โครงการ RAC NAMA

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น (Thailand Refrigeration and Air Condition Nationally Appropriate Mitigation Actions หรือ RAC NAMA) ความเป็นมา           ประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นของโลก ปัจจุบันสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าในระบบปรับอากาศและการทำความเย็นอยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 ของประเทศ และเป็นภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเป็นลำดับต้นๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อนและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามมา ดังนั้น การปรับปรุงใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงและปรับเปลี่ยนไปใช้สารทำความเย็นธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential: GWP) ต่ำ จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศที่ได้แสดงเจตจำนงไว้ตามแผนการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) ภายในปี 2573 ดังนั้น รัฐบาลสหราชอาณาจักรจึงได้ร่วมมือกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีสนับสนุนเงินทุนจำนวน 8.3 ล้านยูโร ผ่านกองทุน NAMA Facility เพื่อสนับสนุนให้อุตสาหกรรมทำความเย็นในประเทศไทยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม          สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะหน่วยงานประสานงานกลางของประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC National Focal Point) ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและคุณสมบัติของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ได้ให้การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมทำความเย็นลดก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้ไฟฟ้ามาโดยตลอดผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ […]

Rapheephat Toumsaeng

3 November 2023

เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)           หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน หมายถึง แนวคิดที่มีการวางแผนและออกแบบให้นำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาและสร้างคุณค่าจากทรัพยากรที่มีในระบบให้ได้มากที่สุด โดยการใช้งานของวัสดุ และผลิตภัณฑ์ให้ได้นานที่สุด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จนเกิดเป็นวงจรหมุนเวียนทรัพยากรต่อเนื่องในระบบปิด โดยไม่มีการส่งของเสียออกนอกระบบ ส่งผลให้เกิดความสมดุลระหว่างมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็นจากการขยายตัวของประชากรโลก จนนำไปสู่การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในที่สุด 1. การรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้น้อยที่สุด เพิ่มการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนและพลังงานทดแทน 2. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการหมุนเวียนวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์โดยการออกแบบและแปรรูปทรัพยากรภายหลังการใช้งาน การซ่อมแซม และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อเกิดการหมุนเวียนของวัตถุดิบภายในระบบ 3. การรักษาประสิทธิภาพของระบบ ด้วยการจัดการและลดการปลดปล่อยของเสียออกจากระบบให้น้อยที่สุด                       กฟผ. ได้นำแนวคิดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาปรับใช้ในการดำเนินงาน แทนแนวคิดระบบเศรษฐกิจเส้นตรง (Linear Economy) ที่เน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการเกิดของเสีย รวมถึงลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 เพื่อตอบสนองต่อนโยบายการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) หรือการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ของประเทศ โดยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า ผลักดันให้เกิดการนำทรัพยากรกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างความเติบโตขององค์การรองรับอนาคตที่ยั่งยืน (แผนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน กฟผ., 2564) […]

Rapheephat Toumsaeng

20 October 2022

รายงานโครงการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้

รายงานโครงการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้

Rapheephat Toumsaeng

30 May 2022
1 2
Skip to content