ความเป็นมาโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน

ความเป็นมาโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เห็นความสำคัญในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เกิดใหม่ทดแทนได้อีก และช่วยลดการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน) ในประเทศไทยยังมีศักยภาพด้านพลังงานหมุนเวียนอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับ กฟผ. ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงมีการศึกษาและการดำเนินการโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) เพื่อกำจัดและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน และสอดคล้องกับการปฏิบัติตามพันธกรณในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) โดย กฟผ. ได้ประกาศเป็นนโยบายเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และแนวทางการปฏิบัติการดำเนินงานโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกในกิจกรรมของ กฟผ. ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน เป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยใช้พลังน้ำในการผลิตไฟฟ้าซึ่งมีต้นทุนการผลิตถูกกว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนชนิดอื่น เป็นการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ณ บริเวณท้ายเขื่อนของกรมชลประทานที่มีอยู่แล้ว จึงไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนรอบโรงไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าเมื่อกรมชลประทานระบายน้ำลงสู่ท้ายน้ำตามแผนการปล่อยน้ำตามปกติของกรมชลประทาน จึงไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำทั้งน้ำเหนือ และท้ายน้ำ โดย กฟผ. […]

Rapheephat Toumsaeng

22 December 2022
Skip to content