เขื่อนศรีนครินทร์

ลักษณะเขื่อนและโรงไฟฟ้า


ลักษณะเขื่อน

ลักษณะเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว
ความสูงจากฐานราก140 เมตร
ความยาวสันเขื่อน610 เมตร
ความกว้างสันเขื่อน15 เมตร
พื้นที่อ่างเก็บน้ำ419 ตารางกิโลเมตร
ความจุอ่างเก็บน้ำ17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร
ลักษณะเฉพาะเขื่อนศรีนครินทร์เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียวที่สามารถกักเก็บน้ำได้มากที่สุดในประเทศไทย

ลักษณะโรงไฟฟ้า

ลักษณะโรงไฟฟ้าอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
จำนวนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า5 เครื่อง
เครื่องที่ 1-3 กำลังผลิตเครื่องละ 120 เมกะวัตต์
เครื่องที่ 4-5 (ระบบสูบกลับ) กำลังผลิตเครื่องละ 180 เมกะวัตต์
รวมกำลังผลิตตามสัญญา720 เมกะวัตต์
ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ1,250 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

** เนื่องจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีการใช้งานมาอย่างยาวนาน เขื่อนศรีนครินทร์ได้ทำการปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนศรีนครินทร์เครื่องที่ 1 หลังจากปลดออกจากระบบเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2563 โดยทำพิธีขนานเครื่องฯ เข้าระบบเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564

ข่าว โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนศรีนครินทร์เครื่องที่ 1 พร้อมจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ เสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อน

กฟผ. มีขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อรองรับการเกิดแผ่นดินไหว ตั้งแต่เริ่มการออกแบบตัวเขื่อน การก่อสร้าง การใช้งานและการบำรุงรักษา โดยมีมาตรการตรวจสอบและเฝ้าระวังเพื่อความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอตามหลักมาตรฐานสากล

เขื่อน ของ กฟผ. ถูกออกแบบให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนได้ถึง 0.1 จี

การตรวจสภาพเขื่อนดำเนินการโดยคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยของเขื่อน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจาก กฟผ. และมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ โดยยึดมาตรฐานสูงสุดด้านวิศวกรรมของสมาคมเขื่อนใหญ่ระหว่างประเทศเป็นเกณฑ์อ้างอิง จึงมั่นใจได้ว่าเขื่อน กฟผ. ทุกแห่งมีความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย

Skip to content