โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ประกาศการจัดประชุม รับฟังความคิดเห็นของประชาชน การศึกษารายงาน CoP และ ESA

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ประกาศการจัดประชุม รับฟังความคิดเห็นของประชาชน การศึกษารายงาน CoP และ ESA กำหนดการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น เอกสารข้อมูลรายละเอียดโครงการ สื่อประชาสัมพันธ์โครงการ แผ่นพับ Infographic (Roll-Up) สรุปผลรับฟังความคิดเห็นประชาชน ติดต่อ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (เขื่อนอุบลรัตน์) : แผนกประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ : 043 446152 โทรสาร 043 446152 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สำนักงานกลาง) :ฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ : 02 436 0812 , nichaya.l@egat.co.th บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด :คุณจีรภัทธ์ ประเสริฐสุวรรณ์ : 091 453 9154 , cheerapat.cot@gmail.com

EGAT

16 November 2022

Unseen EGAT By ENGY ตอน ล้วงลึกโรงไฟฟ้าและการบำรุงรักษาแบบเข้าใจง่าย

Unseen EGAT By ENGY ตอน ล้วงลึกโรงไฟฟ้าและการบำรุงรักษาแบบเข้าใจง่าย      หลายคนได้ยินและได้รู้จักกับโรงไฟฟ้า ถ้าหากมองภายนอกก็มีลักษณะคล้ายโรงงานทั่ว ๆ ไป มีน้อยคนนักที่จะได้เข้าไปเห็นด้านในของโรงไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่โรงไฟฟ้าหยุดเดินเครื่องเพื่อบำรุงรักษา เครื่องจักรภายในโรงไฟฟ้าก็จะถูกชำแหละออกมาทีละชิ้น ๆ ถ้าเปรียบเหมือนมนุษย์ก็คงเหมือนการผ่าหัวใจ ปอด ตับ หรือไต ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญออกมารักษาแล้วจึงใส่กลับเข้าไปใหม่ วันนี้เอนจี้มีนัดกับพี่ ๆ ทีมบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ฝ่ายบำรุงรักษาเครื่องกล และฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า ที่โรงไฟฟ้าน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการบำรุงรักษา เอนจี้จึงไม่พลาดที่เข้าไปเก็บภาพบรรยากาศภายในโรงไฟฟ้า พร้อมทั้งเรื่องเล่างานบำรุงรักษาจากทีมงานมาฝากกันด้วยครับ      โรงไฟฟ้าน้ำพองที่ทีมบำรุงรักษาจะพาเอนจี้เข้าไปดูนั้น เป็นโรงไฟฟ้าหลักของภาคอีสาน มีกำลังผลิต 650 เมกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม เล่าให้เข้าใจง่าย ๆ คือ มี 2 วัฏจักรในการผลิตไฟฟ้า ประกอบด้วย การผลิตไฟฟ้าจากกังหันก๊าซ (Gas Turbine) ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง เผาไหม้จนเกิดความร้อนแล้วนำมวลความร้อนเหล่านี้มาขับเคลื่อนกังหันก๊าซและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า หลังจากนั้นจะใช้ Heat Recovery Steam Generator หรือ HRSG นำความร้อนจากวัฏจักรแรกมาทำให้น้ำเดือดและกลายเป็นไอน้ำที่มีแรงดันสูง ซึ่งไอน้ำแรงดันสูงนี้จะขับเคลื่อนกังหันไอน้ำ (Steam Turbine) และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ให้ผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้อีกหนึ่งครั้ง ดังนั้น ส่วนประกอบสำคัญของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมนั้นจะประกอบไปด้วย กังหันก๊าซ (Gas Turbine) , HRSG […]

EGAT

10 October 2022

จะดีแค่ไหน? ถ้าคุณผลิตและขายไฟฟ้าเองได้ “Peer-to-Peer Energy Trading” แพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานไฟฟ้าแห่งอนาคต

จะดีแค่ไหน? ถ้าคุณผลิตและขายไฟฟ้าเองได้ “Peer-to-Peer Energy Trading” แพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานไฟฟ้าแห่งอนาคต           ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมในปัจจุบันที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นทำให้เกิดการบัญญัติคำว่า “Prosumer” ขึ้น ซึ่งมาจากคำว่า Consumer ที่แปลว่าผู้บริโภครวมกับคำว่า Producer ที่แปลว่าผู้ผลิต Prosumer คือการที่ผู้บริโภคผันตัวเองจากการเป็นเพียงคนที่จ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการอยู่ฝ่ายเดียวมาเป็นทั้งผู้ที่ซื้อและผลิตสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เช่นเดียวกันในอุตสาหกรรมพลังงานเองก็มีเทคโนโลยีล้ำ ๆ          ที่ส่งเสริมให้ Prosumer สามารถซื้อขายไฟฟ้าได้เองง่าย ๆ ผ่านแพลตฟอร์มซื้อขายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือ กฟผ. ที่ชื่อว่า “Peer-to-Peer Energy Trading” ทดสอบการซื้อขายจริงผ่าน 3 โครงการนำร่อง           สำหรับแพลตฟอร์ม ของ กฟผ. เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการ Prosumer หรือผู้ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด นำไฟฟ้าส่วนที่เกินจากความต้องการใช้งานมาเสนอซื้อ-ขายระหว่างกันได้โดยตรง (Peer-to-Peer) ซึ่งผ่านการทดลองใช้งานจริงแล้วในโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน ระยะที่ 1 (ERC Sandbox ระยะที่ 1) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยรองรับการตกลงซื้อขายพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบสัญญาทวิภาคี (Bilateral Trading) ระหว่างผู้ผลิตและผู้ซื้อไฟฟ้า ซึ่งแพลตฟอร์ม Peer-to-Peer […]

EGAT

16 September 2022

Unseen EGAT ตอน ตามติดชีวิต ผู้รักษาความมั่นคงปลอดภัยเขื่อน กฟผ.

Unseen EGAT ตอน ตามติดชีวิต ผู้รักษาความมั่นคงปลอดภัยเขื่อน กฟผ. ผู้รักษาความมั่นคงปลอดภัยเขื่อน คือ หนึ่งในเบื้องหลังสนับสนุนภารกิจสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทย ที่ทำหน้าที่เฝ้าระวัง ตรวจวัด ติดตามและบำรุงรักษาเขื่อน เป็นประจำอยู่ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ของเขื่อน กฟผ. ทั่วประเทศ เพราะเขื่อนเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ได้เพียงแต่เก็บกักน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ ด้านชลประทาน การเกษตรกรรม อุปโภค บริโภค รักษาระบบนิเวศเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าจากน้ำ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการระบายน้ำของเขื่อนอีกด้วย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความอุ่นใจในด้านความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัยของเขื่อนให้กับประชาชนโดยรอบ ผ่านกระบวนการตรวจเขื่อน วันนี้เอนจี้จึงได้รับโอกาสเจาะลึกกระบวนการตรวจเขื่อนทุกขั้นตอน ผ่านการทำงานของผู้รักษาความมั่นคงปลอดภัยเขื่อน ตามไปดูกันเลย ทุกเช้าในขณะที่หลายๆคนเริ่มประกอบกิจวัตรประจำวัน ทีมผู้รักษาความมั่นคงปลอดภัยเขื่อน ต้องตื่นเช้าตั้งแต่ไก่โห่มุ่งหน้าขึ้นสันเขื่อน เพื่อตรวจวัดค่าอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยา เริ่มตั้งแต่วัดอุณหภูมิสูงต่ำ วัดค่าการระเหยของน้ำ วัดปริมาณน้ำฝน วัดความชื้นสัมพัทธ์ วัดระดับน้ำ อ่านดูแล้วเหมือนเป็นภารกิจที่ไม่ได้ยุ่งยากอะไร แต่หารู้ไม่ว่าข้อมูลเหล่านี้สำคัญกับชีวิตประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะทีมผู้รักษาความมั่นคงปลอดภัยเขื่อน จะต้องนำข้อมูลไปคำนวณปริมาณน้ำเข้า-ออกในอ่างเก็บน้ำ เพื่อใช้สำหรับบริหารจัดการรองรับสถานการณ์น้ำหลาก-น้ำแล้ง หากพบว่า น้ำเข้าเขื่อนมีปริมาณมาก และมีฝนตกหนัก อาจสร้างผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนและเกิดน้ำท่วมไปถึงบ้านเรือนของประชาชนได้ ซึ่งนี่เป็นเพียงภารกิจแรกที่ผู้รักษาความมั่นคงปลอดภัยเขื่อนต้องทำเป็นประจำทุกวันไม่มีวันหยุด ในทุกๆ สัปดาห์ […]

EGAT

10 August 2022

Unseen EGAT By ENGY ตอน ‘SMART ENERGY’ ขุมพลังเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าเพื่อชาวแม่ฮ่องสอน

⚡ Unseen EGAT By ENGY ตอน ‘SMART ENERGY’ ขุมพลังเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าเพื่อชาวแม่ฮ่องสอน ⚡           ⛰️ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมืองเล็ก ๆ ท่ามกลางหุบเขา เป็นแหล่งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์อันดับต้น ๆ ของประเทศ แต่ด้วยภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูงรายล้อมไปด้วยป่าไม้ ทั้งป่าอนุรักษ์ ป่าสงวน และอุทยานแห่งชาติ พื้นที่ลุ่มน้ำที่อุดมสมบูรณ์นี้เอง ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ไม่สามารถก่อสร้างเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงเพื่อส่งจ่ายไฟฟ้าให้กับจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ มีเพียงระบบส่งไฟฟ้าขนาด 115 กิโลโวลต์ ของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ที่เชื่อมโยงมาจากจังหวัดเชียงใหม่ด้วยระยะทางกว่า 170 กิโลเมตร ทำให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนเกิดปัญหาไฟตกไฟดับบ่อยครั้ง           ? โครงการนำร่องการพัฒนาสมาร์ทกริดที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน กฟผ. หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘โครงการสมาร์ทกริด’ จึงได้เกิดขึ้นตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย โดยมียุทธศาสตร์การดำเนินงาน 4 ด้าน คือ           1. ‘SMART SYSTEM’ พัฒนาระบบควบคุมและจัดการพลังงานไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของจังหวัด           2. ‘SMART CITY’ […]

EGAT

22 July 2022

Unseen EGAT By ENGY ตอน ผลสำเร็จโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริดเขื่อนสิรินธร

Unseen EGAT By ENGY  ตอน ผลสำเร็จโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริดเขื่อนสิรินธร         เมื่อพูดถึงโซลาร์เซลล์ทุกคนคงรู้จักเป็นอย่างดี แต่ “โซลาร์เซลล์ลอยน้ำ” อาจดูเป็นเรื่องใหม่ วันนี้ กฟผ. ได้นำโซลาร์เซลล์มาลอยน้ำผลิตไฟฟ้าร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ หรือที่เรียกกันว่า “โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด (Hydro-Floating Solar Hybrid)” นำร่องแห่งแรกที่เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมในการผลิตไฟฟ้าที่ได้ผสานพลังแดดและพลังน้ำเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น         “โซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริด (Hydro-Floating Solar Hybrid) ที่เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากถึง 45 เมกะวัตต์ ผสานกับพลังน้ำ 36 เมกะวัตต์ ซึ่ง ณ วันนี้ที่นี่ถือเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลก         Unseen EGAT By ENGY วันนี้ จะพามาคุยกับ พี่เจี๊ยบ ฉัตรชัย มาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำและพลังงานหมุนเวียน ถึงผลสำเร็จของโครงการกันในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งด้านการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้า ด้านการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน และแผนพัฒนาโครงการโซลาเซลล์ลอยน้ำไฮบริดในอนาคต จะมีความน่าสนใจขนาดไหนตาม ENGY […]

EGAT

15 July 2022

“เรื่องเล่าอัศจรรย์จากป่าชายเลน ปากแม่น้ำบางปะกง”

“เรื่องเล่าอัศจรรย์จากป่าชายเลน ปากแม่น้ำบางปะกง”       แสงแดดยามเช้าสาดส่องมายังเหล่าต้นโกงกางและพันธุ์ไม้ป่าชายเลน เขียวขจีน่ามองทั่วทั้งเกาะธรรมชาติท่าข้ามที่โอบล้อมด้วยแม่น้ำบางปะกง อุดมสมบูรณ์ราวกับว่าอยู่ในฤดูฝนที่น้ำชุ่มฉ่ำ แม้เพิ่งจะผ่านฤดูร้อนมาไม่ทันไร สัตว์ประจำถิ่นของป่าชายเลนอย่างเจ้าปูแสมตัวจิ๋ว เหล่าปลาตีน และนกหลากหลายสายพันธุ์ ก็ออกมารับแดดพร้อมผลัดกันส่งเสียงทักทายพวกเราที่สัญจรเข้ามาเยือนอย่างสนุกสนาน ความสวยงามและอุดมสมบูรณ์นี้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงนิเวศของชาวตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่สามารถพลิกฟื้นคืนชีวิตป่าชายเลนจากความร่วมมือระหว่างชุมชนตำบลท่าข้าม โรงไฟฟ้าบางปะกง กฟผ. และ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง       “ภาพจำในอดีตยังคอยย้ำเตือนใจอยู่เสมอ ป่าจากแก่ๆ ป่าชายเลนที่เสื่อมโทรม ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ ถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการดูแล หนำซ้ำยังถูกบุกรุกเข้ามาใช้พื้นที่เป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง จนไม่มีใครอยากเข้ามาในพื้นที่ แต่เพราะที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ในตำบลท่าข้าม ถ้าพวกเราชาวท่าข้ามไม่ดูแลแล้วใครจะดูแล” นายกอ้วน นางสมจิตร์ พันธุ์สุวรรณ นกยกเทศมนตรีตำบลท่าข้าม เล่าถึงจุดเริ่มต้นที่เป็นที่มาของการปลุกระดมชุมชนมาช่วยกันพลิกฟื้นผืนป่าชายเลน “การร่วมมือกันจากทุกหน่วยงาน ก่อให้เกิดระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์”       เกาะธรรมชาติท่าข้ามที่กว้างถึง 125 ไร่ ได้รับการอนุญาตจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เหล่าจิตอาสาตำบลท่าข้าม เข้ามาดูแลฟื้นฟูพื้นที่บนเกาะกว่า 60 ไร่  โดยได้รับการสนับสนุนจากโรงไฟฟ้าบางปะกง กฟผ. ทั้งระดมแรงกายแรงใจมาช่วยกันปลูกป่า จัดเตรียมพันธุ์ต้นกล้า สนับสนุนการสร้างสะพานศึกษาเส้นทางธรรมชาติ […]

EGAT

11 July 2022

เพราะเราคือมืออาชีพ ปฏิบัติการปลุก “โรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี” กู้วิกฤตพลังงานไทย

เพราะเราคือมืออาชีพ … ปฏิบัติการปลุก “โรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี” กู้วิกฤตพลังงานไทย     จากปัญหาราคาก๊าซธรรมชาติพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนลุกลามกลายเป็นวิกฤตพลังงานที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก สำหรับประเทศไทยเราพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนถึงร้อยละ 56 ย่อมส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะที่ดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศให้มีเพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม จึงได้ปรับแผนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าเพื่อลดการใช้ก๊าซธรรมชาติที่ราคาสูงลิ่วถึง 15.66 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีราคาเพียง 4.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู โดยเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเตาที่มีราคาถูกกว่าเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าแทน      ฟังเผินๆ อาจมองเป็นเรื่องง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ง่ายเลย เพราะโรงไฟฟ้าบางแห่งเป็นโรงไฟฟ้าที่อยู่ในสถานะของโรง Reserved Shutdown (การหยุดเดินเครื่องตามแผนการสั่งเดินเครื่อง) มานาน จนบางคนมองว่าเป็น โรงไฟฟ้าที่ไม่มีความสำคัญ ปฏิบัติการปลุก “โรงไฟฟ้า” ให้ขึ้นมารับใช้ชาติจึงเริ่มต้นขึ้น     กัมปนาท คล้ายแก้ว ผู้อำนวยการโครงการเดินเครื่องและบำรุงรักษาประจำโรงไฟฟ้า บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีจำกัด ทีมจาก กฟผ. ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการเดินเครื่องและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance : O&m) โรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี หนึ่งในโรงไฟฟ้าที่ถูกกำหนดให้เดินเครื่องช่วยกู้วิกฤตพลังงาน เล่าให้ฟังว่า […]

EGAT

23 February 2022

ตามรอยปลูกป่าเมืองน่าน ปลูกคนหัวใจสีเขียว

ตามรอยปลูกป่าเมืองน่าน ปลูกคนหัวใจสีเขียว จังหวัดน่าน หรือเมืองน่าน เป็นเมืองเล็ก ๆ แต่แฝงไว้ด้วยมนต์เสน่ห์ที่จัดเต็มด้วยธรรมชาติ มีขุนเขาสลับซับซ้อน ที่แต่งแต้มสีเขียวด้วยผืนป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้น่านเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่าไม้มากเป็นอันดับ 7 ของประเทศไทย เมื่อเทียบกับพื้นที่จังหวัด (คิดเป็น 61.22 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่จังหวัดน่านทั้งหมด : ข้อมูล ณ ต้นปี 2564 สำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้) ปัจจุบันเราจะเห็นว่าจังหวัดน่านมีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ป่าไม้สวยงามน่าท่องเที่ยว แต่รู้หรือไม่ว่าก่อนหน้านี้พื้นที่ป่าไม้และ ป่าต้นน้ำในจังหวัดน่าน ถูกทำลายไปกว่า 1,680,000 ไร่ และบางส่วนที่เหลืออยู่ก็เป็นป่าต้นน้ำที่ไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะสามารถป้องกันภัยแล้ง อุทกภัย และดินโคลนถล่มได้ หรือหากนึกภาพไม่ออก ทุกคนคงจะเคยได้ยินคำว่า “เขาหัวโล้น” นั่นแหละ คือสภาพผืนป่าน่านในอดีตกว่า 20 ปี มาแล้ว เรื่องราวของการ “ปลูกป่า” จึงเกิดขึ้นที่นี่ เพื่อหวังแก้ไขฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายให้กลับมาสมบูรณ์ กฟผ. นับเป็นหน่วยงานหนึ่งที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของป่าและน้ำ รวมถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยทรัพยากรป่าไม้ จึงได้เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ นั่นคือความตั้งใจ ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โดยรอบหน่วยงาน กฟผ. ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ […]

EGAT

2 February 2022

ขับรถ EV เที่ยวลำตะคอง ไม่ลอง ไม่รู้

ขับรถ EV เที่ยวลำตะคอง ไม่ลอง ไม่รู้             เชื่อว่าหลายคนไม่กล้าใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์ EV แม้ในใจจะอยากใช้เพราะอยากจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากการใช้รถยนต์สันดาป อยากจะประหยัดค่าน้ำมันรถที่นับวันมีแต่จะแพงขึ้น แต่อีกใจหนึ่งก็ยังไม่กล้าใช้เพราะกังวลเรื่องสถานีชาร์จว่าจะมีเพียงพอกับจำนวนผู้ใช้งานหรือไม่  มีครอบคลุมทุกเส้นทางการเดินทางหรือเปล่า เพราะคงจะไม่ใช่เรื่องสนุกแน่ หากขับรถไปถึงกลางทางแล้วแบตเตอรี่หมดแต่ไม่มีที่ชาร์จรองรับ             แต่บอกเลยว่า ปัจจุบันรถยนต์ EV ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี แม้ตัวเลขจะยังอยู่ในหลักพันคันแต่ก็ถือว่าเติบโตขึ้นมากเลยทีเดียว เมื่อมีผู้ใช้รถยนต์ EV มากขึ้น หน่วยงานต่าง ๆ ก็หันมาลงทุนกับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้งานที่มีมากขึ้นเช่นเดียวกัน โดย กฟผ. ถือเป็น 1 ในหน่วยงานที่สนับสนุนให้คนไทยหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า เพราะผลักดันธุรกิจ EGAT EV Business Solutions อย่างเต็มที่ อย่างในปี 2564 ได้เปิดสถานีชาร์จรถยนต์ EV แห่งใหม่ถึง 29 สถานี และยังมีแผนขยายสถานีชาร์จในปี 2565 อีกหลายแห่งด้วยกัน             ช่วงนี้ฤกษ์งามยามอากาศดี จึงได้ทดลองขับรถ EV ไปเที่ยวระยะทางสั้นๆ เพื่อจะทดลองใช้ไลฟ์สไตล์ของการเป็นผู้ใช้รถ EV […]

EGAT

23 December 2021
1 2 3 4 5
Skip to content