ความเป็นมาโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน

ความเป็นมาโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เห็นความสำคัญในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เกิดใหม่ทดแทนได้อีก และช่วยลดการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน) ในประเทศไทยยังมีศักยภาพด้านพลังงานหมุนเวียนอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับ กฟผ. ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงมีการศึกษาและการดำเนินการโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) เพื่อกำจัดและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน และสอดคล้องกับการปฏิบัติตามพันธกรณในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) โดย กฟผ. ได้ประกาศเป็นนโยบายเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และแนวทางการปฏิบัติการดำเนินงานโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกในกิจกรรมของ กฟผ. ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน เป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยใช้พลังน้ำในการผลิตไฟฟ้าซึ่งมีต้นทุนการผลิตถูกกว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนชนิดอื่น เป็นการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ณ บริเวณท้ายเขื่อนของกรมชลประทานที่มีอยู่แล้ว จึงไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนรอบโรงไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าเมื่อกรมชลประทานระบายน้ำลงสู่ท้ายน้ำตามแผนการปล่อยน้ำตามปกติของกรมชลประทาน จึงไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำทั้งน้ำเหนือ และท้ายน้ำ โดย กฟผ. […]

Rapheephat Toumsaeng

22 December 2022

เขื่อนผาจุก จ.อุตรดิตถ์

โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก หนึ่งในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน สร้างปิดกั้นแม่น้ำน่าน บริเวณอําเภอเมืองอุตรดิตถ์ โดยมีเขื่อนสิริกิติ์เป็นแหล่งน้ำต้นทุน โดยเกิดจากความร่วมกันระหว่าง กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการระบายน้ำ ผลิตกระแสไฟฟ้า ก่อนลงสู่ท้ายน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ตามเดิมต่อไป

Rapheephat Toumsaeng

16 December 2022

ท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ

โรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์ เป็นการใช้ประโยชน์ต่อเนื่องจากเขื่อนจุฬาภรณ์ โดยการนำน้ำที่ระบายจากเขื่อนจุฬาภรณ์ผ่านทางอาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิมมาผลิตไฟฟ้าก่อนระบายลงสู่ลำน้ำพรมและไหลเข้าเขื่อนห้วยกุ่ม เขื่อนทดน้ำพรม (โครงการชลประทานน้ำพรม) ซึ่งอยู่ท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์ได้ใช้ประโยชน์จากน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภค-บริโภค จึงเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 1.25 เมกะวัตต์ ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ5.54 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

Rapheephat Toumsaeng

16 December 2022

เขื่อนคลองตรอน จ.อุตรดิตถ์

เขื่อนคลองตรอน มีวัตถุประสงค์เพื่อการชลประทาน เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541 น้ำที่ระบายจากอ่างเก็บน้ำลงสู่ลำน้ำคลองตรอนได้ถูกทดไว้ด้วยฝายคลองตรอนซึ่งอยู่ท้ายน้ำห่างจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนคลองตรอนประมาณ 17 กิโลเมตร เพื่อส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกตอนล่างในอำเภอน้ำปาดและอำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อใช้มีการใช้ประโยชน์จากน้ำที่ระบายให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Rapheephat Toumsaeng

16 December 2022

เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง

เขื่อนกิ่วคอหมา เป็นการใช้ทรัพยากรน้ำที่ระบายออกจากเขื่อนชลประทานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนำน้ำที่ระบายจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนกิ่วคอหมามาผลิตไฟฟ้าก่อนระบายน้ำลงแม่น้ำวังและเขื่อนกิ่วลม เพื่อให้พื้นที่ท้ายน้ำได้ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร การประมง และการอุปโภค-บริโภค ได้ดังเดิม

Rapheephat Toumsaeng

16 December 2022

เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก

เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำแควน้อยตอนล่างที่ประสบปัญหาอุทกภัย รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก ตลอดจนสำหรับการอุปโภค-บริโภค เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2546 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2554 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Rapheephat Toumsaeng

16 December 2022
1 2 3 19
Skip to content