เขื่อนท่าทุ่งนา

(จ.กาญจนบุรี)

ความเป็นมา

เขื่อน คือ องค์ประกอบส่วนหนึ่งในการพัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าทั้งในด้านการชลประทาน การเกษตร และการผลิตไฟฟ้า ตลอดจนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในภูมิภาคนั้น ๆ ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้

          เมื่อมองถึงความคุ้มค่า “เขื่อนท่าทุ่งนา” หนึ่งในแผนพัฒนาลุ่มน้ำแควใหญ่ ถือได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากลุ่มน้ำแควใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวเขื่อนตั้งอยู่บริเวณท้ายเขื่อนศรีนครินทร์ ทำหน้าที่เป็นอ่างเก็บน้ำตอนล่างคอยควบคุมปริมาณน้ำที่ปล่อยมาจากเขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งสามารถนำน้ำที่ใช้แล้วจากการผลิตกระแสไฟฟ้าของเขื่อนศรีนครินทร์ กลับมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกครั้ง อีกทั้งยังสามารถสูบน้ำจากเขื่อนท่าทุ่งนากลับไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกครั้งที่เขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งจะช่วยเสริมการผลิตไฟฟ้าให้กับเขื่อนศรีนครินทร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาระดับน้ำในแม่น้ำแควใหญ่ทางด้านท้ายน้ำที่สูงขึ้น เนื่องจากการปล่อยน้ำของเขื่อนศรีนครินทร์ โดยสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2524 และกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ตามลำดับ โดยมีพิธีเปิดเขื่อนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2525 ปัจจุบันมีขนาดกำลังผลิตตามสัญญา 39 เมกะวัตต์

ลักษณะเขื่อน

เขื่อนหินถมแกนดินเหนียวผสมกับเขื่อนคอนกรีต
ความจุอ่างเก็บน้ำ
54.80 ล้านลูกบาศก์เมตร
ความยาวอ่างเก็บน้ำ
25 กิโลเมตร
ความกว้างสันเขื่อน
8 เมตร
ความยาวสันเขื่อน
840 เมตร
ความสูงจากฐานราก
30 เมตร
สามารถนำน้ำที่ใช้ผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนศรีนครินทร์มาผลิตไฟได้อีก
และสามารถสูบน้ำจากเขื่อนท่าทุ่งนา กลับไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
ได้อีกครั้งที่เขื่อนศรีนครินทร์

ลักษณะโรงไฟฟ้า

อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
39 เมกะวัตต์
ผลิตพลังงานไฟฟ้า
ได้ปีละประมาณ
170 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

ติดต่อ

Skip to content