เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่

“น้ำเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในงานเกษตรกรรม แม้แต่ดินจะไม่ดีบ้าง หรือมีอุปสรรคทางด้านอื่นๆ ถ้าแก้ปัญหาในเรื่องแหล่งน้ำที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้แล้ว เรื่องอื่นๆก็จะพลอยดีขึ้นติดตามมา” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529           จากเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2516 ที่ตำบลอินทขิล และตำบลช่อแล จ.เชียงใหม่ จึงได้มีพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้มีการก่อสร้าง “เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล” เพื่ออำนวยประโยชน์ด้านการชลประทานแก่ราษฎรในพื้นที่ อีกทั้งยังสามารถช่วยบรรเทาอุทกภัยแก่พื้นที่เพาะปลูกท้ายอ่างเก็บน้ำ ตลอดจนนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าได้           เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอเนกประสงค์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในภาคเหนือ หนึ่งในโครงการพระราชดำริ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับกรมชลประทาน โดยกรมชลประทานรับผิดชอบในการสร้างเขื่อนและอาคารประกอบต่างๆ ส่วน กฟผ. รับผิดชอบโรงไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้า เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยกรมชลประทานก่อสร้างตัวเขื่อนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2527           ต่อมา กฟผ. ได้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ในปี พ.ศ. 2526 แล้วเสร็จในปี […]

Rapheephat Toumsaeng

14 December 2022

เขื่อนท่าทุ่งนา จ.กาญจนบุรี

เขื่อน คือ องค์ประกอบส่วนหนึ่งในการพัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าทั้งในด้านการชลประทาน การเกษตร และการผลิตไฟฟ้า ตลอดจนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในภูมิภาคนั้น ๆ ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้           เมื่อมองถึงความคุ้มค่า “เขื่อนท่าทุ่งนา” หนึ่งในแผนพัฒนาลุ่มน้ำแควใหญ่ ถือได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากลุ่มน้ำแควใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวเขื่อนตั้งอยู่บริเวณท้ายเขื่อนศรีนครินทร์ ทำหน้าที่เป็นอ่างเก็บน้ำตอนล่างคอยควบคุมปริมาณน้ำที่ปล่อยมาจากเขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งสามารถนำน้ำที่ใช้แล้วจากการผลิตกระแสไฟฟ้าของเขื่อนศรีนครินทร์ กลับมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกครั้ง อีกทั้งยังสามารถสูบน้ำจากเขื่อนท่าทุ่งนากลับไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกครั้งที่เขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งจะช่วยเสริมการผลิตไฟฟ้าให้กับเขื่อนศรีนครินทร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาระดับน้ำในแม่น้ำแควใหญ่ทางด้านท้ายน้ำที่สูงขึ้น เนื่องจากการปล่อยน้ำของเขื่อนศรีนครินทร์ โดยสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2524 และกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ตามลำดับ โดยมีพิธีเปิดเขื่อนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2525 ปัจจุบันมีขนาดกำลังผลิตตามสัญญา 39 เมกะวัตต์ เขื่อนหินถมแกนดินเหนียวผสมกับเขื่อนคอนกรีต ความจุอ่างเก็บน้ำ54.80 ล้านลูกบาศก์เมตร ความยาวอ่างเก็บน้ำ25 กิโลเมตร ความกว้างสันเขื่อน8 เมตร ความยาวสันเขื่อน840 เมตร ความสูงจากฐานราก30 เมตร สามารถนำน้ำที่ใช้ผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนศรีนครินทร์มาผลิตไฟได้อีกและสามารถสูบน้ำจากเขื่อนท่าทุ่งนา กลับไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกครั้งที่เขื่อนศรีนครินทร์ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 39 เมกะวัตต์ ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ170 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

Rapheephat Toumsaeng

9 December 2022

เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

เมื่อกล่าวถึง จ.เพชรบุรี หลายครั้งเรานึกถึงสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่ง แต่มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง นั่นคือ “เขื่อนแก่งกระจาน”           เขื่อนแก่งกระจาน จัดเป็นเขื่อนอเนกประสงค์และยังเป็นเขื่อนดินแห่งแรกของประเทศไทย สร้างปิดกั้นแม่น้ำเพชรบุรี บริเวณเขาไม้รวกและเขาจ้าว นอกเหนือประโยชน์จากการผลิตไฟฟ้าแล้ว เขื่อนแก่งกระจานสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทาน และการเพาะปลูก อีกทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำตั้งแต่ปากอ่าวเพชรบุรี-หัวหินให้หมดไป และยังช่วยบรรเทาอุกทกภัยในจังหวัดเพชรบุรีอีกด้วย           ตัวเขื่อนเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2504 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2509           จากนั้น กฟผ. ได้เริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2514 แล้วเสร็จและผลิตไฟฟ้าได้เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2517           เนื่องจาก จ.เพชรบุรี มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ความต้องการใช้ไฟฟ้าย่อมเพิ่มขึ้นตาม กฟผ. จึงได้มีการปรับปรุงโรงไฟฟ้าใหม่ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 แล้วเสร็จและเปิดใช้ได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ทำให้ระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพดีขึ้น พร้อมรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของจังหวัด ปัจจุบันมีขนาดกำลังผลิตตามสัญญา 19 เมกะวัตต์ เขื่อนดิน […]

Rapheephat Toumsaeng

8 December 2022

เขื่อนบางลาง จ.ยะลา

“ยะลา” หนึ่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่ที่มีความหลากหลายของเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม ได้ถูกหลอมรวมเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านสังคม ชุมชน รวมไปถึงพลังงานไฟฟ้าในภาคใต้ให้มีความมั่นคง การสร้าง “เขื่อนบางลาง” ถือเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำตามแผนพัฒนาลุ่มน้ำปัตตานี และจัดเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของภาคใต้ที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนทั้งในด้านการผลิตไฟฟ้า การชลประทานพื้นที่เพาะปลูก บรรเทาอุทกภัยบริเวณตอนล่างของลุ่มแม่น้ำตาปี และเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญในภาคใต้ อีกทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม ปลอดภัย ควรค่าแก่การเดินทางไปเยี่ยมชม นับได้ว่าสร้างประโยชน์ให้กับชาวปลายด้ามขวานอย่างแท้จริง           เขื่อนบางลาง ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2519 แล้วเสร็จเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนบางลางเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2524 ปัจจุบันมีขนาดกำลังผลิตตามสัญญา 84 เมกะวัตต์           ด้วยสายพระเนตรอันกว้างไกลของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการก่อสร้างเขื่อนบางลางเมื่อปี พ.ศ. 2521 ทรงมีพระราชดำริให้ กฟผ. พิจารณานำน้ำล้นจากฝายที่เขื่อนบางลางมาพัฒนาแหล่งน้ำในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า […]

Rapheephat Toumsaeng

2 December 2022

เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี

เมื่อนึกถึงพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในนั้นก็คือพลังงานน้ำ การสร้างเขื่อนจึงถือว่าเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำให้เกิดประโยชน์ เป็นแหล่งเก็บกักและระบายน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งเขื่อนที่มีความโดดเด่นและสวยงามไม่แพ้ประโยชน์ที่ใช้งานก็คือ “เขื่อนรัชชประภา” หรือเดิมชื่อว่า “เขื่อนเชี่ยวหลาน” โดยทิวทัศน์ในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนแห่งนี้ได้รับฉายาว่าเป็นกุ้ยหลินเมืองไทย อีกทั้งยังเป็นเขื่อนใหญ่แห่งสุดท้ายที่ กฟผ. สร้างขึ้น นับจากการก่อสร้างเขื่อนรัชชประภาแล้วเสร็จก็ไม่มีการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อีกเลย                      เขื่อนรัชชประภา เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ สร้างความมั่นคงให้แก่ระบบไฟฟ้า และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สอดคล้องกับความหมายของเขื่อนรัชชประภา ที่แปลว่า “แสงสว่างแห่งราชอาณาจักร” (Light of the Kingdom)           ตัวเขื่อนสามารถใช้ประโยชน์ในการชลประทานเพื่อการเพาะปลูก บรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน การกักเก็บน้ำของเขื่อนสามารถช่วยลดความรุนแรงของปริมาณน้ำจำนวนมากได้ เมื่อถึงฤดูแล้งสภาพน้ำในแม่น้ำตาปี-พุมดวง มีปริมาณน้อย ทำให้น้ำเน่าเสียง่าย น้ำที่ปล่อยจากเขื่อนรัชชประภาจะช่วยเจือจางน้ำเสีย และต้านการรุกล้ำของน้ำเค็มที่ปากแม่น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นแหล่งอาชีพประมงน้ำจืด เสริมสร้างการท่องเที่ยวในท้องถิ่นที่ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ราษฎรในพื้นที่           นอกจากนี้ยังเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ และรัชมังคลาภิเษก ในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งนับเป็นเกียรติอันยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ กฟผ. โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 […]

Rapheephat Toumsaeng

1 December 2022

เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลำน้ำสายสำคัญที่สุดอยู่แหล่งหนึ่ง คือ “แม่น้ำมูล” จัดเป็นแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำไหลมากเป็นอันดับ 2 รองจากแม่น้ำเจ้าพระยา สำนักงานพลังงานแห่งชาติ ปัจจุบัน คือ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พพ.) และ กฟผ. ได้ร่วมทำการสำรวจและศึกษาเพิ่มเติมพบว่าสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำดังกล่าวได้ ประกอบกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณมาก ทำให้ต้องมีการรับไฟฟ้ามาจากภาคกลางและภาคเหนือ รวมทั้งซื้อจากการไฟฟ้าลาว ทำให้ระบบไฟฟ้าขาดความมั่นคง เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาไฟดับ จึงได้วางแผนก่อสร้าง “เขื่อนปากมูล” ที่บริเวณบ้านหัวเห่ว อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี           เขื่อนปากมูลได้ออกแบบเป็นเขื่อนทดน้ำ เพื่อทดน้ำในแม่น้ำมูลให้สูงขึ้น สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการชลประทาน ส่งเสริมการทำอาชีพประมงและการเกษตร โดย กฟผ. ได้จัดทำบันไดปลาโจน เพื่อให้ปลาจากแม่น้ำโขงสามารถว่ายขึ้นไปวางไข่ในแม่น้ำมูลได้ พร้อมทั้งก่อสร้างศูนย์ประมง เพื่อเพาะขยายและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ราษฎร           เขื่อนปากมูลได้เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2533 แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2537 สามารถสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างคุ้มค่า อีกทั้งยังเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ช่วยเสริมความมั่นคงแก่ระบบไฟฟ้าในภูมิภาคนี้ ปัจจุบันมีขนาดกำลังผลิตตามสัญญา 136 เมกะวัตต์ เขื่อนคอนกรีตบดอัดแน่น เขื่อนทดน้ำมีลักษณะเหมือนฝายน้ำล้นไม่ใช่เขื่อนกักเก็บน้ำ อัตราการระบายน้ำสูงสุด 18,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ความกว้างสันเขื่อน6 เมตร ความยาวสันเขื่อน300 […]

Rapheephat Toumsaeng

1 December 2022

เขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร

ในอดีตพื้นที่ภาคอีสานมักจะประสบกับปัญหาภัยแล้ง การพัฒนาแหล่งน้ำจึงมีส่วนสำคัญต่อประชากรในภูมิภาคนี้ กฟผ. ได้เล็งเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชนจึงก่อให้เกิดการสร้าง “เขื่อนน้ำพุง” หนึ่งในโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง เมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยจะช่วยแก้ปัญหาด้านอุทกภัยในช่วงฤดูน้ำหลาก และแก้ปัญหาภัยแล้งได้โดยการระบายน้ำที่เก็บไว้มาใช้เพื่อการชลประทานในแถบพื้นที่จังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนม ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่การเกษตร อีกทั้งยังสามารถใช้ผลิตไฟฟ้า เพื่อเสริมประสิทธิภาพระบบไฟฟ้าในภูมิภาคให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในพื้นที่แดนอีสาน           เขื่อนแห่งนี้จัดเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ และนับเป็นเขื่อนแรกที่สร้างเสร็จในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ           การก่อสร้างเขื่อนน้ำพุงได้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 แล้วเสร็จเดือนตุลาคม พ.ศ. 2508 จากนั้นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนน้ำพุงอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 โดยการพลังงานแห่งชาติ ส่งมอบให้การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ (กฟ.อน.) เป็นผู้ดูแลรักษาและดำเนินการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้โอนไปยังสังกัดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ปัจจุบันมีขนาดกำลังผลิตตามสัญญา 6 เมกะวัตต์ เขื่อนหินถมแกนดินเหนียว ความจุอ่างเก็บน้ำ165 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ21.65 ตารางกิโลเมตร ความกว้างสันเขื่อน10 เมตร ความยาวสันเขื่อน1,720 เมตร ความสูงจากฐานราก41 […]

Rapheephat Toumsaeng

1 December 2022

เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ

แม้ว่ารัฐบาลจะได้เร่งพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเสร็จไปหลายโครงการแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำเป็นต้องเร่งหาแหล่งผลิตและสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติม ให้สามารถตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนได้อย่างเพียงพอ           เขื่อนจุฬาภรณ์ เริ่มดำเนินการก่อสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2513 มีชื่อเดิมว่า “เขื่อนน้ำพรม” เป็นโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเรียกในสมัยก่อสร้างว่า “โครงการน้ำพรม” สร้างปิดกั้นลำน้ำพรมบนเทือกเขาขุนพาย บริเวณที่เรียกว่า ภูหยวก ในท้องที่ ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ งานก่อสร้างแล้วเสร็จและสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2515           นอกจากนี้อ่างเก็บน้ำยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประโยชน์ต่อการชลประทานช่วยระบายน้ำเพื่อการเพาะปลูกในฤดูแล้งในพื้นที่การเกษตรตามลำน้ำพรม ประมาณ 50,300 ไร่ และตามลำน้ำเชิญ ประมาณ 20,800 ไร่ รวมทั้งบริเวณโดยรอบของที่ตั้งตัวเขื่อนมีทิวทัศน์สวยงามมาก มีอากาศเย็นสบายตลอดปี จนได้สมญาว่าเป็น “สวิตเซอร์แลนด์ของประเทศไทย”           พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนและโรงไฟฟ้า เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน […]

Rapheephat Toumsaeng

1 December 2022

เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี

เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากจะให้ประโยชน์ทางด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังอำนวยประโยชน์นานัปการต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคแถบนี้ทั้งทางด้านการชลประทาน การป้องกันอุทกภัย การประมง และการท่องเที่ยว นับเป็นการสงวนและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในยุคปัจจุบัน           เขื่อนสิรินธรเดิมมีชื่อว่า “เขื่อนลำโดมน้อย” สร้างปิดกั้นแม่น้ำลำโดมน้อย สาขาของแม่น้ำมูล ที่บริเวณแก่งแซน้อย ต.นิคมลำโดมน้อย อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มก่อสร้างในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2511 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2514           พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 และได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาขนานนามเขื่อนว่า “เขื่อนสิรินธร” ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514           ปัจจุบันเขื่อนสิรินธรได้มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลกบนพื้นที่ผิวน้ำในเขื่อน ซึ่งเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  เขื่อนหินถมแกนดินเหนียว ความจุอ่างเก็บน้ำ1,966.50 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ288 ตารางกิโลเมตร ความกว้างสันเขื่อน7.50 เมตร ความยาวสันเขื่อน940 เมตร ความสูงจากฐานราก42 […]

Rapheephat Toumsaeng

1 December 2022
1 2
Skip to content