์ซึ่งปนเปื้อนน้ำมัน จะนำไปผ่านบ่อดักน้ำมัน เพื่อแยกน้ำมันออกจากน้ำ ก่อนระบายน้ำสู่บ่อพักน้ำทิ้ง

• ภายหลังการบำบัด น้ำทิ้งจะถูกนำไปกักเก็บไว้ในบ่อพักน้ำทิ้ง และนำมาใช้ประโยชน์ซ้ำภายในโรงไฟฟ้า เช่น รดน้ำต้นไม้ รดสนามหญ้า และล้างพื้นถนน เป็นต้น

• ตรวจวัดคุณภาพน้ำตามจุดต่างๆ เช่น คลองบางฝ้าย คลองบางโปรง แม่น้ำเจ้าพระยาทั้งเหนือและใต้จุดระบายน้ำหล่อเย็น เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งให้มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

นิเวศวิทยาแหล่งน้ำ

โรงไฟฟ้าพระนครใต้มีโครงการอนุรักษ์สัตว์น้ำ และแหล่งน้ำร่วมกับชุมชนรอบโรงไฟฟ้า เพื่อพัฒนาและอนุรักษ์นิเวศวิทยาแหล่งน้ำให้อุดมสมบูรณ์ ดังนี้

• ติดตั้งตะแกรงขนาดต่างๆ บริเวณจุดสูบน้ำ เพื่อลดปริมาณสิ่งมีชีวิตที่จะถูกดูดเข้าไปในระบบหล่อเย็น

• ร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์ระบบนิเวศกับชุมชน เช่น เก็บขยะตามคลอง การปลูกป่าชายเลนในพื้นที่สาธารณะ ริมคลอง แม่น้ำเจ้าพระยา และพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม มีการปล่อยพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำท้องถิ่นลงคลองบางฝ้าย และคลองบางโปรง

การจัดการของเสีย

โรงไฟฟ้าพระนครใต้มีการดำเนินการเรื่องการจัดการและควบคุมของเสียที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและกฎหมาย โดย

• คัดแยกขยะมูลฝอยจากอาคารสำนักงาน และเก็บรวบรวมไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิดถูกสุขลักษณะ โรงไฟฟ้าว่าจ้างหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตมาเก็บรวบรวมเพื่อนำไปกำจัดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไป

• สิ่งปฏิกูล ของที่ไม่ใช้แล้ว และกากของเสียจากกระบวนการผลิต เช่น กากเรซินที่เสื่อมสภาพจากระบบผลิตน้ำปราศจากแร่ธาตุ น้ำมันใช้แล้ว หรือน้ำมันจากบ่อดักไขมัน จะถูกคัดแยกตามประเภทของเสียไว้ในภาชนะที่เหมาะสม

• เมื่อรวบรวมจนมีปริมาณที่เหมาะสมแล้วจะแจ้งหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการมารับไปดำเนินการและกำจัดต่อไป

• มีการเก็บข้อมูล ปริมาณ ชนิด การขนส่ง และการจัดการกากของเสียอย่างต่อเนื่อง ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานและกฎหมายของทางราชการ

Skip to content