ชีววิถี กฟผ. เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ชีววิถี กฟผ. เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนชุมชนด้วยแนวทาง “ชีววิถี” กว่า 20 ปี ของการดำเนินโครงการฯ กฟผ. ได้วางแนวทางการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบด้วยแนวคิดทาง “ชีววิถี” สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดการเกื้อกูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพึ่งพากันในชุมชน โดยในปัจจุบันมีชุมชนไม่น้อยกว่า 300 แห่งทั่วประเทศที่ได้นำแนวทางนี้ไปปฏิบัติใช้ และ เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน “เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง” Timeline การดำเนินงานโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน        “…ความจริงเคยพูดเสมอในที่ประชุมอย่างนี้ว่า การที่จะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญที่เราอยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตนเอง        อันนี้เคยบอกว่าความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่ให้ตัวเองสำหรับครอบครัว อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้าน หรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควรบางสิ่งบางอย่างผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้แต่ในที่ไม่ห่างไกลเท่าไรไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก        อย่างนี้นักเศรษฐกิจต่างๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัย จริงอาจจะล้าสมัยเพราะว่าคนอื่นเขาก็ต้องมีการเศรษฐกิจที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่าเป็นเศรษฐกิจการค้า ไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง รู้สึกไม่หรูหรา แต่ประเทศไทยเป็นที่มีบุญอยู่ว่าการผลิตที่พอเพียงทำได้…. เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2541 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จประทับเขื่อนสิรินธรและเสด็จเยี่ยมหมู่บ้านโนนสวรรค์ ต.นาโพธิ์กลาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี มีพระราชเสาวนีย์ ว่า “มาที่นี่ได้ความรู้ […]

EGAT

19 February 2024

“โคก หนอง นาโมเดล”ทางรอดสู่ “ความยั่งยืน” ด้วย “ความพอเพียง”

“โคก หนอง นาโมเดล”ทางรอดสู่ “ความยั่งยืน” ด้วย “ความพอเพียง”           ในวันที่ทั่วโลกเผชิญกับการล็อคดาวน์อย่างหนัก ต้องกักตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันที่เคยเป็นเรื่องง่าย ๆ อย่างการออกไปหาซื้ออาหารก็กลับกลายเป็นเรื่องยุ่งยากจนนำมาสู่จุดเปลี่ยนของใครหลายคนที่ต้องการหันมาพึ่งพาตนเองเพื่อเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นทางรอด           “โคก หนอง นา โมเดล” ถือเป็นแนวคิดในการออกแบบพื้นที่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งรัชกาลที่ 10 ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอดโดยเป็นการทำเกษตรในพื้นที่จำกัด กักเก็บน้ำไว้ทั้งบนดินและใต้ดิน แต่สามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างเห็นผลการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงจัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ 7 เขื่อนพระนาม 3 โรงไฟฟ้าได้แก่ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ เขื่อนวชิราลงกรณ และเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ และเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง โรงไฟฟ้าบางปะกง จ.ฉะเชิงเทราและโรงไฟฟ้าวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่“โคก หนอง นา โมเดล” ในการจัดสรรที่ดินสำหรับบริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร เปลี่ยนแนวคิดสู่การทำเกษตรอินทรีย์แบบไม่ใช้สารเคมีและสร้างความเข้าใจในการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ […]

Rapheephat Toumsaeng

25 December 2021
Skip to content