“โครงการ Dark Sky” คืนท้องฟ้าที่มืดมิดด้วยหลอดไฟ LED สานฝันสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บนดอยอินทนนท์

“โครงการ Dark Sky” คืนท้องฟ้าที่มืดมิดด้วยหลอดไฟ LED สานฝันสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บนดอยอินทนนท์ เครดิตภาพ http://restlessnationradio.com/on-the-trail-the-brilliance-of-the-night-sky/          ท่ามกลางเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ คงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่คุณจะได้เห็นดวงดาวพร่างพราวเรียงรายอยู่มากมายบนท้องฟ้าได้อย่างชัดเจน เนื่องจากแสงสว่างจากหลอดไฟจำนวนมากได้บดบังการมองเห็นดวงดาว ซึ่งการจะมองเห็นได้นั้น ท้องฟ้าต้องมีความมืดมากพอที่จะเห็นดวงดาว และในพื้นที่พื้นที่ป่าเขา เราอาจจะได้เห็นสัตว์ป่าน้อยใหญ่นานาชนิดออกมาหากินในเวลากลางคืนด้วย นั่นคือความใฝ่ฝันของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีใจรักการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์          สำหรับ กฟผ. หน่วยงานผู้ผลิตไฟฟ้า ซึ่งได้ดำเนินงานทางด้าน Demand Side Management หรือ DSM เพื่อรณรงค์ให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมาอย่างต่อเนื่องมากว่า 25 ปี และปัจจุบัน กฟผ. ยังได้สนับสนุนให้ท้องฟ้ามืดลงจากการรณรงค์ให้เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED ในโครงการลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ หรือ “โครงการ Dark Sky” ซึ่งได้ดำเนินงานเข้าสู่ปีที่ 2 แล้ว ความสว่างของหลอดไฟ LED ที่ไม่กระทบถึงดวงดาว          บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ […]

Rapheephat Toumsaeng

28 February 2019

น้ำเย็น ปลาเป็น ณ บ้านขุนกลาง

น้ำเย็น ปลาเป็น ณ บ้านขุนกลาง          “ตามสำนวนไทยที่กล่าวไว้ว่า น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย แต่ ณ บ้านขุนกลาง น้ำเย็น ปลากลับเป็นและเจริญเติบโตได้ดี”          ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็น แม้แต่ธารน้ำที่ไหลผ่านโขดหินลดหลั่นลงมาจากยอดเขาดอยอินทนนท์เมื่อได้สัมผัสจึงรู้ว่า เย็นจนมือชาเลยทีเดียว ด้วยพลังของแหล่งน้ำแห่งนี้ มีศักยภาพสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้ จึงกลายมาเป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านขุนกลาง ที่ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนบนยอดดอยอินทนนท์ได้ใช้ ซึ่งอยู่ในความดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)          ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่อุณหภูมิที่หนาวเย็นของยอดดอยอินทนนท์ตลอดทั้งปี เหมาะแก่การปลูกต้นฝิ่น ทำให้ผู้คนนิยมปลูกกันทุกหลังคาเรือนแต่นั่นกลับกลายเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ และด้วยสายพระเนตรอันกว้างไกลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการส่งเสริมการปลูกพันธุ์ไม้เมืองหนาวและได้ริเริ่มการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำเย็นจากต่างประเทศสู่ประเทศไทย          กว่า 40 ปีแล้วที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริกับนักประมง มูลนิธิโครงการหลวงดอยอินทนนท์ ให้วิจัยเพาะพันธุ์ปลาน้ำเย็นจากต่างประเทศมาเลี้ยงบนพื้นที่ราบสูง เพื่อเพิ่มอาชีพให้กับประชาชนแทนการปลูกฝิ่น “จากพระราชกระแสรับสั่งนั้น กรมประมงจึงได้นำปลาเรนโบว์เทราต์ ปลาจากประเทศเยอรมนี เข้ามาเพาะพันธุ์ในประเทศไทย นับเป็นครั้งแรกที่ท้าทายและตื้นตันใจอย่างที่สุดของพวกเราชาวกรมประมง” นายสานนท์ […]

Rapheephat Toumsaeng

9 December 2018

เรื่องเล่าจากดอยอินทนนท์ จาก”ทุ่งดอกฝิ่น” สู่ “ทุ่งดอกเบญจมาศ”

เรื่องเล่าจากดอยอินทนนท์ จาก”ทุ่งดอกฝิ่น” สู่ “ทุ่งดอกเบญจมาศ”          เสียงน้ำตกไหลกระทบกับโขดหิน ดังเสมือนเป็นดนตรีแห่งธรรมชาติตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะความอุดมสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำบนดอยอินทนนท์ แหล่งธารน้ำไหลเย็นใสสะอาดชั้นเยี่ยมที่คอยหล่อเลี้ยงทุกตารางนิ้วตั้งแต่ยอดดอยจนถึงปลายดอย บวกกับอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี ถือเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวผู้เดินทางไปเยี่ยมเยือนชุมชนบ้านขุนกลาง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่          ย้อนกลับไปเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว ที่บ้านขุนกลางเป็นเพียงชุมชนขนาดเล็กที่มีกลุ่มชนชาติพันธุ์กาเรน กะยีน คนยาง หรือที่เรารู้จักกันทั่วไปว่า กะเหรี่ยง ตั้งรกรากอยู่ไม่กี่สิบหลังคาเรือน ทุกบ้านยึดอาชีพปลูกฝิ่นขาย ไม่ว่าดอยไหนๆ ก็ถูกแผ้วถางจนกลายเป็นดอยหัวโล้น เพื่อใช้เป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นเกือบทุกบ้านรวมมากกว่า 7,000 ไร่ เพราะไม่รู้จะทำอาชีพอะไร ป่าทั้งป่าก็กลายเป็นทุ่งฝิ่น ทั้งๆ ที่ฝิ่นไม่ได้มีราคาขายสูงมากมายเท่าไหร่นัก ทุกอย่างดำเนินเรื่อยมาจนกลายเป็นวัฏจักรหมุนเวียนไม่จบสิ้น จนกระทั่งสิ่งมหัศจรรย์ได้เกิดขึ้นที่นี่ และเปลี่ยนทุ่งดอกฝิ่นให้กลายเป็นหมู่ดาวบนดินอันแสนงดงาม          ผู้ใหญ่บ้านไตรวิทย์ แซ่ยะ ผู้ใหญ่บ้านชุมชนบ้านขุนกลางเชื้อสายกะเหรี่ยง ซึ่งปัจจุบันถือสัญชาติไทยเล่าย้อนกลับไปเมื่อครั้งเป็นเด็กอายุเพียง 6 ขวบ กับเหตุการณ์ที่ไม่เคยลืม ว่าเมื่อปี 2509 […]

Rapheephat Toumsaeng

7 December 2018
Skip to content