โรงไฟฟ้าน้ำพอง จ.ขอนแก่น

โรงไฟฟ้าน้ำพองเป็นโรงไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นโรงไฟฟ้าแห่งเดียวในภูมิภาคนี้ ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า           สืบเนื่องจากบริษัทผู้ได้รับสัมปทาน ทำการสำรวจหาปิโตรเลียมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ขุดพบแหล่งก๊าซธรรมชาติ ในจังหวัดอุดรธานี และขอนแก่น มีแหล่งปิโตรเลียมอยู่ประมาณ 10 แห่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ได้ทำการสำรวจพบก๊าซที่ระดับความลึก 4,000 เมตร ที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีปริมาณสำรองประมาณ 1.5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต บริษัทจึงได้เจรจาซื้อขายกับรัฐบาล และกำหนดแผนการพัฒนาแหล่งก๊าซน้ำพองเป็น 2 ระยะโดยระยะแรกจะเป็นการทดสอบหลุมก๊าซ เพื่อประเมินปริมาณสำรองที่แน่นอนและเตรียมการพัฒนาการผลิตก๊าซในระยะยาว และระยะหลังของแผนจะเป็นการผลิตในเชิงพาณิชย์           ด้วยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหลายปีที่ผ่าน ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงกำหนดแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าน้ำพองขึ้น โดยใช้ก๊าซธรรมชาติที่สำรวจพบจากแหล่งน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นเชื้อเพลิง และต่อมาได้ใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งภูฮ่อม อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี เป็นเชื้อเพลิงเพิ่มเติมในการผลิตไฟฟ้า เพื่อเสริมความมั่นคงในระบบไฟฟ้าให้กับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลให้มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด           โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1  ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2532 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือน 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 ชุดที่ […]

Rapheephat Toumsaeng

25 November 2022

โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่ใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี กฟผ. ได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัย คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ มาสร้างโรงไฟฟ้าในภาคนี้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย           โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ สร้างอยู่ใกล้กับเขื่อนลำตะคอง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงพิจารณานำเทคโนโลยีที่ทันสมัย คือ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ มาสร้างโรงไฟฟ้าในภาคนี้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ทำงานโดยการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำของเขื่อนกรมชลประทาน ไปเก็บไว้ที่อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง ในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อยหรือช่วงกลางคืนถึงเช้า และเมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงในช่วงกลางวันถึงค่ำ จะปล่อยน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า และปล่อยลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองเหมือนเดิม เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2537 อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยงสร้างแบบหินถม ดาดด้วยยางมะตอยเพื่อป้องกัน เก็บกักน้ำได้ 10.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ตัวอาคารโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา ถูกสร้างไว้ใต้ระดับผิวดินลึกกว่า 350 เมตร เป็นโรงไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่อง ใช้กังหันน้ำแบบสูบกลับชนิด Vertical Shaft Francis Type มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 500 เมกะวัตต์ ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จและนำไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเมื่อปี พ.ศ.2547 นับเป็นโรงไฟฟ้าที่มีส่วนสำคัญในการเพิ่มกำลังผลิตในช่วงเวลาที่ความต้องการไฟฟ้าสูง ช่วยเพิ่มความมั่นคงในระบบไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้           พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ […]

Rapheephat Toumsaeng

25 November 2022

โรงไฟฟ้าวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

เสริมสร้างความแข็งแกร่งรองรับความเจริญเติบโตในอนาคต ทั้งของภาครัฐและเอกชน โรงไฟฟ้าวังน้อยเป็นโรงไฟฟ้าแห่งแรกและแห่งเดียวของเขตพัฒนากำลังผลิตและระบบส่งของภาคกลางตอนบน สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ นำความเจริญไปสู่ภูมิภาค และให้บริการชุมชนเมืองที่กำลังขยายตัว           โรงไฟฟ้าวังน้อย เป็นโครงการเร่งด่วนโดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีมติเห็นชอบโครงการและเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 เหตุผลที่เลือกตั้งที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากเป็นพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพ เพราะใกล้แห่งเชื้อเพลิง แหล่งน้ำและระบบส่ไฟฟ้า อีกทั้งใกล้ศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้า เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งสามารถลดต้นทุน และลดความสูญเสียในระบบส่งไฟฟ้า ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอ่าวไทย โดยขนส่งทางท่อก๊าซบางปะกง-วังน้อย ระยะทางปรมาณ 100 กิโลเมตร และอีกแหล่งหนึ่งจากประเทศเมียนมาร์           โรงไฟฟ้าวังน้อย 1-3 เริ่มก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2537 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดโรงไฟฟ้าวังน้อย เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2541           ต่อมามีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคกลางของประเทศเพิ่มสูงขึ้น กฟผ. […]

Rapheephat Toumsaeng

25 November 2022

โรงไฟฟ้าจะนะ จ.สงขลา

ภาคใต้ตอนล่างมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีการลงทุนค่อนข้างสูง ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคใต้เพิ่มขึ้น เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าในภาคใต้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะที่รับผิดชอบต่อการจัดหา และผลิตพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. พ.ศ. 2547 – 2558 เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าในภาคใต้           คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 1 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมแบบเพลาผสม (Multi Shaft Combined Cycle) จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 และ ครม. ได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 2 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เป็นโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้เทคโนโลยีพลังความร้อนร่วมแบบเพลาเดี่ยว (Single-shaft) ที่มีประสิทธิภาพในการเผาไหม้เชื้อเพลิงสูง ทำให้ลดการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. […]

Rapheephat Toumsaeng

25 November 2022

โรงไฟฟ้ากระบี่ จ.กระบี่

จากการสำรวจค้นพบถ่านหินลิกไนต์ในภาคใต้ที่ จ.กระบี่ เป็นการจุดประกายแสงสว่างการพึ่งพาพลังงานในพื้นที่มาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า นำไปสู่การก่อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ หรือเดิมชื่อ “โรงไฟฟ้าลิกไนต์กระบี่”           โรงไฟฟ้าลิกไนต์กระบี่ เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงแห่งแรกและแห่งเดียวของภาคใต้ มีขนาดกำลังผลิตรวม 60 เมกะวัตต์จำนวน 3 เครื่อง เริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ช่วยหล่อเลี้ยงการใช้ไฟในภาคใต้ตอนล่างจวบจนโรงไฟฟ้าหมดวาระการใช้งานจึงปลดออกจากระบบเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2538 รวมอายุการใช้งาน 31 ปี                     โรงไฟฟ้ากระบี่แห่งใหม่ได้ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่เดิม เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2540 สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2547 เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในระบบไฟฟ้าของภาคใต้           ปัจจุบันโรงไฟฟ้ากระบี่ได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สามารถใช้เชื้อเพลิงน้ำมันปาล์มร่วมกับน้ำมันเตาเพื่อสนองนโยบายรัฐบาล ช่วยพยุงราคาน้ำมันปาล์มตกต่ำ แต่จะดำเนินการเมื่อได้รับคำสั่งการจากรัฐบาลเท่านั้น ปัจจุบันโรงไฟฟ้ากระบี่ มีกำลังผลิตตามสัญญารวม 315 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชนิด “Reserved Shutdown” มีหน้าที่เสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า

Rapheephat Toumsaeng

25 November 2022

โรงไฟฟ้าพระนครใต้ จ.สมุทรปราการ

ในยุคแรกเริ่มของการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าที่ กฟผ. ก็อยู่ในยุคเริ่มต้นรับผิดชอบภารกิจนี้เป็นเวลาเดียวกับที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้ามุ่งกระจายการพัฒนาด้านต่างๆจากเมืองไปยังท้องถิ่น โดยรัฐบาลพยายามย้ายเขตอุตสาหกรรมออกจากเขตกรุงเทพฯ ไปสู่ชานเมืองและภูมิภาค           โรงไฟฟ้าพระนครใต้เป็นตัวอย่างของแหล่งผลิตไฟฟ้าที่ดีในการตอบสนองการใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมหนักต่างๆในเขตตอนใต้ของกรุงเทพฯ เช่น โรงงานแบตเตอรี่ โรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานแปรรูปอาหารสัตว์ ฯลฯ และยังช่วยลดปัญหาไฟฟ้าตกไฟดับอีกด้วย                     โรงไฟฟ้าพระนครใต้ก่อสร้างขึ้นตามนโยบายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510-2514) เริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. 2510 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2513 มีขนาดกำลังผลิต 1,330 เมกะวัตต์ ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดโรงไฟฟ้าเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515           ปัจจุบันโรงไฟฟ้าพระนครใต้ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยและแหล่งในประเทศเมียนมาร์ เพื่อให้โรงไฟฟ้าใหม่เป็นมิตรกับชุมชน และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันโรงไฟฟ้าพระนครใต้ มีกำลังผลิตตามสัญญารวม 1,930 เมกะวัตต์

Rapheephat Toumsaeng

25 November 2022

โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ จ.นนทบุรี

ภารกิจสำคัญของรัฐบาลในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือการพัฒนาและฟื้นฟูประเทศอย่างเร่งด่วน ไฟฟ้าจึงเป็นปัจจัยหลักสำคัญอย่างหนึ่งที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว           รัฐบาลได้มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพระนครเหนือขนาดกำลังผลิต 75 เมกะวัตต์ ในปี พ.ศ. 2502 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2505 ด้วยชัยภูมิที่เหมาะสมติดแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ทางตอนเหนือทางกรุงเทพฯ จะทำให้โรงไฟฟ้าแห่งนี้สามารถรองรับการใช้ไฟฟ้าในเขตปริมณฑลและในกรุงเทพฯให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น           โรงไฟฟ้าแห่งนี้จึงเปรียบเสมือน “โรงครู” อันเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไฟฟ้าที่ทันสมัยของประเทศไทยในยุคนั้น หลังจากมีการใช้งานมากว่า 40 ปี กฟผ. ได้วางแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพระนครเหนือใหม่ภายในพื้นที่เดิมอีก 2 ชุด ได้แก่ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ในปี พ.ศ. 2553 และ ชุดที่ 2 ในปี พ.ศ. 2559 ตามลำดับโดยใช้แหล่งก๊าซจากพม่าเป็นเชื้อเพลิง           จุดเด่นของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือคือ มีสถานที่ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้า จึงช่วยลดการลงทุนด้านระบบส่งไฟฟ้า ลดความสูญเสียในระบบส่ง และลดการเกิดปัญหาไฟตก-ไฟดับ อีกทั้งเป็นโรงไฟฟ้าที่ถูกออกแบบให้สอดรับกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมสังคมเมืองก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงามอยู่เคียงคู่กับสายน้ำเจ้าพระยาไปอีกนานเท่านาน ปัจจุบันโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ มีกำลังผลิตตามสัญญารวม 1,498 เมกะวัตต์

Rapheephat Toumsaeng

15 November 2022

โรงไฟฟ้าบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

นับตั้งแต่การค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติครั้งแรกในอ่าวไทยที่ “แหล่งเอราวัณ” เมื่อ พ.ศ. 2516 เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการใช้พลังงานไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและยังสะท้อนถึงความสำเร็จในการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานไทย ช่วยนำพาประเทศไปสู่ยุคโชติช่วงชัชวาลย์ คือที่มาโรงไฟฟ้าแห่งนี้นามว่า “โรงไฟฟ้าบางปะกง”           “โรงไฟฟ้าบางปะกง” ทำการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2520 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2524 ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงไฟฟ้าบางปะกงอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2528  ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในเขตภาคตะวันออกมีความมั่นคงยิ่งขึ้น อีกทั้งยังรองรับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดอีกด้วย           นอกเหนือจากการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยังให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม เนื่องจากโรงไฟฟ้าบางปะกงเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง อยู่ใกล้แหล่งเลี้ยงปลาในกระชังและแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่สำคัญ กฟผ. จึงมีการติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณภูมิน้ำจากโรงไฟฟ้าก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะเพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบนิเวศวิทยา ซึ่งเป็นงานที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ให้ความสำคัญควบคู่กับการสร้างความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้ามาโดยตลอด โรงไฟฟ้าบางปะกง ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังความร้อน และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ปัจจุบันมีกำลังผลิตตามสัญญารวม 3,248 เมกะวัตต์

Rapheephat Toumsaeng

15 November 2022

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง

การกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้กับโรงไฟฟ้าเพื่อเพิ่มความสมดุลพลังงานและลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงนำเข้าจากต่างประเทศคือหัวใจสำคัญของแผนการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า ซึ่งโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง นับเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จของ กฟผ. ในการพัฒนาทรัพยากรภายในประเทศมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า           ด้วยสายพระเนตรยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เล็งเห็นประโยชน์จากเหมืองแม่เมาะที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงมีพระบรมราชโองการให้สงวนแหล่งถ่านหินที่มีอยู่ในประเทศ ไว้เพื่อใช้ในทางราชการในปี พ.ศ. 2470 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ปวงชนชาวไทย           จากจุดเริ่มต้นในอดีตที่มีการสำรวจแหล่งผลิตถ่านหิน ในปี พ.ศ. 2460 นำไปสู่การขุดเหมืองถ่านหินเพื่อนำลิกไนต์มาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า การทำเคมีภัณฑ์ และใช้เป็นถ่านหุงต้ม เป็นต้น           จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2497 ได้มีการจัดตั้งองค์การพลังงานไฟฟ้าลิกไนท์ เพื่อดำเนินกิจการเหมืองถ่านหิน ทำเหมืองที่แม่เมาะ เพื่อผลิตถ่านลิกไนต์จำหน่ายให้กับกิจการต่างๆ ได้แก่โรงบ่มใบยาสูบ การรถไฟ และโรงงานปูนซีเมนต์ ฯลฯ ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น การลิกไนท์ ต่อมารัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะบูรณาการกิจการที่เกี่ยวข้องด้านผลิตไฟฟ้ารวมเป็นหนึ่งเดียว จัดตั้งใหม่ในชื่อ “การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 กอปรกับเพื่อเป็นการพัฒนารองรับการขยายตัวเศรษฐกิจภาคเหนือตอนบน และลดภาระการลงุทนสายส่งไฟฟ้ายาวหลายร้อยกิโลเมตรจากภาคกลาง ทำให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะ 3 หน่วยแรก ขนาด 75 เมกะวัตต์ และสร้างเพิ่มเติมจนครบ 14 หน่วยตามลำดับ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก […]

Rapheephat Toumsaeng

2 August 2022
Skip to content