“บางปะกงโมเดล” เข้าถึงประชาชนเหมือนคนบ้านเดียวกัน การันตีด้วยรางวัล SOE Awards 2566

“บางปะกงโมเดล” เข้าถึงประชาชนเหมือนคนบ้านเดียวกัน การันตีด้วยรางวัล SOE Awards 2566          โรงไฟฟ้าบางปะกง เสาหลักระบบผลิตไฟฟ้า รองรับการเติบโตของเขตอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกของประเทศไทย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง แม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชุมชน ด้วยระบบนิเวศน้ำกร่อยของปากแม่น้ำบางปะกงที่มีน้ำจืดและน้ำเค็มผสมกัน ส่งผลให้มีความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสูง ชุมชนโดยรอบจึงมีอาชีพหลักด้วยการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังและทำประมงพื้นบ้าน นอกจากการผลิตไฟฟ้าแล้ว อีกบทบาทหนึ่งของโรงไฟฟ้าบางปะกงก็คือ การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ร่วมทุกข์ ร่วมสุข เมื่อมีปัญหาร่วมแก้ไขจนเป็นที่มาของ “บางปะกงโมเดล” ที่เพิ่งได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2566 ประเภทรางวัลการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น โครงการบางปะกงโมเดล          จากการที่ได้พบเห็นปัญหาด้านต่างๆของชุมชนปากแม่น้ำบางปะกง กฟผ. จึงได้ตระหนักว่า การฟื้นฟูและอนุรักษ์ระบบนิเวศลุ่มน้ำบางปะกงซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าจะทำให้ชุมชนอยู่ได้อย่างยั่งยืน โครงการพัฒนาหลากหลายโครงการจึงเกิดขึ้นเพื่อมุ่งฟื้นฟูและอนุรักษ์ระบบนิเวศของแม่น้ำบางปะกง โดยผนึกกำลังร่วมกับชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนโดยเฉพาะเยาวชนให้รักท้องถิ่นบ้านเกิดเพื่อช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากร ควบคู่ไปกับการส่งเสริมอาชีพและพัฒนาผลิตภัณฑ์บนฐานทรัพยากรท้องถิ่นและการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งผลสำเร็จของโครงการต่าง ๆ ได้นำไปสู่ “บางปะกงโมเดล” ต้นแบบโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และ สิ่งแวดล้อม ที่ทำให้ กฟผ. สามารถ“เข้าถึงประชาชน เหมือนคนบ้านเดียวกัน” กู้วิกฤตปลากะพงขาว สู่ศูนย์เรียนรู้บ้านลุงทิน          นายยงยุทธ ชื่นสมบูรณ์ ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังปากแม่น้ำบางปะกง […]

EGAT

5 March 2024

ลบรอยเขม่าจากเถ้าถ่าน คืนชีวิตบ้านควนต่อด้วยผืนป่าชายเลน

ลบรอยเขม่าจากเถ้าถ่าน คืนชีวิตบ้านควนต่อด้วยผืนป่าชายเลน           ป่าชายเลนผืนใหญ่ที่เขียวขจีสุดลูกหูลูกตาในอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง หลังจากชาวบ้านในชุมชนบ้านควนต่อ ตำบลคลองเขม้า อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ต้องใช้ระยะเวลากว่า 15 ปี เพื่อพลิกฟื้นผืนป่าชายเลนแห่งนี้ ด้วยความหวังที่จะเปลี่ยนชะตาชีวิตและเอาชนะความยากจนจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายอย่างหนักในอดีต ทั้งจากการบุกรุกทำนากุ้งและตัดไม้โกงกางเพื่อเผาถ่าน           “ในอดีตป่าชายเลนมีเป็นพันไร่ แต่โรงเผาถ่านมีมากกว่าสิบแห่ง ป่าก็เริ่มหมดสภาพ พอหลังปี 2540 รัฐยกเลิกสัมปทานห้ามตัดไม้เผาถ่าน ชาวบ้านไม่รู้จะทำอะไรเลยหันมาทำเตาเผาถ่านกันเอง ทำให้ป่าชายเลนยิ่งเสื่อมโทรมหนัก ต้นโกงกางแต่ละต้นสูงไม่ถึง 2 เมตร เพราะโดนตัดหมด ยิ่งนายทุนนากุ้งเริ่มเข้ามาซื้อที่ดินก็ยิ่งรุกป่าชายเลน บางคนซื้อที่ดิน 5 ไร่แต่บุกป่าชายเลนไป 20-30 ไร่ จากสิบเจ้าเป็นร้อยเจ้า ป่าก็เลยหมดสภาพ สัตว์น้ำอะไรก็ไม่ค่อยมี ชาวบ้านก็ยิ่งลำบาก” นายสมาแอ หวังสง่า หัวหน้าประธานกลุ่มชุมชนประมงท้องถิ่น กลุ่มรักษ์ปลาเก๋าบ้านควนต่อ เล่าให้เราฟังถึงชีวิตความเป็นอยู่และสภาพป่าชายเลนของบ้านควนต่อในอดีตที่หม่นหมองไม่ต่างจากคราบเขม่าของควันไฟที่พวยพุ่งมาจากเตาเผาถ่าน           ในปี 2548 ชาวบ้านในชุมชนบ้านควนต่อ หันมาร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ปลูกป่าชายเลนเพื่อเป็นป่าชุมชนจำนวน 500 ไร่ โดย กฟผ. สนับสนุนงบประมาณในการปลูกและบำรุงรักษาอีก 5 ปี […]

Rapheephat Toumsaeng

25 July 2022

“ปลูกป่าในใจคน” หัวใจของการฟื้นป่าที่หยั่งรากลึกทั่วอ่าวทุ่งคา-สวี ป่าชายเลนผืนใหญ่ของไทย

“ปลูกป่าในใจคน” หัวใจของการฟื้นป่าที่หยั่งรากลึกทั่วอ่าวทุ่งคา-สวี ป่าชายเลนผืนใหญ่ของไทย           มรสุมที่โหมกระหน่ำเหนืออ่าวทุ่งคา จังหวัดชุมพร ทำให้เกลียวคลื่นซัดเข้าหาชายฝั่งอย่างบ้าคลั่ง ก่อนที่จะค่อย ๆ สลายหายไปกับแนวต้นโกงกาง หลงเหลือไว้เพียงความชุ่มชื้นที่ถูกโอบอุ้มไว้ด้วยป่าชายเลนผืนใหญ่แห่งนี้                     ปัจจุบันป่าชายเลนอ่าวทุ่งคา-สวี นับเป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ แต่ไม่น่าเชื่อว่าพื้นที่บริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นพื้นที่นากุ้งเสื่อมโทรมที่ต้องใช้เวลาพลิกฟื้นมากกว่า 20 ปี ผืนป่าเขียวขจีด้วยฝีมือมนุษย์           “บริเวณนี้ก่อนจะมีอุทยาน เดิมเป็นบ่อปลา บ่อกุ้ง ต้นไม้อะไรก็ไม่มี สัตว์น้ำก็ไม่มีที่อยูอาศัย ชาวบ้านก็ไม่กล้าเข้าไปเพราะเป็นที่ของนายทุน” คำบอกเล่าของโยธิน อ่ำมา หรือ บัวลอย ชาวประมงที่เติบโตในอ่าวทุ่งคาสะท้อนถึงอดีตที่ไม่สวยงาม ไม่มีแม้แต่ภาพฝันของผืนป่าที่จะเติบโตขึ้นได้ในอ่าวทุ่งคาแห่งนี้           จนกระทั่งเมื่อปี 2542 อ่าวทุ่งคาได้ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรจึงเริ่มเกิดการฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างจริงจัง นายมรกต โจวรรณถะ ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร พาพวกเราเข้าไปสำรวจเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนที่อยู่ติดกับที่ทำการอุทยานซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นบ่อกุ้ง แต่ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ ชาวบ้าน และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันฟื้นฟูจนกลายเป็นป่าชายเลนอีกครั้ง           ผืนป่าฝีมือมนุษย์ที่เราเห็นกลายเป็นผืนป่าชายเลนขนาดใหญ่ที่อุดมไปด้วยธาตุอาหารจากการทับถมของตะกอนที่พัดพามาจากคลองสายต่าง ๆ ปกคลุมไปด้วยร่มเงาของต้นโกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ที่เรียงตัวกันแน่นทึบจนกลายเป็นแหล่งพักพิงของทั้งปูแสม ปลาตีน สัตว์น้ำวัยอ่อน ลิงแสม รวมถึงนกนานาชนิด ปลูกป่าในใจคน           นอกจากผืนป่าโดยรอบที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรแล้ว ยังมีพื้นป่าอีกกว่า 2,700 […]

Rapheephat Toumsaeng

21 June 2022
Skip to content