กฟผ. เร่งกระบวนการสอบหาข้อเท็จจริงและให้องค์กรอิสระร่วมตรวจสอบโครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม

กฟผ. เร่งกระบวนการสอบหาข้อเท็จจริงและให้องค์กรอิสระร่วมตรวจสอบโครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม          กฟผ. มิได้นิ่งนอนใจกรณีพบข้อร้องเรียนเกี่ยวกับโครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม ตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงตั้งแต่มกราคม 2567 พร้อมเชิญหน่วยงานอิสระภายนอกร่วมตรวจสอบ เร่งสรุปข้อเท็จจริงภายใน 3 เดือน          นายชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน ในฐานะรองโฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ. มิได้นิ่งนอนใจต่อกรณีที่มีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับโครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วมของ กฟผ. โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 พร้อมประสานหน่วยงานอิสระภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และนักวิชาการอิสระภายนอกที่เชี่ยวชาญด้านการตรวจป่าร่วมเป็นกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง เพื่อให้มั่นใจว่าการตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นไปด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และตอบข้อสงสัยของสังคมได้ครอบคลุมในทุกมิติ ซึ่งปัจจุบันคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงอยู่ระหว่างการลงพื้นที่ปลูกป่าในจังหวัดต่าง ๆ ทั้งที่มีการร้องเรียน และพื้นที่อื่น ๆ ที่ กฟผ. ดำเนินการ โดยใช้เทคโนโลยีโดรนบินสำรวจพื้นที่ปลูกป่าและภาพถ่ายดาวเทียมจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) เพื่อความแม่นยำในการตรวจสอบพื้นที่ป่าร่วมด้วย ซึ่งต้องดำเนินการสรุปข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน ตามข้อสั่งการของคณะกรรมการ กฟผ. ทั้งนี้ กฟผ. จะชะลอการดำเนินโครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์จนกว่าผลการสอบหาข้อเท็จจริงจะได้ข้อสรุป   […]

Sukarnya

1 March 2024

โครงการปลูกป่าล้านไร่ กฟผ. ปลูกจริง ตรวจสอบได้ มุ่งประชาชนได้ประโยชน์ ตอบโจทย์ Carbon Neutrality ของประเทศ

โครงการปลูกป่าล้านไร่ กฟผ. ปลูกจริง ตรวจสอบได้ มุ่งประชาชนได้ประโยชน์ ตอบโจทย์ Carbon Neutrality ของประเทศ          กฟผ. เผยโครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วมดำเนินการปลูกป่าจริงครอบคลุมพื้นที่เกือบ 2 แสนไร่ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน พร้อมรับการตรวจสอบจากทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก เมื่อพบข้อร้องเรียนสั่งสอบทันที          นายชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน ในฐานะรองโฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวถึง โครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วมเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2565 ร่วมกับพันธมิตรและประชาชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเป็นการปลูกป่าในพื้นที่ของกรมป่าไม้และกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ด้วยการปลูกฟื้นฟูสภาพป่า (200 ต้นต่อไร่) เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตอบสนองนโยบาย Carbon Neutrality ของประเทศ โดยในช่วงปี 2565 – 2566 สามารถดำเนินการปลูกป่าและบำรุงรักษาป่าคิดเป็นพื้นที่กว่า 188,692 ไร่ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมปลูกป่าแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงการทำสัญญาจ้างปลูกและบำรุงรักษาป่าโดยตรงกับประชาชนในพื้นที่ เสริมสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม เกิดความหวงแหนป่า […]

Sukarnya

20 February 2024

เปิดโมเดล “ปลูกป่าวนเกษตร ขายคาร์บอนเครดิต”ชวนคนบนดอยเปลี่ยนไร่ข้าวโพดสู่ผืนป่า

เปิดโมเดล “ปลูกป่าวนเกษตร ขายคาร์บอนเครดิต” ชวนคนบนดอยเปลี่ยนไร่ข้าวโพดสู่ผืนป่า           “4 ปีให้หลัง ดอยมันแล้งหนักมาก แต่ก่อนปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด มันไม่ยั่งยืน บางปีฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วงก็ขาดทุนไปเลย พอคนอยู่ไม่ได้ก็จะบุกรุกป่าไปเรื่อย ๆ ทิ้งที่ดินเก่าไว้ข้างหลังกลายเป็นเขาหัวโล้น”           คำบอกเล่าของวุฒิชาติ ลาดสีทา เกษตรกรบ้านเมืองน้อย ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย สะท้อนถึงปัญหาการทำเกษตรเชิงเดี่ยวแบบเดิม ๆ ที่นิยมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพราะให้ผลผลิตเร็วและขายได้เงินทันที แต่ก็ต้องแลกมากับผืนป่าและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ           มูลนิธิโครงการหลวงจึงจับมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เดินหน้าเชิงรุกพลิกฟื้นผืนป่าผ่านโมเดล “ปลูกป่าวนเกษตรอย่างมีส่วนร่วมผ่านกลไกคาร์บอนเครดิตแบบผูกพัน” ภายใต้โครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม ด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงปลูกพืชแบบผสมผสาน ควบคู่กับการเพิ่มพื้นที่ป่าโดยใช้กลไกคาร์บอนเครดิตเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาต้นไม้สำหรับขายคาร์บอนเครดิตในระยะยาวเพื่อเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง ทำให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน โดยเริ่มนำร่องพื้นที่แรกที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำริน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย จำนวน  22.5 ไร่ ในพื้นที่ของเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือก 3 ราย คือ นายวุฒิชาติ ลาดสีทา นางเกษร จะทอ และนายจะหลู จะตอ ที่ตั้งใจเปลี่ยนไร่ข้าวโพดให้เป็นสวนวนเกษตรและผืนป่า คืนความอุดมสมบูรณ์ให้บ้านของพวกเขา พลิกโฉมไร่ข้าวโพดสู่วนเกษตร           ไร่ข้าวโพดบนพื้นที่ลาดเชิงเขาถูกปรับให้กลายเป็นสวนวนเกษตรที่มีไม้หลากหลายชนิด […]

Rapheephat Toumsaeng

27 July 2023

กทม. – รฟท. – กฟผ. จับมือเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง ลดฝุ่น – ป้องกันการทิ้งขยะ

กทม. – รฟท. – กฟผ. จับมือเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง ลดฝุ่น – ป้องกันการทิ้งขยะ          กทม. ร่วมกับ รฟท. และ กฟผ. ลุยปลูกต้นไม้ จำนวน 750 ต้น ซึ่งเป็นโครงการบูรณาการการปลูกต้นไม้ร่วมกัน ในระยะทาง 200 เมตร บริเวณที่ว่างริมถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ย่านบางพลัด หวังต่อยอดให้เป็นสวนสาธารณะยาว 1 กม. ช่วยลดฝุ่น ป้องกันการลอบทิ้งขยะ          เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2566 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดกิจกรรมโครงการบูรณาการการปลูกต้นไม้ล้านต้นของ กทม. และโครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้ความร่วมมือจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งสำนักงานเขตบางพลัดจัดขึ้น เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและสร้างกำแพงธรรมชาติกรองฝุ่น ตลอดจนต่อยอดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อแก้ไขปัญหาการลอบทิ้งขยะ ณ บริเวณที่ว่างริมถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ขาออก ช่วงเลยด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษบางพลัด […]

Sukarnya

21 March 2023

กฟผ. ดึงเยาวชนคนรุ่นใหม่นั่งรถไฟ “ยกขบวน ชวนปลูกป่า” ปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ชุมพร

กฟผ. ดึงเยาวชนคนรุ่นใหม่นั่งรถไฟ “ยกขบวน ชวนปลูกป่า” ปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ชุมพร          จังหวัดชุมพร ร่วมกับ กฟผ. และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร จัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ยกขบวนชวนเยาวชนปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม มุ่งสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ป่า เพื่อร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมและอากาศที่ดีครบ 1 ล้านไร่ ตามเป้าหมายภายในปี พ.ศ. 2574          วานนี้ (12 กันยายน 2565) จังหวัดชุมพร ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร จัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนภายใต้โครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม โดยมี นายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. คณะผู้บริหารหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร ชุมชนในพื้นที่ นักเรียน และกลุ่มเยาวชน กว่า 400 คน ร่วมกันยกขบวนชวนปลูกป่า ณ พื้นที่ป่าชายเลนอ่าวทุ่งคา-สวี […]

Sukarnya

13 September 2022

กฟผ. เขื่อนสิริกิติ์ จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จัดกิจกรรมปลูกป่าต้นน้ำ – เดินวิ่งเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศล

กฟผ. เขื่อนสิริกิติ์ จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จัดกิจกรรมปลูกป่าต้นน้ำ – เดินวิ่งเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศล          กฟผ. เขื่อนสิริกิติ์ จัดกิจกรรมยิ่งใหญ่ รวมใจทุกภาคส่วนร่วมปลูกป่าต้นน้ำ และเดินวิ่งเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา ภายใต้ชื่องาน “น้ำพระทัยหล่อเลี้ยงชุบชีวี ใต้ร่มพระบารมีพระบรมราชชนนีพันปีหลวง”          วานนี้ (12 สิงหาคม 2565) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับ กระทรวงพลังงาน และจังหวัดอุตรดิตถ์ จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ 90 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พร้อมกันทั่วประเทศ โดยมีนางเปรมฤทัย วินัยแพทย์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายพยงค์ ยาเภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร […]

Sukarnya

13 August 2022

กฟผ. มุ่งเป้าปลูกป่าล้านไร่ ชวน Go Green เที่ยวฉบับคนรักษ์โลก ลุยปลูกป่าโลว์คาร์บอนไปกับ ติวเตอร์-ยิม

กฟผ. มุ่งเป้าปลูกป่าล้านไร่ ชวน Go Green เที่ยวฉบับคนรักษ์โลกลุยปลูกป่าโลว์คาร์บอนไปกับ ติวเตอร์-ยิม       กฟผ. ร่วมกับจังหวัดฉะเชิงเทรา และพันธมิตร จุดกระแสรักษ์โลก ดึงนักแสดงคู่ซี้สุดฮอต ติวเตอร์ – ยิม ชวนเที่ยวแบบสายกรีน สัมผัสกับธรรมชาติ ลุยปลูกป่าแบบโลว์คาร์บอน ในกิจกรรม “กฟผ. ปลูกป่า ล้านไร่ ลุยเลน สร้างบ้านปลา คอนโดปู” ร่วมกันพลิกฟื้นผืนป่าชายเลน ดันเป้าหมายปลูกป่าหนึ่งล้านไร่ให้สำเร็จ พร้อมกระจายรายได้สู่ชุมชนในพื้นที่       เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยนายจิรศักดิ์ อ่วมอุไร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานฉะเชิงเทรา นายทรงฤทธิ์  สินถาวร ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา นายจีรทัศน์ แจ่มไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา นางสาววสุมน เนตรกิจเจริญ นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย […]

Rapheephat Toumsaeng

8 July 2022

“ปลูกป่าในใจคน” หัวใจของการฟื้นป่าที่หยั่งรากลึกทั่วอ่าวทุ่งคา-สวี ป่าชายเลนผืนใหญ่ของไทย

“ปลูกป่าในใจคน” หัวใจของการฟื้นป่าที่หยั่งรากลึกทั่วอ่าวทุ่งคา-สวี ป่าชายเลนผืนใหญ่ของไทย           มรสุมที่โหมกระหน่ำเหนืออ่าวทุ่งคา จังหวัดชุมพร ทำให้เกลียวคลื่นซัดเข้าหาชายฝั่งอย่างบ้าคลั่ง ก่อนที่จะค่อย ๆ สลายหายไปกับแนวต้นโกงกาง หลงเหลือไว้เพียงความชุ่มชื้นที่ถูกโอบอุ้มไว้ด้วยป่าชายเลนผืนใหญ่แห่งนี้                     ปัจจุบันป่าชายเลนอ่าวทุ่งคา-สวี นับเป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ แต่ไม่น่าเชื่อว่าพื้นที่บริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นพื้นที่นากุ้งเสื่อมโทรมที่ต้องใช้เวลาพลิกฟื้นมากกว่า 20 ปี ผืนป่าเขียวขจีด้วยฝีมือมนุษย์           “บริเวณนี้ก่อนจะมีอุทยาน เดิมเป็นบ่อปลา บ่อกุ้ง ต้นไม้อะไรก็ไม่มี สัตว์น้ำก็ไม่มีที่อยูอาศัย ชาวบ้านก็ไม่กล้าเข้าไปเพราะเป็นที่ของนายทุน” คำบอกเล่าของโยธิน อ่ำมา หรือ บัวลอย ชาวประมงที่เติบโตในอ่าวทุ่งคาสะท้อนถึงอดีตที่ไม่สวยงาม ไม่มีแม้แต่ภาพฝันของผืนป่าที่จะเติบโตขึ้นได้ในอ่าวทุ่งคาแห่งนี้           จนกระทั่งเมื่อปี 2542 อ่าวทุ่งคาได้ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรจึงเริ่มเกิดการฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างจริงจัง นายมรกต โจวรรณถะ ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร พาพวกเราเข้าไปสำรวจเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนที่อยู่ติดกับที่ทำการอุทยานซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นบ่อกุ้ง แต่ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ ชาวบ้าน และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันฟื้นฟูจนกลายเป็นป่าชายเลนอีกครั้ง           ผืนป่าฝีมือมนุษย์ที่เราเห็นกลายเป็นผืนป่าชายเลนขนาดใหญ่ที่อุดมไปด้วยธาตุอาหารจากการทับถมของตะกอนที่พัดพามาจากคลองสายต่าง ๆ ปกคลุมไปด้วยร่มเงาของต้นโกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ที่เรียงตัวกันแน่นทึบจนกลายเป็นแหล่งพักพิงของทั้งปูแสม ปลาตีน สัตว์น้ำวัยอ่อน ลิงแสม รวมถึงนกนานาชนิด ปลูกป่าในใจคน           นอกจากผืนป่าโดยรอบที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรแล้ว ยังมีพื้นป่าอีกกว่า 2,700 […]

Rapheephat Toumsaeng

21 June 2022

กฟผ. มุ่งเป้าลดก๊าซเรือนกระจก ชูพลังงานสะอาด และเพิ่มพื้นที่ปลูกป่าในเวทีผู้นำ ‘CAL Forum’

กฟผ. มุ่งเป้าลดก๊าซเรือนกระจก ชูพลังงานสะอาด และเพิ่มพื้นที่ปลูกป่าในเวทีผู้นำ ‘CAL Forum’           กฟผ. เผยนโยบายเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และโครงการปลูกป่า 1 ล้านไร่ ร่วมเดินหน้าลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนในภาคธุรกิจพลังงาน มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในงานแถลงผลสำเร็จโครงการ Climate Action Leaders Forum รุ่นที่ 1           นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นำเสนอภาพรวมการดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในงานแถลงข่าวผลสำเร็จของโครงการ Climate Action Leaders  Forum หรือ CAL Forum รุ่นที่ 1 ซึ่งจัดโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ United Nations Development Programme  โดยมี […]

Rapheephat Toumsaeng

24 March 2022

ตามรอยปลูกป่าเมืองน่าน ปลูกคนหัวใจสีเขียว

ตามรอยปลูกป่าเมืองน่าน ปลูกคนหัวใจสีเขียว จังหวัดน่าน หรือเมืองน่าน เป็นเมืองเล็ก ๆ แต่แฝงไว้ด้วยมนต์เสน่ห์ที่จัดเต็มด้วยธรรมชาติ มีขุนเขาสลับซับซ้อน ที่แต่งแต้มสีเขียวด้วยผืนป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้น่านเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่าไม้มากเป็นอันดับ 7 ของประเทศไทย เมื่อเทียบกับพื้นที่จังหวัด (คิดเป็น 61.22 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่จังหวัดน่านทั้งหมด : ข้อมูล ณ ต้นปี 2564 สำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้) ปัจจุบันเราจะเห็นว่าจังหวัดน่านมีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ป่าไม้สวยงามน่าท่องเที่ยว แต่รู้หรือไม่ว่าก่อนหน้านี้พื้นที่ป่าไม้และ ป่าต้นน้ำในจังหวัดน่าน ถูกทำลายไปกว่า 1,680,000 ไร่ และบางส่วนที่เหลืออยู่ก็เป็นป่าต้นน้ำที่ไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะสามารถป้องกันภัยแล้ง อุทกภัย และดินโคลนถล่มได้ หรือหากนึกภาพไม่ออก ทุกคนคงจะเคยได้ยินคำว่า “เขาหัวโล้น” นั่นแหละ คือสภาพผืนป่าน่านในอดีตกว่า 20 ปี มาแล้ว เรื่องราวของการ “ปลูกป่า” จึงเกิดขึ้นที่นี่ เพื่อหวังแก้ไขฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายให้กลับมาสมบูรณ์ กฟผ. นับเป็นหน่วยงานหนึ่งที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของป่าและน้ำ รวมถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยทรัพยากรป่าไม้ จึงได้เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ นั่นคือความตั้งใจ ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โดยรอบหน่วยงาน กฟผ. ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ […]

EGAT

2 February 2022
Skip to content